มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือหมดปัญหาต่างๆ โดยสิ้นเชิง มีองค์ประกอบ 8 ประการ ได้แก่
1) เห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) คือเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามที่เป็นจริง
2) ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) คือ ไม่ลุ่มหลงมัวเมากับความสุขทางกาย ไม่พยาบาทและไม่คิดทำร้ายผู้อื่น
3) เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) คือ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อ
4) กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) คือ ไม่ทำลายชีวิต ไม่ลักขโมย ไม่ประพฤติผิดทางกาม
5) เลี้ยงชีวิตชอบ (สัมมาอาชีวะ) คือ การทำมาหากินด้วยอาชีพที่สุจริต ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง ไม่ทำกิจการในสิ่งที่เป็นผลร้ายต่อคนทั่วไป
6) พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) คือความพยายามที่จะป้องกันมิให้ความชั่วเกิดขึ้น ความพยายามที่จะกำจัดความชั่วที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป ความพยายามที่จะสร้างความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นและความพยายามที่จะรักษาความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ตลอดไป
7) ระลึกชอบ (สัมมาสติ) ความหลงไม่ลืม รู้ตัวอยู่เสมอว่ากำลังเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามที่เป็นจริง
8) ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) คือ การที่สามารถตั้งจิตให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน
หมวดธรรมที่ว่าด้วยมรรค ได้แก่ อธิปไตย 3, วิปัสสนาญาณ 9 และมงคล 38 (ความเพียรเผากิเลส, ประพฤติพรมหจรรย์, เห็นอริยสัจ และบรรลุนิพพาน
1. อาธิปไตย 3 (ความเป็นใหญ่) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1.อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ หมายถึง กระทำการด้วยปรารภตนเป็นประมาณ
2.โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่ หมายถึง การกระทำด้วยปรารภนิยมของโลกเป็นประมาณ
3.ธัมมาธิปไตย ถือธรรมะเป็นใหญ่ หมายถึง การกระทำการด้วยปรารภความถูกต้อง เป็นจริงสมควรตามธรรม เป็นประมาณ
สรุป ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือหมดปัญหาต่างๆ โดยสิ้นเชิง ต้องเป็นตามหลัก ธัมมาธิปไตย
2. วิปัสสนาญาณ 9 : วิปัสสนา แปลว่า การทำให้แจ้ง ญาณ แปลว่า ความรู้ หมายถึง ความรู้ที่ทำให้ดับทุกข์ ดับกิเลสได้สิ้นเชิง มี 9 อย่าง
1) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้ตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนาม
2) ภังคานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้ตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
3) ภยตูปัฏฐานญาณ หมายถึง ความรู้อันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
4) อาทีนวานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้คำนึงเห็นโทษ
5) นิพพิทานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้คำนึงเห็นด้วยความหน่าย
6) มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ความรู้หยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
7) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หมายถึง ความรู้อันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง
8) สังขารุเปกขาญาณ หมายถึง ความรู้อันเป็นโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
9) สัจจานุดลมิกญาณ หมายถึง ความรู้ที่เป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์
3. มงคลที่ 38 ได้แก่
1. มงคลที่ 31 ความเพียรที่เผากิเลส (บำเพ็ญตบะ)
คนเราเมื่อศึกษาจะพบว่า ยังมีนิสัยไม่ดีบ้าง มีความประพฤติที่ไม่ดีบ้าง ซึ่งจะต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นนั้นยังมีอยู่อีกมาก เช่น เคยมักโกรธ เห็นแก่ตัว อิจฉาริษยา ซึมเซา ท้อถอย ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ เป็นต้น อาการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรจัดการแก้ไขให้ดีขึ้น ด้วยอาการที่เรียกว่า การบำเพ็ญตบะ หรือ การทำความเพียรเผากิเลส
การบำเพ็ญตบะ หมายถึง การทำความเพียรเผาผลาญความชั่ว คือกิเลสทุกชนิดให้ร้อนตัวทนอยู่ไม่ได้ เกาะใจไม่ติด ต้องเผ่นหนีไปแล้ว ใจก็จะผ่องใส หมดทุกข์ การที่เราจะขับไล่สิ่งใด เราก็จะต้องทำทุกอย่าง เพื่อฝืนความต้องการของสิ่งนั้น เหมือนการไล่คนออกจากบ้าน เขาอยากได้เงิน เราก็ต้องไม่ให้ อยากกินก็ไม่ให้กิน คือ ต้องฝืนใจของเขา เขาจึงจะไป การไล่กิเลสออกจากใจก็เหมือน ฉะนั้นหลักปฏิบัติของการบำเพ็ญตบะ คือ การฝืนความต้องการของกิเลส
ประเภทของการบำเพ็ญตบะ การฝืนความต้องการของกิเลส เพื่อไล่กิเลสออกจากใจ แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ
1. สัลเลขะ คือ การฝืนกิเลส ด้วยกำจัดกิเลสค่อยเป็นค่อยไป หรือค่อยขัดเกลากันไป เช่นโลภกำจัดโดยให้ทาน ชอบโกรธผู้อื่น แก้โดย แผ่เมตตา ขี้เกียจ แก้โดย ขยันทำ เป็นต้น
2. ตุตังคะ คือ การฝืนกิเลสด้วยการกำจัดกิเลสแบบหักโหมรุนแรงได้ผลทันตาเห็น ใช้ปฏิวัติอุปนิสัยได้รวดเร็วเฉียบพลัน ผู้ปฏิบัติต้องมีความอดทน มีความเพียรสูงจึงจะทำได้
วิธีปฏิบัติเผากิเลสในชีวิตประจำวัน ทำได้ดังนี้
1. ฝึกความอดทน
2. อินทรีสังวร คือ การสำรวมระวังตน(กาย วาจาและใจ)โดยอาศัยสติเป็นตัวกำกับเหตุการณ์ที่จะเกิดแล้วผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ แล้วทำความรู้เท่าทันกับเหตุการณ์นั้น ไม่เกิดเป็นความโลภ ความโกรธและความหลง เป็นต้น
3. มีความเพียรในการปฏิบัติธรรม เนื่องจากคนเราส่วนใหญ่มักพอจะทราบอยู่ว่าอะไรดี อยากจะได้สิ่งที่เห็นว่าดีนั้นเกิดขึ้นกับตัว แต่ก็มักทำความดีนั้นไปได้ไม่ตลอดรอดฝั่ง ทั้งนี้เพราะขาดความเพียร
สรุป ความเพียรที่เผากิเลส (บำเพ็ญตบะ)เมื่อปฏิบัติแล้ว ความเสื่อม ความทุกข์ความเดือดร้อน ก็จะไม่เกิดขึ้น
มงคลที่ 32 ประพฤติพรหมจรรย์ แปลว่า การประพฤติเยี่ยงพรหม หรือความประพฤติอันประเสริฐ
หมายถึง การประพฤติตามคุณธรรมต่างๆ ทั้งหมดในพระพุทธศาสนาให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้กิเลสฟูกลับขึ้นมาอีกจนกระทั่งหมดกิเลส
วิธีประพฤติพรหมจรรย์
1. พรหมจรรย์ขั้นต้น สำหรับผู้ครองเรือน
- ทาน คือ การรู้จักการสละวัตถุภายนอกที่เป็นส่วนเกิน ให้แก่ผู้ที่ด้อยกว่า หรือได้รับความทุกข์เดือด เพื่อให้เขามีโอกาส หรือพ้นจากความทุกข์เดือดตามอัตภาพเขา
- เวยยาวัจจะ คือ การช่วยเหลือกิจที่ชอบ เช่น สาธารณกุศล สาธารณประโยชน์
- รักษาศีล 5 โดยเฉพาะศีลข้อ 3 ไม่ประพฤตินอกใจสามี-ภรรยา
2. พรหมจรรย์ขั้นกลาง สำหรับผู้ครองเรือน
- อปปมัญญา คือ การแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย แม้เขาจะเป็นศัตรูก็ตาม
- สทารสันโดษ คือ พอใจยินดีเฉพาะคู่ครองของตน และหาโอกาสรักษาศีล 8 บ้างตามกำลัง
- เมถุนวิรัติ คือ เว้นขาดจากการครองคู่ ได้แก่ ผู้ที่ไม่แต่งงาน หรือเป็นนักบวช
3. พรหมจรรย์ขั้นสูง สำหรับผู้ไม่ครองเรือน
- วิริยะ คือ ความเพียรตั้งใจทำฝึกสมาธิตลอดชีวิต
- ถ้าเป็นฆราวาสก็รักษาศีลอย่างน้อย ศีล 8 ตลอดชีวิต
- อริยมรรค คือ ปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 พร้อมบริบูรณ์อยู่ในตัวพรหมจรรย์ทุกขั้นจะตั้งมั่นอยู่ได้ ต้องอาศัยการฝึกสมาธิเป็นหลัก
สรุป ประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อปฏิบัติแล้ว ความเสื่อม ความทุกข์ความเดือดร้อน ก็จะไม่เกิดขึ้น
มงคลที่ 33 เห็นอริยสัจจ์ : เห็นความจริงอันประเสริฐ
https://sites.google.com/site/social054/bth-thi-4/hawkhx-yxy-4-2
|