ความหมายของประเพณี
คำว่า ประเพณีมายถึงฤติกรรมของมนุษญ์ที่เลือกปฎิบัติตามค่านิยม ในทางที่ดีงาม และเป็นที่ ประสงค์ ของคนส่วนใหญ่ โดยปฎิบัติสืบทอดกัน มาเรื่อย มาจนกลายเป็นความ เชื่อว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญจะต้อง ปฎิบัติตาม ประเพณี แต่ละสังคมแตกต่างกันไป หากสังคมใดอยู่ใกล้ชิดกัน ประเพณีย่อมคล้่ายคลึงกันได้ เพราะ มีการไปมา หาสู่กัน ทำให้ประเพณี เลื่อนไหล กันได้ซึ่งประเพณีของสังคมยังเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรม อีกด้วย
ประเภทของประเพณี เราอาจแบ่งประเพณีออกเป็น 3 ประเภท
1. จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม (Mores) หมายถึง สิ่งที่สังคมใดสังคมหนึ่งยึดถือและปฎิบัติสืบกันมาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง เป็นเรื่องของความ ถูกผิด มีเรื่องของ ศลีธรรมเข้าร่วมกัน ใครฝ่าฝืนหรือฉยเมยถือว่าเป็นการละเมิดกฎสังคม ผิดประเพณีสังคม จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรมของ แต่ละสังคมย่อมไม่เหมือนกันสังคมไทยเห็นว่า การมีความสัมพันธ์ทางเพศ ก่อนแต่งงานเป็น การผิดจารีตประเพณี แต่ชาวสวีีเดน เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้น จารีตประเพณีเป็นเรื่อง ของแต่ละสังคม จะใช้ค่านิยมของสังคมหนึ่ง ไปตัดสินสังคมอื่นไม่ได้
2. ขนบธรรมเนียมหรือสถาบัน เป็นระเบียบแบบแผนทีีสังคมได้กำหนดไว้แล้วปฎิบัติสืบกันมา คือรู้กันเอง ไม่ได้เป็นระเบียบแบบแผน ไว้าว่าควรประพฤติปฎิบัติกันอย่างไร มักใช้คำว่าสถาบันมาแทนขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งคนในสังคมมีความ พอใจ เป็นที่ปฎิบัติสืบต่อกันมา มีข้อกำหนดบังคับเอาไว้ เช่น สถาบันการศึกษามีครู ผู้เรียน เจ้าหน้าที่ มีระเบียบ การรับสมัครเข้าเรียน การสอนไล่ ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด การบวช การแต่งงาน การตาย มีกฎเกณฑ์ของ ประเพณีวางไว้ แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อจำเป็น
3. ธรรมเนียมประเพณีหรือประเพณีนิยม (Convention) เป็นแนวทางการปฎิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันที่ปฎิบัติกันมาจนเคยชิน แต่ต้องไม่ขัดแย้งกัน เป็นเรื่อง ของทุกคนควรทำแม้มีผู้ฝ่าฝืนหรือทำผิดก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ แต่อาจถูกตำหนิได้ว่าไม่มีมารยาท ไม่รู้จัก กาลเทศะ เช่น การแต่งกาย การรัปประทานอาหาร การดื่มน้ำจากแก้ว
ลักษณะของประเพณีไทย
การศึกษารายละเอียดของประเพณี จะแยกเป็น 2 ประเภท คือ ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ประเพณีเกี่ยวกับ เทศกาล
1. ประเพณีส่วนบุคคล หรือประเพณีเกี่ยวกับชีวิต
เป็นประเพณีเกี่ยวกับการส่งเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ได้แก่ ประเพณีการเกิด การบวชก่ารแต่งงาน การตาย การทำบุญในโอกาสต่าง ๆ
1.1 ประเพณีการเกิด เป้นเรื่องสังคมไทยให้ความสำคัญ แล้วแต่ความเชื่อของบุคคลหรือสังคม ที่ตนอยู่ ซึ่งแต่เดิมคนเชื่อ ในสิ่งลึกลับพิธีกรรมจึงมีตั้งครรภ์จนคลอดเพื่อป้องกันภัยอันตรายจากทารก เช่น ทำขัวญเดือน โกนผมไฟ พิธีลงอู่ตั้วชื่อ ปูเปลเด็ก โกนจุก (ถ้าไว้จุก)เป็นต้น
1.2 ประเพณีการบวช ถือเป็นสิ่งที่อบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี ตลอดจนทดแทนบุญคุณ พ่อแม่ ผู้ให้กำเนิด ตัวผู้บวชเอง ก็มีโอกาส ได้ศึกษาธรรมวินัย
- การบรรพชาคือการบวชเณร ต้องเป็นเด็กชายที่มีอายุตั้งแต่ 7 ขวบขึ้นไป
- การอุปสมบท คือ การบวชพระ ชายที่บวชต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
1.3 ประเพณีการแต่งงาน เกิดขึ้นภายหลังผู้ชายบวชเรียนแล้ว เพราะถือว่าได้รับการอบรม มาดีแล้ว เมื่อเลือกหาหญิงตามสมควรแก่ฐานะ ฝ่ายชายก็ให้ผู้ใหญ่ไปสู่ขอฝ่ายหญิง ขั้นตอนต่าง ๆ ก็เป็นการ หาฤกษ์หายาม พิธีหมั้น พิธีแห่ขันหมาก การรดน้ำประสาทพร การำบุญเลี้ยงพระ พิธีส่งตัวเจ้าสาว เป็นต้น การประกอบพิธีต่าง ๆ ก็เพื่อความเป็นมงคลให้ชีวิตสมรสอยู่กันอย่างมีความสุข
1.4 ประเพณีการเผาศพ ตามคติของพระพุทธศาสนา ถือว่าร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ
- ดิน (เนื้อ หนัง กระดูก)
- น้ำ (เลือด เหงื่อ น้ำลาย)
- ลม (อากาศหายใจเข้า-ออก)
- ไฟ (ความร้อนความอบอุ่นในตัวเรา) ดังนั้น เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว สังขารที่เหลือจึงไม่มีประโยชน์อันใด การเผาเสียจึงเป็นสิ่งดี ผู้ที่อยู่เบื้อง หลังไม่หว่งใย โดยมากมักเก็บศพไว้ทำบุญให้ทานชั่วคราว เพื่อบรรเทาความโสกเศร้า โดยปกติมักทำการเผา 100 วันแล้ว เพราะได้ทำบุญให้ทานครบถ้วนตามที่ควรแล้ว
2. ประเพณีเกี่ยวกับสังคม หรือประเพณีส่วนรวม เป็นประเพณีที่ประชาขนส่วนใหญ่ในสังคมถือปฎิบัติ ได้แก่ ประเพณีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ประเพณี สงกรานต์ ประเพณีสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น ประเพณีส่วนร่วมที่คนไทยส่วนมากยังนิยมปฎิบัติกันเช่น
2.1 ประเพณีสงการนต์
เป็นประเพณีที่กำเนิดมาจากประเทศอินเดีย เป็นประเพณีเฉลิมฉลองการ เริ่มต้นปีใหม่ ไทยเราใช้กันมาตั้ง แต่สมัย สุโขทัย เป็นราชธานี วันที่เริ่มต้นปีใหม่คือวันที่ 13 เมษายนของทุกปีถือปฎิบัติจนถึงปี พ.ศ. 2483 รัซบาล จึง ได้กำหนด ให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่ ในวันสงการนต์จะมีการ ทำบุญ ตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลาสรงน้ำพระพุทธรูปพระสงฆ์ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่การเล่นสาดน้ำกัน การเล่นก๊ฬาพื้นเมือง ปัจจุบันยังเป็น ประเพณีนิยมเพื่อความบันเทิงสนุกสนาน ได้เยี่ยมพ่อแม่ ญาติพี่น้อง
2.2 ประเพณีเข้าพรรษา สืบเนื่องจากอินเดียสมัยโบราณ กำหนดให้พระสงฆ์ที่จาริกไปยังสถานที่ ต่างๆ กลับมายังสำนนักของอาจารย์ในฤดูฝน เพราะลำบากแก่การจาริก ยังได้ทบทวนความรู้ อุบาสก อุบาสิกา ได้ทำบุญถวายผ้าอาบน้ำฝน ถวายต้นเทียน เพื่อให้พระสงฆ์ใช้ในพรรษา ชาวไทยถือนิยมปฎิบัติการเข้าพรรษา แรกื คือปุริมพรรษา เริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
2.3 ประเพณีทอดกฐิน ทอดผ้าเมื่อพ้นพรรษาแล้วจะมีประเพณีถวายผ้าพระกฐินแก่พระสงฆ์ เพื่อผลัดเปลี่ยนกับชุดเดิม ซึ่งถือปฎิบัติกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย การทอดกฐิน เริ่มตั้งแต้่ วันแรม1 ค่ำ เดือน 11 จนถึงกลางเดือน 12 รวมเวลา 1 เดือน จะทอดก่อน หรือหลังนี้ก็ได้
ความสำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
วัฒนธรรมประเพณีของชาติ ล้วนแสดงให้เห็นความคิด ความเชื่อ ที่สะท้อนถึงวิธีการดำเนินชีวิต ความเป็นมา ความสำคัญ ซึ่งล้วนเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมไทย ดังนั้น ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยจึง มีความสำคัญ พอสรุปได้ดังนี้
1. ความเป็นสิริมงคล ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยนั้น ล้วน เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและพราหมณ์ พิธีกรรมต่าง ๆ ที่ปฎิบัติสืบทอดกันมานั้น เป็นความเชื่อเรื่องของความเป็นมงคลแก่ชีวิต
2. ความสามัคคี ความเสียสละ ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นเครื่องฝึกจิตใจให้รู้จักเป็นผู้เสียสละจะเห็นได้จากงานบุญต่าง ๆ มักเกิดการร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกัน เช่นพิธีขนทรายเข้าวัด การก่อเจดีย์ทราย ทำให้เกิดความรักความสามัคคี
3. การมีสัมมาคารวะ ถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีไทยอย่างหนึ่ง แสดงถึงความน้อมน้อม อ่อนโยน ความมีมารยาทไทย
4. ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ช่วยทำให้คนไทยอยู่ในกรอบที่ดีงาม ถือว่าเป็นเครื่องกำหนด พฤติกรรม ได้อย่างหนึ่ง
5. ขนบธรรมเนียมประเพณีในแต่ละท้องถิ่น ถึงแม้ว่าจะแตกต่างกัน แต่ทุกคนก็มีความรู้สึกว่าทุกคน เป็นคนไทย มีความเป็นชาติเดียวกัน และสามารถแบ่งออกถึงความเป็นมาของชาติได้
http://e-learning.e-tech.ac.th/learninghtml/s1301/unit05.html
|