ความหมายของการจัดสรรทรัพยากร คือ การนำเอาสิ่งที่หายาก และนำทรัพยากรนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่มวลมนุษย์ในสังคม
1. การจัดสรรทรัพยากรในทางเศรษฐศาสตร์ แบ่งได้ 2 วิธี คือ
1. รัฐเป็นผู้จัดสรรทรัพยากร โดยส่วนใหญ่อยู่ในประเทศสังคมนิยม เช่น จีน
2. ใช้กลไกราคาเป็นตัวจัดสรร ราคาสูงก็จะผลิตมาก โดยผู้ผลิตสามารถกำหนดว่าควรผลิต อะไรมากน้อยเท่าใด
(1) ในฐานะที่เป็นผู้บริโภค : ราคาสูงซื้อลดลง แต่ถ้าราคาถูกซื้อเพิ่มขึ้น
(2) ในฐานะที่เป็นผู้ผลิต : ราคาสูง จะผลิตเพิ่มขึ้น เพราะมีแรงจูงใจจากกำไร
2. การจัดสรรทรัพยากรแบ่งตามเขตภูมิศาสตร์ เป็นการแบ่งเขตตามสภาพภูมิศาสตร์ เช่น ภาคเหนือ ทำเรื่องของป่าไม้ ท่องเที่ยวภาคใต้ ทำเรื่องของยางพารา การประมง เป็นต้น
3. การจัดสรรทรัพยากรแบ่งตามอาชีพ และอุตสาหกรรม ดูที่อาชีพของคนส่วนใหญ่ในสังคม หรือประเทศที่มีการประกอบการเป็นหลัก เช่นในประเทศไทยมีเกษตรกรกว่าร้อยละ 70 เป็นต้น ดังนั้นการจัดสรรทรัพยากรโดยส่วนใหญ่แล้วนั้นจึงมักจะอยู่ในเรื่องของการเกษตร
4. การจัดสรรทรัพยากรแบ่งตามอำนาจหน้าที่ ดูที่อำนาจการบังคับบัญชาหรือหน้าที่ที่รับผิดชอบ เช่น เจ้านายกับลูกน้อง หรือในมหาวิทยาลัยอธิการบดี กับรองอธิการและอาจารย์เป็นต้น (ดูได้จากเงินเดือน ที่เจ้าหน้าต้องได้มากกว่าลูกน้อง เพราะมีความรับผิดชอบมากกว่า)
5. การจัดสรรทรัพยากรให้แก่เจ้าของปัจจัยการผลิต โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นไปตามกลไกราคา แต่เนื่องจากมีปัจจัยพื้นฐานที่ประกอบกันหลายฝ่าย คือ
1. เงินทุน ที่ได้รับการจัดสรรให้อยู่ในรูป ดอกเบี้ย
2. ที่ดิน ที่ได้รับการจัดสรรให้อยู่ในรูป ค่าเช่า
3. แรงงาน ที่ได้รับการจัดสรรให้อยู่ในรูป ค่าจ้าง เงินเดือน
4. ผู้ประกอบการ ที่ได้รับการจัดสรรให้อยู่ในรูป กำไร หรือเงินปันผล
6. กำไรที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ มีหลายลักษณะ เช่น
1. กำไรเกิดจากการพยากรณ์ถูกทิศทาง การคาดการณ์ที่ถูก
2. กำไรจากการผูกขาด มักเป็นไปตามกฎหมาย หรือว่าไม่มีคู่แข่ง ซึ่งผู้ผลิตสามารถตั้งราคาได้ตามใจชอบ
3.กำไรจากการคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ สินค้า ชนิดใหม่
4. กำไรจากความนิยมในการบริโภค เช่นสินค้าแฟชั่น
5.กำไรจากการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องของการลดต้นทุน
https://sites.google.com/site/economicnatchanan123/home/bth-thi1kar-cad-srr-thraph
|