เป็นหลักคำสอนที่จัดอยู่ในสมุทัย (ธรรมที่ควรละ) หมายถึง หนทางหรือช่องทางแห่งความเสื่อมและความพินาศของทรัพย์สมบัติและตนเอง พระพุทธศาสนาได้แสดงหนทางแห่งความเสื่อม และความพินาศไว้ 6 ประการ เรียกว่า อบายมุข 6 ได้แก่
1. การดื่มน้ำเมา การดื่มน้ำเมา แห่งอบายมุข 6 หมายถึง การดื่มน้ำเมาที่หมักโดยยังไม่กลั่น ได้แก่ เบียร์ ไวน์ เป็นต้น และการดื่มน้ำเมาที่กลั่นแล้ว ได้แก่ สุรา และยังหมายรวมถึงการเสพสารเสพติดอื่นๆ เช่น ยาบ้า กัญชา เฮโรอีน เป็นต้น
โทษการดื่มน้ำเมา
1. ติดน้ำเมา ติดสารเสพติด เพราะสารที่มีอยู่ในสิ่งเหล่านี้ออกฤทธิ์ให้ร่างกายเกิดการเสพติด หรืออยากที่จะดื่มหรือเสพอีกครั้ง
2. ขาดปัญญา ขาดสติ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ นำไปสู่การทะเลาะวิวาท เพราะฤทธิ์ของสารเหล่านี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทหลายด้าน อาทิ กดประสาท กระตุ้นประสาท หลอนประสาท เป็นต้น 3. เสียทรัพย์ในการซื้อจ่าย เพราะต้องแลกมาด้วยเงินทองในการซื้อ
3. เกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคตับ โรคประสาทหลอน เพราะสารในสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของร่างกาย
4. ผู้อื่นรังเกียจ และนินทา เพราะเมื่อเมาเป็นนิจมักแสดงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจทำให้คนอื่นติฉินนินทาในภายหลัง
5. เสียการงาน เพราะเมื่อเมาแล้วจะไม่มีสติหรือไม่มีสมาธิในการทำงานได้เหมือนคนทั่วไป ฯลฯ
2. การเที่ยวกลางคืน การเที่ยวกลางคืน แห่งอบายมุข 6 หมายถึง การออกนอกบ้านในยามวิกาลในแหล่งบันเทิง เพื่อสนองต่อความสุขทางกาย และทางใจ อาทิ ร้านคาราโอเกะ ร้านเหล้า ร้านเบียร์ เป็นต้น
โทษการเที่ยวกลางคืน
1. หลงใหลการเที่ยวเล่นยามราตรี เพราะการบันเทิงต่างๆในยามราตรีมักยั่วยวนจิตใจให้ลุ่มหลงเป็นนิจ
2. เสียทรัพย์ เสียค่าใช้จ่าย เพราะการออกเที่ยวกลางคืนมักต้องจ่ายค่าเดินทาง ค่าบริการ และจ่ายทรัพย์ตนไปเพื่อให้ได้มาต่อการเที่ยวชมในสิ่งนั้นๆ
3. มักพบคนพาล และมักถูกหลอกลวง เพราะแหล่งเที่ยวกลางคืนมักมีคนพาล คนไม่ดีรายล้อม จึงมีโอกาสต้องพบปะ และสนทนาให้คุ้นเคย ส่วนสิ่งที่จะตามมา คือ โอกาสการถูกหลอกเพื่อหวังตัณหาในเรือนร่าง ในทรัพย์สิน เป็นต้น
4. มักเกิดการทะเลาะวิวาท เกิดศัตรูได้ง่าย เพราะการเที่ยวกลางคืนมักไปเป็นกลุ่ม มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก เสพสิ่งมึนเมา และพร้อมที่จะขัดแย้งกับคนอื่นหรือกลุ่มอื่นได้ง่าย
5. มักประพฤติผิดในกาม ล่วงในกามได้ง่าย เพราะการเที่ยวกลางคืนย่อมอยู่ห่างไกลจากครอบครัว สามีหรือภรรยา หากถูกยั่วยุด้วยตัณหาทางกามารมณ์แล้วมักนำพาไปสู่การล่วงในกามได้ง่าย
3. การเที่ยวดูการละเล่น การเที่ยวดูการละเล่น แห่งอบายมุข 6 หมายถึง การเที่ยวออกดูการแสดง การบันเทิงต่างๆ ทั้งในเวลากลางวัน และยามวิกาล อบายมุขในข้อนี้ มิได้ห้ามมิให้เที่ยวดูเลย แต่พึงให้เที่ยวดูตามกิจที่เหมาะสม เพื่อยังให้เกิดประโยชน์แก่ตนบนพื้นฐานแห่งศีลธรรมเป็นหลัก ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันตนมิให้มีโอกาสเกี่ยวข้องกับอบายมุขในข้ออื่นๆ
โทษการเที่ยวดูการละเล่น
1. หลงใหลในการละเล่น เพราะการละเล่นเป็นสิ่งยั่วยวนใจให้ลุ่มหลงได้ง่าย
2. เสียทรัพย์ เสียค่าใช้จ่าย เพราะการชมการละเล่นมักต้องเสียทรัพย์แลกมาก่อน หรือต้องเสียทรัพย์เพื่อการอื่น เพราะตนเดินทาง เพราะตนเข้าชม เพราะตนเกิดความหิว เป็นต้น
3. มักเจอคนพาล มักมีผู้อื่นมาหลอกลวง เพราะผู้ที่เข้าชมการละเล่นบางคนที่หวังในทรัพย์ หรือประโยชน์อื่นจากผู้คนชมมักแฝงตัวเข้ามาชมด้วย
4. ผู้คนนินทา เพราะคนที่ชอบไปโน่นไปนี่เพื่อชมการละเล่น โดยไม่ทำกิจอันสำคัญของตนมักทำให้กิจของตนเสื่อม หรือมีความเสียหายจนทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และกล่าวติเตียน กล่าวนินทาในภายหลัง ฯลฯ
4. การเป็นนักเลงการพนัน หมายถึง การชอบเล่นการพนันขันต่อมีได้เสีย เช่น เล่นไพ่ เล่นหวย จนถึงขั้นที่เรียกว่า ผีพนันเข้าสิง การเป็นนักเลงการพนันมีโทษดังนี้
4.1 เป็นหนทางของการก่อเวรซึ่งกันและกัน
4.2 ทำให้เสียทรัพย์สิน
4.3 ไม่มีใครไว้วางใจ
4.4 ไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมด้วย
4.5 ไม่มีใครอยากแต่งงานด้วย
4.6 ทำให้เป็นคนลุ่มหลง เล่นแล้วไม่หยุด
5. การเกียจคร้านทำการงาน หมายถึง การไม่ขยันทำงานตามเวลาและหน้าที่รับผิดชอบ ปล่อยการงานให้คั่งค้าง เหมือน ดินพอกหางหมู คนเกียจคร้านการงาน ได้ชื่อว่าเป็น คนไม่เอาไหน จะได้รับโทษดังนี้
โทษการเกียจคร้านทำการงาน
5.1 หาความเจริญรุ่งเรืองไม่ได้
5.2 ย่อมเสียประโยชน์ของตนไปอย่างน่าเสียดาย
5.3 ทรัพย์สินเงินทองใหม่ก็ไม่เกิด ที่มีอยู่ก็มีแต่จะหมดไป
5.4 เป็นคนที่หมดค่าของความเป็นคน ทั้งนี้เพราะ ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน
6. การคบคนชั่วเป็นมิตร หมายถึง การคบคนชั่วหรือคนพาลเป็นมิตร แห่งอบายมุข 6 หมายถึง การยอมรับในความเป็นมิตรจากบุคคลอื่นที่ตนอาจแยกแยะได้หรือแยกแยะไม่ได้ว่าเขาเป็นคนเช่นไร คนชั่วหรือคนพาลในที่นี้ ได้แก่ คนพาลการพนัน คนพาลนักเลงต่อยตี คนพาลฉ้อโกงหลอกลวง คนพาลเจ้าชู้ และคนพาลขี้เมา เป็นต้น
โทษการคบคนชั่วเป็นมิตร
1. ปลูกฝังความชั่วในตน เป็นนักเลงในทุกด้าน เพราะเมื่อยอมรับเป็นมิตรในคนพาลแล้วย่อมที่จะได้รับการเรียนรู้ การฝึกฝนในวิถีแห่งคนพาล จนนำมาประพฤติเป็นกิจของตนได้ง่าย
2. วงศ์ตระกูลเสื่อมเสีย เพราะเมื่อเป็นเช่นคนพาลแล้วย่อมกระทำเช่นคนพาลจนนำมาสู่ความเสื่อมเสียในวงศ์ตระกูล
3. ครอบครัวแตกแยก เพราะคนพาลมักไม่เป็นที่ชื่นชมของคนอื่นในครอบครัว หรือหากนำวิถีแห่งคนพาลมาใช้ในครอบครัว ก็ย่อมทำให้เกิดความขัดแย้งต่อผู้อื่นได้ง่าย
4. ถูกหลอกลวงได้ง่าย เมื่อยอมรับในมิตรของคนพาลแล้ว ย่อมต้องพบปะให้เกิดความคุ้นเคย คนพาลเหล่านั้นอาจหวังหลอกลวงในทรัพย์ หรือประโยชน์จากเราเฉกเช่นคนพาลทั่วไป
5. ผู้คนนินทา ไม่มีผู้คบหา เพราะเมื่อคบคนพาลหรือนำวิธีแห่งคนพาลมาประพฤติแล้วมักทำให้ผู้อื่นรังเกียจ ไม่กล้าคบหา
http://thaihealthlife.com/อบายมุข6/
http://oknation.nationtv.tv/blog/Leaning/2007/11/03/entry-3
|