<< Go Back

 

สัตว์เคี้ยวเอื้อง (อังกฤษ: ruminant) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับ Artiodactyla ซึ่งย่อยอาหารที่ประกอบด้วยพืชเป็นหลัก โดยเริ่มจากการย่อยให้นุ่มก่อนในกระเพาะอาหารส่วนแรกของสัตว์นั้น ซึ่งเป็นการกระทำของแบคทีเรียเป็นหลัก แล้วจึงสำรอกเอาอาหารที่ย่อยแล้วครึ่งหนึ่งออกมา เรียกว่า เอื้อง (cud) ค่อยเคี้ยวอีกครั้ง ขบวนการเคี้ยวเอื้องอีกครั้งเพื่อย่อยสลายสารที่มีอยู่ในพืชและกระตุ้นการย่อยอาหารนี้ เรียกว่า “การเคี้ยวเอื้อง” (ruminating)
มีสัตว์เคี้ยวเอื้องอยู่ราว 150 สปีชีส์ ซึ่งมีทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เคี้ยวเอื้องมีทั้งปศุสัตว์ แพะ แกะ ยีราฟ ไบซัน กวางมูส กวางเอลก์ ยัค กระบือ กวาง อูฐ อัลปากา ยามา แอนทิโลป พรองฮอร์น และนิลกาย ในทางอนุกรมวิธาน อันดับย่อย Ruminanti มีสัตว์ทุกสปีชีส์ที่กล่าวมาข้างต้น ยกเว้นอูฐ ลามาและอัลปากา ซึ่งอยู่ในอันดับย่อย Tylopoda ดังนั้น คำว่า "สัตว์เคี้ยวเอื้อง" จึงมิได้มีความหมายเหมือนกับ Ruminantia คำว่า "ruminant" มาจากภาษาละตินว่า ruminare หมายถึง "ไตร่ตรองถี่ถ้วนอีกครั้ง" (to chew over again)

        สัตว์เคี้ยวเอื้องพวกนี้ จะมีระบบย่อยอาหารแตกต่างไปจากคนเราและสัตว์อื่นๆ คือ สัตว์เคี้ยวเอื้องจะมีกระเพาะอาหาร 4 กระเพาะ ได้แก่

ที่มาภาพ : http://www.thaigoodview.com/library/contest1/science04/68/2/htmls/cow.html

กระเพาะที่ 1. เรียกว่า รูเมน ( Rumen ) หรือที่เราเรียกว่า กระเพาะผ้าขี้ริ้ว เป็นกระเพาะหมัก คนที่ชอบรับประทานต้มเครื่องในคงจะเคยเห็น เป็นกระเพาะส่วนแรกมีขนาดใหญ่มาก มีความจุประมาณ ร้อยละ 80 ของความจุกระเพาะทั้งหมด เป็นกระเพาะที่ทำหน้าที่ในการหมักอาหารหรือหญ้าที่กิน ซึ่งมีพวกเส้นใย (Fiber) สูง เช่นเส้นใยจากหญ้า ฟางข้าว เป็นต้น กระเพาะรูเมนจะอยู่ทางด้านซ้ายของช่องท้อง อาหารหรือหญ้าที่กินเข้าไปจะอยู่ในกระเพาะนี้ก่อน ภายในกระเพาะนี้ไม่มีเอนไซม์มาช่วยย่อย แต่มีจุลินทรีย์ต่างๆหลายชนิด มาช่วยย่อยในเบื้องต้นที่เรียกว่ากระบวนการหมัก โดยย่อยสลายเส้นใยในผนังของเซลล์พืช และยังช่วย ย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และจุลินทรีย์ก็จะสะสมหรือใช้อาหารที่ย่อยแล้วเก็บไว้ภายในเซลล์ของจุลินทรีย์ เพื่อสร้างส่วนประกอบต่างๆของเซลล์จุลินทรีย์ ต่อมาหญ้าที่กินรวมทั้งจุลินทรีย์ก็จะเคลื่อนมาที่กระเพาะที่ 2

กระเพาะที่ 2. เรียกว่า เรติคิวลัม ( Reticulum ) หรือที่เราเรียกว่า กระเพาะรังผึ้ง มีความจุประมาณ ร้อยละ 5 ของความจุกระเพาะทั้งหมด อยู่ติดกับส่วนหน้าของกระเพาะรูเมน จะทำหน้าที่ขยอกเอาหญ้าที่จุลินทรีย์ช่วยย่อยมาแล้วในเบื้องต้นจากกระเพาะรูเมนออกมาสู่ปาก เพื่อเคี้ยวอีกทีหนึ่งที่เรียกกันว่า เคี้ยวเอื้อง และหญ้าที่เคี้ยวเอื้องถูกบดให้ละเอียดมากขึ้นก็จะเคลื่อนไปสู่กระเพาะที่ 3 ต่อไป

กระเพาะที่ 3. เรียกว่า โอมาซัม ( Omasum ) หรือที่เราเรียกว่า กระเพาะสามสิบกลีบ กระเพาะโอมาซัมมีความจุประมาณ ร้อยละ 7-8 ของความจุกระเพาะทั้งหมด กระเพาะนี้มีลักษณะกลมๆ ซึ่งภายในมีลักษณะเป็นแผ่นหลืบๆหรือเป็นกลีบๆซ้อนกัน ทำหน้าที่กระจายอาหารให้เข้ากัน และต่อมาอาหารก็จะเคลื่อนไปสู่กระเพาะที่ 4 ต่อไป

กระเพาะที่ 4. เรียกว่า อะโบมาซัม ( Abomasum ) เป็นกระเพาะแท้ เหมือนกับของคนเราหรือสัตว์อื่นที่ไม่เคี้ยวเอื้อง อาหารหรือหญ้าที่ถูกย่อมมาก่อนแล้วตอนต้นพร้อมจุลินทรีย์ ก็จะถูกเอนไซม์ต่างๆหลายชนิดย่อยต่อไป ต่อจากกระเพาะแท้ก็เป็น ลำไส้เล็ก

รูเมน ( Rumen ) เรติคิวลัม ( Reticulum ) โอมาซัม ( Omasum ) อะโบมาซัม ( Abomasum )

ที่มารูปภาพ : https://www.slideshare.net/meemahidol/ss-34130836

ลำไส้เล็ก (Small Intestene) อาหารที่ย่อยมาส่วนหนึ่งแล้วจากกระเพาะที่ 4 ก็จะถูกลำเลียงเข้าสู้ลำไส้เล็ก ซึ่งที่ลำไส้เล็กนี้ก็จะมีการย่อยด้วยเอนไซม์อีก อาหารที่ย่อยแล้วครั้งสุดท้ายก็จะแพร่เข้าสู้กระแสเลือดในบริเวณลำไส้เล็กนี่เอง และถูกลำเลียงไปยังเซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย เหมือนกับของคนเราและสัตว์อื่นๆนั่นเอง

ลำไส้ใหญ่ (Large Intestene) อาหารที่ย่อยมาแล้วจากลำไส้เล็ก จะเคลื่อนมาสู่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งการย่อยที่ลำไส้ใหญ่จะน้อยมาก ดูดซึมน้ำส่วนกากอาหารก็จะขับถ่ายออกจากลำไส้ใหญ่ต่อไป

 

 

http://edtech.ipst.ac.th/index.php/2011-07-29-04-02-00/18-2011-08-09-06-29-06/411-2012-07-09-06-16-21.html

<< Go Back