<< Go Back

ขันธ์ 5 (เบญจขันธ์) เป็นหลักธรรมในศาสนาพุทธที่สอดคล้องกับเรื่องของ “ทุกข์” ตามหลักอริยสัจ 4 โดยหมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมทั้ง 5 ที่ทำให้เกิดเป็นตันตนหรือชีวิตขึ้นมา หรืออาจพูดให้เข้าใจได้ง่ายว่า ส่วนประกอบ 5 อย่างที่รวมกันแล้วก่อให้เกิดเป็นคนและสัตว์ขึ้นมานั่นเอง

ขันธ์ 5 ประกอบด้วยกองรูปธรรม และนามธรรมทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
1. รูปขันธ์ หมายถึง กองรูป ส่วนที่เป็นร่างกาย พฤติกรรม คุณสมบัติต่างๆ ของร่างกาย และส่วนประกอบที่เป็นรูปธรรมทั้งหมด
2. เวทนาขันธ์ หมายถึง กองเวทนา ส่วนที่เป็นความรู้สึกทุกข์ สุข ดีใจ พอใจ
3. สัญญาขันธ์ หมายถึง กองสัญญา ส่วนที่เป็นการจำสิ่งที่ได้รับ
4. สังขารขันธ์ หมายถึง กองสังขาร ส่วนที่เป็นการคิดปรุงแต่ง โดยสามารถแยกแยะสิ่งที่รู้สึกหรือจดจำได้ 5. วิญญาณขันธ์ หมายถึง กองวิญญาณ หรือ จิต เป็นการรู้แจ้งถึงสิ่งต่างๆ ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

ท่านให้มองสิ่งเหล่านี้ว่ามีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นปกติ ไม่มีใครสามารถบังคับมันได้ เช่น
รูป เมื่อร่างกายแก่ เราก็ห้ามความแก่ไม่ได้ เมื่อเจ็บก็ห้ามมันไม่ได้ เมื่อตายก็ห้ามไม่ได้
เวทนา ความสุข-ทุกข์ เช่น เราลองตั้งใจให้เป็นสุขสัก 5 ชั่วโมง หลังจากนั้นให้มันทุกข์สัก 2 ชั่วโมง ในเมื่อเรากำหนดไม่ได้ มันเป็นของมันอย่างนั้นเอง มันสุขทุกข์ มันก็เป็นของมัน ไม่สามารถเข้าไปบังคับมันได้ มีเพียงสติตามรู้เท่านั้น
สัญญา คือความจำนั่นเอง อันนี้ไม่อธิบายมาก
สังขาร คือการปรุงแต่งของจิต เช่น ความรู้สึกดีใจ รู้สึกเสียใจ รู้สึกว่าเหงา สิ่งเหล่านี้มันก็ไม่เที่ยง ไม่มีใครจะกำหนดได้ว่าฉันขอมีความรู้สึกดีใจ 5 ชั่วโมง หลังจากนั้นฉันขอรู้สึกเฉย ๆ หรือ จะตั้งว่าขอโกรธสัก 10 ชั่วโมง หลังจากนั้นให้มีความสุขต่อ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เองมันไม่เที่ยง มันเกิดความรู้สึกก็เกิดของมันเอง เมื่อมันดับ ก็ดับของมันเอง เช่นกัน มีเพียงสติเข้าไปตามรู้ว่า ตอนนี้โกรธ ตอนนี้เกลียด ก็อย่าหลงไปตามความรู้สึกนั้น ๆ

ที่มาภาพ : http://suchart.rmutl.ac.th/Misc/Khan.php


   http://suchart.rmutl.ac.th/Misc/Khan.php

<< Go Back