<< Go Back

ความหมาย
อุปสงค์ (Demand) หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภค ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีอานาจซื้อหรือมีความสามารถในการตอบสนองความต้องการนั้น ๆ

 ประเภทอุปสงค์ เราสามารถกล่าวถึงอุปสงค์ประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
 1) อุปสงค์ที่เกิดขึ้นจริง (Effective demand) หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าที่เกิดขึ้นจริง ๆ อันเนื่องจากปัจจัยต่อไปนี้
1. ความเต็มใจที่จะซื้อ (Willingness to buy)
2. ความสามารถที่จะซื้อ (Ability topay)
3. สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
 2) อุปสงค์ศักยภาพ (Potential demand) หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าที่เป็นไปตามศักยภาพหรือความสามารถในการซื้อ คือการที่มีอำนาจซื้อแต่ยังไม่ซื้อในขณะนี้
 3) อุปสงค์ทางตรง (Direct demand) หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าขั้นสุดท้าย (Final product) ของผู้บริโภค เช่น อุปสงค์ในขนม อุปสงค์ที่มีต่อเสื้อผ้าสาเร็จรูป เป็นต้น
  4) อุปสงค์สืบเนื่อง (Derived demand) หมายถึง ความต้องการซื้อวัตถุดิบไปผลิตสินค้าที่ผู้บริโภคมีความต้องการ เช่น เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการซื้อขนม ทาให้ผู้ผลิตขนมมีความต้องการซื้อไข่ไก่ น้าตาลทราย เพื่อไปทำขนมขาย ความต้องการ ไข่ไก่ และน้าตาลทรายจึงจัดเป็น อุปสงค์สืบเนื่อง มิใช่อุปสงค์ทางตรงที่ผู้บริโภคมีต่อขนม
5) อุปสงค์ส่วนบุคคล (Individual demand) เป็นความต้องการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคแต่ละคน ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง เช่นถ้าขณะนั้นเสื้อเชิร์ตราคาตัวละ 300 บาท นาย ก.ต้องการซื้อจานวน 2 ตัว นาย ข. ต้องการซื้อ 1 ตัว นาย ค. ต้องการซื้อ 5 ตัว ความต้องการซื้อเสื้อเชิร์ตของนาย ก. หรือนาย ข. หรือนาย ค. เรียกอุปสงค์ของผู้บริโภคแต่ละรายหรือ อุปสงค์ส่วนบุคคล
 6) อุปสงค์ของตลาด (Market demand) เป็นความต้องการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคในตลาดรวมกัน ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เสื้อเชิร์ตตัวละ 300 บาท ถ้าทั้งตลาดมีผู้ซื้อเพียง 3 ราย คือ นาย ก. นาย ข. และนาย ค. ดังนั้นอุปสงค์ของตลาดเสื้อเชิร์ตในขณะนั้นคือ 2+1+5=8 ตัว
 7) อุปสงค์ที่มีต่อหน่วยธุรกิจ (Firm demand) เป็นความต้องการซื้อสินค้าในตลาดที่ผลิตโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ตัวอย่างเช่น อุปสงค์ของเสื้อเชิร์ตในตลาดจำนวน 800 ตัว เป็นอุปสงค์ที่มีต่อเสื้อของบริษัท A จำนวน 200 ตัว บริษัท B จำนวน 500 ตัวและบริษัท C จำนวน 100 ตัว เป็นต้น

 ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์
อุปสงค์ที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง จะถูกกำหนดโดยปัจจัยต่างๆ ได้แก่
1. ราคาสินค้าชนิดนั้น
2. ราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง
3. รสนิยม
4. รายได้
5. จำนวนประชากร
6. การโฆษณาประชาสัมพันธ์
7. อื่น ๆ

ฟังก์ชั่นอุปสงค์ (Demand function)
หมายถึง สมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการ กับปัจจัยต่าง ๆ ที่กำหนดความต้องการซื้อ
อุปสงค์ที่มีต่อสินค้าA = f (ราคาสินค้า A, ราคาสินค้าB, รสนิยม, รายได้,
จำนวนประชากร, ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์)
DA = f (PA , PB, T , Y , Pop , Ad )
ปัจจัยที่กำหนดความต้องการซื้อสินค้าAในที่นี้คือราคาสินค้า A ราคา สินค้า B รสนิยม รายได้ จานวนประชากร และค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การนาปัจจัยที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ทุกตัวมาพิจารณาพร้อม ๆ กันนั้น การศึกษาจะต้องเป็นไปในรูปของการวิเคราะห์ทุกส่วน (General analysis) ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากมากสาหรับการศึกษาในระดับนี้ โดยทั่วไปในขั้นนี้จะเป็นการวิเคราะห์เฉพาะส่วน (Partial analysis) เท่านั้น เช่น การศึกษาความสัมพันธ์ของความต้องการซื้อสินค้ากับปัจจัยใดปัจ จัยหนึ่งทีละตัวโดยกำหนดให้ปัจจัยอื่น ๆ คงที่ ในกรณีที่เป็นความสัมพันธ์ของปริมาณความต้องการซื้อกับราคาสินค้าชนิดนั้น เรียก อุปสงค์ต่อราคา ถ้าเป็นความสัมพันธ์ของปริมาณความต้องการซื้อกับรายได้ เรียก อุปสงค์ต่อรายได้ ถ้าเป็นความสัมพันธ์ของปริมาณความต้องการซื้อกับราคาสินค้าชนิดอื่นที่เกี่ยวข้อง เรียก อุปสงค์ไขว้
ฟังก์ชั่นอุปสงค์ต่อราคา DA = f(PA)
ฟังก์ชั่นอุปสงค์ต่อรายได้ DA = f(Y)
ฟังก์ชั่นอุปสงค์ไขว้ DA = f(PB)

กฎของอุปสงค์ (Law of demand)
กฏของอุปสงค์ หมายถึงกฏที่ว่าด้วยระบบความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้ากับปริมาณความต้องการซื้อสินค้านั้น ซึ่งกฏนี้กล่าวไว้ว่า"ราคาและปริมาณความต้องการซื้อสินค้าจะมีความสัมพันธ์กันในทิศทางตรงกันข้าม" คือ เมื่อราคาสินค้าสูงขึ้นปริมาณความต้องการซื้อจะลดต่าลง และในทางตรงกันข้าม เมื่อราคาสินค้าลดลง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าจะเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไปจะก่อให้เกิดผลสองประการ คือ ผลทางรายได้ (Income effect) กล่าวคือเมื่อราคาสินค้าสูงขึ้น แม้ว่ารายได้ที่เป็นตัวเงินไม่เปลี่ยนแปลงไป แต่รายได้ที่แท้จริงลดลง ทาให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าน้อยลง หรือเมื่อราคาสินค้าลดลงย่อมมีผลให้รายได้ที่แท้จริงสูงขึ้น ผู้บริโภคจะซื้อสินค้ามากขึ้น ผลอีกประการก็คือ ผลจากการทดแทนกัน กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าชนิดนั้นสูงขึ้น จะทาให้ผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าอื่นที่ราคาไม่สูงมากนักแต่สามารถใช้ทดแทนกันได้ ทำให้ปริมาณการซื้อสินค้าชนิดนั้นลดลง ในทานองตรงกันข้ามเมื่อราคาสินค้าลดลง ผู้ที่เคยใช้สินค้าอื่นที่สามารถทดแทนกันได้ จะหันมาซื้อสินค้าที่ราคาลดลง ทำให้ปริมาณการซื้อสูงขึ้น

ลักษณะของเส้นอุปสงค์
เส้นอุปสงค์ (Demand Curve) จะมีลักษณะเป็นเส้นตรงลาดลงจากซ้ายมาขวา ความชัน (slope) ของเส้นเป็นลบ เนื่องจากราคาและปริมาณความต้องการซื้อมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม

http://www.cvc-cha.ac.th/eco/p1.htm

<< Go Back