<< Go Back

กาแล็กซี่…
ผงคลีแห่งเอกภพ ในเอกภพที่กว้างใหญ่ประกอบไปด้วย สิ่งต่างๆ ทั้ง ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ อุกาบาต ฯลฯ รวมถึงเทหวัตถุอีกมากมายที่ล่องลอยอยู่ความมืดดำซึ่งมนุษย์ยังไม่สามารถรู้ ได้ภายใต้อาณาเขตกว้างใหญ่อันไม่สามารถกำหนดขอบเขตสิ้นสุดได้ กาแล็กซี่(Galaxies)หรือที่ภายหลังถูกเรียกขานว่าดาราจักรเป็นอีกส่วนประกอบ หนึ่ง ที่สำคัญของเอกภพ มันเป็นกลุ่มดาวฤกษ์ที่ยึดโยงเข้าด้วยกันโดยแรงโน้มถ่วงจนกลายเป็นกลุ่มหมู่ ดาวที่ลอยเคว้งคว้างอยู่ท่ามกลางความกว้างใหญ่ของเอกภพ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากาแล็คซี่เกิดขึ้นจากการระเบิดครั้งใหญ่ หรือที่เราคุ้นหูกันดีว่า ทฤษฎีบิกแบง (Big Bang Theory)

ทฤษฎีบิกแบง(Big Bang Theory) 
เจ้าของทฤษฎีบิกแบงคือ จอร์จ เลอแมตร์ บาทหลวงในคริตสศาสนานิกายโรมันคาทอลิก และอีกหนึ่งบทบาทในฐานะนักวิทยาศาสตร์ เขาได้เสนอทฤษฎีดังกล่าวขึ้นในปีค.ศ. 1927 ในครั้งแรกเขาเรียกทฤษฎีนี้ว่า hypothesis of the primeval atom จอร์จ เลอแมตร์ ใช้การคำนวณแบบจำลองโดยอาศัยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ทฤษฎี นี้เชื่อว่าก่อนจะเกิดบิกแบงเอกภพเป็นเพียงจุดเล็กๆที่ระเบิดขึ้นด้วยพลัง มหาศาลและใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาทีการระเบิดครั้งใหญ่หรือบิกแบงทำให้เกิด เป็นเอกภพอันกว้างใหญ่ และมีวิวัฒนาการเรื่อยมาจนเกิดเป็นหมู่ดาว กาแล็กซี่ และทุกสิ่งทุกอย่างในเอกภพ จากสมมติฐานที่ว่าหากเอกภพมีอายุ20,000ล้านปี ก็จะมีลำดับเหตุการณ์สำคัญดังนี้ 

คำอธิบาย: http://kanokwan09.files.wordpress.com/2011/07/m11.jpg?w=500
ที่มา : http://www.vcharkarn.com/varticle/39057 
ข้อมูลจากเอกสารประกอบการสอนชุด กาแล็กซี่และเอกภพ 
โดย กันต์ธนากร น้อยเสน

หลังจากการเกิดบิกแบง มวลสารของพลังงานที่เกิดขึ้นมีความร้อนอย่างมากและแผ่ขยายออกไปเรื่อยๆ พร้อมกับอุณหภูมิที่เย็นลง จนเกิดก๊าซเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ ฮีเลียม และไฮโดรเจน ก๊าซเหล่านี้ยังคงเคลื่อนที่ออกจากจุดศูนย์กลางของการระเบิด เกิดการชนกันและรวมตัวกันจนต่อมาถูกพัฒนาขึ้นจนการเป็นกาแล็กซี่ และเกิดเป็นหมู่ดาวฤกษ์ กาแล็กซี่ที่มีอยู่มากมายในเอกภพ หลังการระเบิดครั้งใหญ่ เคหะวัตุอันประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆไม่ได้กระจัดกระจายกันไปซะทีเดียวแต่ได้ กระจายกันออกไปเป็นกลุ่มๆ นักวิทยาศาสตร์เปรียบเทียบให้กาแล็กซี่หนึ่งๆเป็นแค่ผงฝุ่นเล็กๆเท่านั้น เมื่อเทียบกับความกว้างใหญ่อันไม่สามารถหยั่งถึงได้ของ เอกภพ
อริสโตเติลเป็นคนแรกที่สังเกตเห็นกาแล็กซี่ หรือดาราจักรทางช้างเผือกมันเป็น แถบสีขาวที่พาดยาวอยู่ในห้วงอวกาศ ในตอนแรกเขาเข้าใจว่ามันเป็นแค่ปรากฏการณ์ แห่งความแปรปรวนของชั้นบรรยากาศ  ครั้นแล้วเมื่อเขาได้ทำการศึกษาอย่างจริงจัง ต่อไปทำให้เขาได้ทราบว่าแท้จริง แล้ว มันคือกาแล็กซี่อันประกอบด้วยกลุ่มดาวฤกษ์ต่างๆมากมาย
กาแล็กซี่ทางช้างเผือกเป็นกาแลกซี่ที่ดูเหมือนว่าเราจะคุ้นชินกับมันมากกว่า กาแล็กซี่อื่น เพราะมันเป็นกาแล็กซี่ที่เราอาศัยอยู่นั้นเองในช่วงแรกของการสังเกตเห็นอริ สโตเติลเข้าใจว่าทางช้างเผือกคือจักรวาลที่เป็นทั้งหมดของเอกภพ เพราะความที่เครื่องไม้เครื่องมือยังไม่มีความทันสมัยเพียงพอนั้นเองทำให้ เขาไม่สามารถสังเกตเห็นอะไรที่ไกลออกไปได้มากนัก ครั้นต่อมาในศตวรรษที่ 20 ความก้าวล้ำของวิทยาศาสตร์ทำให้สามารถสร้างเครื่องไม้เครื่องมือที่ล้ำหน้า ขึ้นอีกมากทำให้สามารถ สังเกตเห็นกลุ่มดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างไกลออกไปพร้อมกับสามารถค้นพบ กาแล็กซี่ที่แปลกๆใหม่อีกหลายกาแล็กซี่ดังนั้นแนวคิดเดิมๆ จึงถูกปรับให้ตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น กาแล็กซี่ทางช้างเผือกไม่ใช่ทั้งหมดของเอกภพอีกต่อไปแต่นักวิทยาศาสตร์ เปรียบไว้ว่าขนาดของมันเป็นเพียงผงฝุ่นอวกาศเมื่อเทียบกับความกว้างใหญ่ของ เอกภพที่เรายังไม่รู้ว่ามันจะไปสิ้นสุดลงที่ใด
เพื่อง่ายและสะดวกต่อการศึกษาอวกาศนักวิทยาศาสตร์ได้จำแนกประเภทของ กาแล็กซี่ออกเป็นชนิดๆ ตามรูปร่างที่สังเกตเห็น ซึ่งโดยหลักแล้วสามารถจำแนกกาแล็กซี่ออกตามรูปร่างได้เป็น 6 แบบ

1. กาแล็กซีรูปเกลียวหรือกาแล็กซีแบบกังหัน ( Spiral Galaxies )

คำอธิบาย: http://kanokwan09.files.wordpress.com/2011/07/m2.jpg?w=500
Spiral Galaxies 
ภาพจาก www.astronet.ru/

 กาแล็กซี่ชนิดนี้จะมีรูปร่างลักษณะกลมแบนมีส่วนที่คล้ายแขนยืดออกมา ซึ่งดูแล้วจะมีลักษณะคล้ายกังหันที่กำลังหมุน ภายในเต็มไปด้วยมวลสสารของดวงดาว และประกอบไปด้วยกระจุกดาวจำนวนมาก ซึ่งเพียงพอต่อการก่อตัวเป็นดาวดวงใหม่ โดยดวงดาวที่มีอายุน้อยมักจะพบมากบริเวณ แขนของกาแล็กซี่แบบกังหัน ส่วนกลุ่มดาวเก่าแก่มักมีกระจุกดาวแบบทรงกลมอยู่ในบริเวณกระเปาะ ของกาแล็กซี่ การแล็กซี่ทาง ช้างเผือกอันเป็นที่ตั้งของโลกก็ถูกจัดให้เป็นกาแล็กซี่แบบ นี้ 

2. กาแล็กซีรูปกลมรี ( Elliptical Galaxies )

คำอธิบาย: http://kanokwan09.files.wordpress.com/2011/07/m3.jpg?w=500
Elliptical Galaxies 
ภาพจากwww.lsw.uni-heidelberg.de

กาแล็กซี่ในแบบนี้มักจะมีทั้งรูปร่างกลมและรี กาแล็กซี่แบบนี้มักจะประอบไปด้วยดาวที่มีอายุมาก บางดวงใกล้จะใกล้จะดับ ศูนย์กลางของกาแล็กซี่จะเคลื่อนที่ช้าๆ แทบจะสังเกตไม่ออกว่ามันกำลังเคลื่อนที่อยู่ โดยรูปร่างของมันมีตั้งแต่กลมไปจนถึงรี มวลรัศมีคล้ายกระเปาะของกาแล็กซี่แบบกังหัน โดยรูปร่างจะมีความสัมพันธ์กับการหมุนของมันหากหมุนช้าก็จะมีรูปร่างค่อน ข้างกลม แต่หากหมุนเร็วก็จะมีรูปร่างค่อนข้างรี 

3. กาแล็กซีคานรูปเกลียว( Barred Spiral Galaxies )

คำอธิบาย: http://kanokwan09.files.wordpress.com/2011/07/m4.jpg?w=500
Barred Spiral Galaxies  
ภาพจาก wikimedia.org

มีลักษณะคล้ายกาแล็กซี่แบบกังหันแต่ตรงกลางเป้นกระเปาะกลมมีแขนที่ยื่นออกมา ในแนวขวางพาดผ่านกาแล็กซี่ซึ่งดูคล้ายกับคาน โดยแถบแนวขวางดังกล่าวเกิดจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มก๊าซดวงดาวภายใน Barred Spiral Galaxies เอง 
4.กาแล็กซีคล้ายเลนซ์ ( Lenticular Galaxies )

คำอธิบาย: http://kanokwan09.files.wordpress.com/2011/07/m5.jpg?w=500
Lenticular Galaxies 
ภาพจาก www.star.le.ac.uk

มีลักษณะคล้ายกาแล็กซี่แบบกังหันแต่ไม่มีลักษณะของการเคลื่อนที่แบบดวงแบบ กาแล็กซี่กังหัน มักถูกเรียกอีกชื่อว่ากาแล็กซี่รูปเกลียว ดาวส่วนใหญ่ในกาแล็กซี่นี้เป็นดาวเก่าแก่ที่ไม่มีการพัฒนาแล้ว จะมีดาวเกิดใหม่ในกาแล็กซี่นี้เป็นจำนวนน้อย ส่วนใหญ่จะมีลักษณะกลมแบนดูคล้ายเลนส์ 

5. การแล็กซี่วิทยุ(Radio galaxies)

คำอธิบาย: http://kanokwan09.files.wordpress.com/2011/07/m6.jpg?w=500
Radio galaxies 
ภาพจาก www.cita.utoronto.ca

มีรูปร่างเป็นลอนขนาดใหญ่มีการเปล่งคลื่นวิทยุออกมาสู่ด้านนอกกาแล็กซี่ทำ ให้มองเห็นคล้ายกับว่ากาแล็กซี่ดังกล่าวได้แยกออกจากกัน คลื่นที่ถูกเปล่งออกมาเป็นคลื่นวิทยุที่มีความรุนแรงมาก กาแล็กซี่ชนิดนี้เป็นกาแล็กซี่แบบแอคทีฟซึ่งมีการแผ่รังสีออกมา 

6. กาแล็กซีไร้รูปร่าง ( Irregular Galaxies )  เป็นกาแล็กซี่ที่มีรูปร่างแตกต่างกับกาแล็กซี่ในชนิดอื่นๆ ไม่มีรูปร่างที่แน่ชัด 

คำอธิบาย: http://kanokwan09.files.wordpress.com/2011/07/m7.jpg?w=500

Irregular Galaxies 
ภาพจาก http://abyss.uoregon.edu

กลุ่มดาวต่างๆที่กระจัดกระจายอยู่นั้นส่วนใหญ่จะไม่ได้อยู่อย่างโดเดียวแต่ จะอยู่รวมกันในกาแล็กซี่  และกาแล็กซี่เองก็จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆเช่นเดียวกัน ซึ่งต่างมีแรงที่ส่งถึงกันทำ ให้ดาวและกาแล็กซี่ต่างๆถูกดึงให้อยู่ใกล้ชิด กัน  กาแล็กซี่ทางช้างเผือก และกาแล็กซี่ใกล้เคียงถูกดึงให้อยู่รวมกัน ในส่วนหนึ่ง ของกลุ่มกาแล็กซี่ที่เรียกว่า Local Group โดย Local Group เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1Mpc( Megaparsec) หรือประมาณ 3,260,000 ปีแสง ในขณะที่บริเวณรอบนอกของ Local Group แทบจะไม่มีกาแล็กซี่อยู่ ในบริเวณใกล้เคียงเลย กาแล็กซีกลุ่มอื่นที่ใกล้ที่สุดกับ Local Group คือ Virgo Cluster อยู่ห่างออกไปประมาณ 18Mpc ใน Local Group ถือเป็นกลุ่มกาแล็กซี่ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก มีกาแล็กซี่อยู่รวมกันราว 40 กาแล็กซี่เท่านั้น โดยมีกาแล็กซี่ที่สำคัญนอกจากกาแล็กซี่ทางช้างเผือกแล้ว ยังมีกาแล็กซี่ที่สำคัญๆอย่าง กาแล็กซีแอนโดรมีดา(M31) ซึ่งเป็นกาแล็กซี่ที่อยู่ใกล้กับกาแล็กซี่ทางช้างเผือกมาก กาแล็กซีไทรแองกูลัม (Triangulum Galaxy) หรือ M 33 ทั้งสามกาแล็กซี่เป็นกาแล็กซี่แบบ Spiral Galaxies และมีขนาดใหญ่โตกว่ากาแล็กซี่อื่นๆใน Local Group ส่วนกาแล็กซี่อื่นๆเป็นกาแล็กซี่ที่ไม่มีขนาดใหญ่มากนัก กาแล็กซี่เป็นกลุ่มดาวฤกษ์ที่จับกลุ่มรวมกัน เป็นส่วนเล็กๆของเอกภพ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เปรียบเทียบให้มันเป็นเพียงแค่ฝุ่นเล็กๆ แต่เมื่อเทียบกับมนุษย์แล้วกาแล็กซี่ก็ยังใหญ่โตกว่าเราหลายเท่านั้น การเรียนรู้แล้วศึกษาเกี่ยวกับเอกภพยังมีคำถามมากมายที่รอให้วิทยาศาสตร์ไข ความลับของมันออกมา การเรียนรู้เกี่ยวกับเอกภพให้เข้าใจได้อย่างถ่องแท้นั้นอาจจะต้องกินเวลาอีก ยาวนานและอาจจะนานจนถึงคราวแห่งการดับสูญของเอกภพแล้วเราก็อาจจะยังไม่ สามารถเข้าใจมันได้ทั้งหมดแม้แต่เพียงเศษธุลีฝุ่นอวกาศอย่างกาแล็กซี่แม้ เพียงกาแล็กซี่เดียว

 

ที่มาของเว็บไซต์ : http://www.vcharkarn.com/varticle/39057

<< Go Back