<< Go Back

กล้องโทรทัศน์วิทยุ  ถูกสร้างขึ้นมาใน พ.ศ.2473 โดยวิศวกรชื่อ คาร์ล แจนสกี(Karl Jansky) เพื่อใช้ค้นหาสิ่งที่แทรกเข้ามารบกวนการส่งกระจายเสียงวิทยุในสมัยแรกๆ ต่อมาพบว่า มีสัญญาณที่อธิบายไม่ได้ซึ่งได้รับจากท้องฟ้า สัญญาณเหล่านี้คล้ายกับสัญญาณที่ใช้ในการส่งกระจายเสียงวิทยุ การศึกษาสัญญาณเหล่านี้จึงเรียกว่า "ดาราศาสตร์วิทยุ"
 คลื่นวิทยุและคลื่นแสงเป็นคลื่นมาเหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่และความยาวคลื่นแตกต่างกัน แต่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากัน คลื่นทั้งสองนี้ทำให้เกิดการแผ่รังสีของแม่เหล็กไฟฟ้าในกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ตัวสะท้อนแสงถูกนำมาใช้รวบรวมสัญญาณวิทยุที่มีกำลังอ่อนจากอวกาศและปรับให้เข้าเสาอากาศ ซึ่งเปลี่ยนแปลงและขยายคลื่นวิทยุให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า จานกล้องโทรทรรศน์วิทยุแบบจานเดียวทำงานได้จำกัด แต่เทคนิคสมัยใหม่ใช้เสาอากาศหลายอันเชื่อมต่อกันให้ทำงานร่วมกัน


ที่มา : http://www.thaispaceweather.com/news/October06/061004A_03.jpg
องค์ประกอบกล้องโทรทรรศน์วิทยุ กล้องโทรทรรศน์วิทยุมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
                   1.หน่วยรับคลื่นหรือสายอากาศ (antenna)
                   2.เครื่องรับ (receiver)
                   3.หน่วยบันทึกข้อมูล
หน่วยรับคลื่นทำหน้าที่รวมพลังงานคลื่นวิทยุแล้วส่งมาตามสายหรือท่อนำคลื่นมาเข้าเครื่องรับ ซึ่งจะขยายความเข้มขึ้นเป็นอย่างมาก และแปรเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรงส่งไปยังหน่วยบันทึกข้อมูล ซึ่งเป็นเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าตรงส่งไปยังหน่วยบันทึกข้อมูล ซึ่งเป็นเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าที่มีปากกาขีดเป็นเส้นกราฟซึ่งเรียกว่า "เครื่องบันทึกแผ่นข้อมูล"
กล้องทรรศน์วิทยุสามารถทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เมฆหมอกไม่มีผลรบกวนการรับคลื่นวิทยุซึ่งยาวกว่าคลื่นแสงมาก และสามารถทะลุผ่านเมฆหมอกในบรรยากาศของโลกและผ่านฝุ่นผงในที่ว่างระหว่างดวงดาวได้ด้วย ดังนั้นจึงสามารถสำรวจวัตถุต่างๆ ในทิศทางที่กล้องโทรทรรศน์ใช้แสงส่องตรวจไม่ได้ เพราะถูกบังด้วยฝุ่นและแก๊สทึบแสง




    https://sites.google.com/site/specctec/thekhnoloyi-klxngthorthrrsn/klxngthorthrrsn-withyu

<< Go Back