<< Go Back

เมื่อเราอยู่กลางแจ้งและมองไปรอบๆ ตัว เราจะเห็นพื้นโลกทอดไกลออกไปจรดขอบฟ้าเป็นรูปครึ่ง วงกลม เราเรียกเส้นตัดระหว่างพื้นโลกกับขอบฟ้าว่า เส้นขอบฟ้า (Horizon) เส้นขอบฟ้าเป็นเส้นวงกลม ล้อมรอบตัวในแนวราบ เมื่อสังเกตการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ในเวลาเช้า จะเห็นดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นมา จากขอบฟ้าด้านหนึ่ง เรียกว่า ทิศตะวันออก และดวงอาทิตย์ จะเคลื่อนที่ขึ้นสูงที่สุดในเวลาประมาณเที่ยง วัน จากนั้นดวงอาทิตย์จะเคลื่อนต่ำลงกระทั่งตกลับขอบฟ้าอีกด้านหนึ่งเรียกว่า ทิศตะวันตก การขึ้น – ตก ของดวงอาทิตย์ เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลกตามแกนเหนือ - ใต้ ดังนั้นการกำหนดทิศทางบน โลก จึงแบ่งออกเป็น 4 ทิศหลัก คือ ทิศตะวันออก (East) ทิศตะวันตก (West) ทิศเหนือ (North) และทิศ ใต้ (South) โดยทิศทั้งสี่มีความสัมพันธ์กันดังนี้

ภาพที่ 1 เมื่อหันหน้าไปทางเหนือ
- ด้านหลังของเราจะเป็นทิศใต้
- แขนซ้ายจะชี้ไปทางทิศตะวันตก
- แขนขวาจะชี้ไปทางทิศตะวันออก
ภาพที่ 2 เมื่อหันหน้าไปทางทิศตะวันตก
- ด้านหลังของเราจะเป็นทิศตะวันออก
- แขนซ้ายจะชี้ไปทางทิศใต้
- แขนขวาจะชี้ไปทางทิศเหนือ
ภาพที่ 3 จุดเหนือศีรษะ
- จุดสูงที่สุดบนฟ้าจะอยู่เหนือศีรษะพอดี เรียกว่า จุดเหนือศีรษะ (Zenith)
- จุดเหนือศีรษะทำมุมกับผู้สังเกตการณ์ และขอบฟ้า ทุกๆ ด้าน เป็นมุมฉาก (90°) พอดี


ภาพที่ 4 มุมอาซิมุท และมุมเงย

ในการบอกตำแหน่งเทห์วัตถุท้องฟ้าอย่างง่าย ซึ่งเรียกว่า ระบบ “อัลตาซิมุท” (Alt-azimuth) นั้น เราบอกด้วยค่ามุมสองชนิด คือ มุมอาซิมุท และมุมเงย
- มุมอาซิมุท (Azimuth) เป็นมุมในแนวราบ นับจากทิศเหนือ ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ไปยังทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และกลับมาทิศเหนืออีกครั้งหนึ่ง มีค่าระหว่าง 0 - 360 องศา
- มุมเงย (Altitude) เป็นมุมในแนวตั้ง นับจากเส้นขอบฟ้าขึ้นไปสู่จุดเหนือศีรษะ มีค่าระหว่าง 0 - 90 องศา

จากตัวอย่างในภาพที่ 4 แสดงให้เห็นว่า ตำแหน่งของดาว มีค่ามุมอาซิมุธ 250° และมีค่ามุมเงย 50°


http://portal.edu.chula.ac.th/lesa_cd/assets/document/lesa212/1/celestial_sphere/news/news.html

<< Go Back