สังคม คือ การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมที่มีลักษณะพอเพียงและสันติไม่ทอดทิ้งกัน มีความเป็นธรรม มีวัฒนธรรม มีคุณธรรม มีความเข้มแข็ง พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ – ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การปรับเปลี่ยนการจัดระเบียบองค์การทางสังคม ทางด้านสถาบัน หรือแบบแผนของบทบาททางสังคม การเปลี่ยนแปลงนี้อาจเป็นไปได้ในทางก้าวหน้าหรือถดถอย เป็นไปได้อย่างถาวรหรือชั่วคราว โดยการวางแผนหรือเป็นไปโดยธรรมชาติ หรืออาจเป็นประโยชน์หรือโทษ สุรชัย หวันแก้ว กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม คือ การที่ระบบสังคม กระบวนการแบบอย่าง หรือรูปแบบทางสังคม เช่น ขนมธรรมเนียมประเพณี ระบบครอบครัว ระบบการปกครองได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้อาจเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย เป็นไปอย่างถาวรหรือชั่วคราว โดยการวางแผนหรือการให้เป็นไปเอง และที่เป็นประโยชน์หรือโทษก็ได้ทั้งสิ้น พัทยา สายหู ชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบความสัมพันธ์ของคนที่อยู่ด้วยกัน อันเป็นผลมาจากระเบียบที่กำหนดการกระทำและความสัมพันธ์ของคน เช่น สิทธิและหน้าที่ ขนบธรรมเนียมประเพณี บทบาท และสถานภาพที่มีการเปลี่ยนแปลง สัญญา สัญญญาวิวัฒน์ ให้ความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม คือ การเปลี่ยนแปลงองค์การทางสังคม 4 ประการได้แก่ ขนาดขององค์กรการสังคม ประเภทขององค์กรการสังคม ลักษณะขององค์กรการสังคม รวมทั้งสถานภาพและบทบาท นิเทศ ตินณะกุล อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมคือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโครงสร้างและหน้าที่ของสังคม สรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม คือ กระบวนการเป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบความสัมพันธ์ขององค์การทางสังคม โดยให้ความสำคัญกับขนาดขององค์กรการสังคม ประเภทขององค์กรการสังคม ลักษณะขององค์กรการสังคม รวมทั้งสถานภาพและบทบาท 1. ปัจจัยภายใน กล่าวคือสิ่งต่างๆ ที่อยู่ภายในสังคมซึ่งเป็นปัจจัยหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้แก่
1.2 ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
1.3 ปัจจัยทางสังคม 2. ปัจจัยภายนอก ปัจจัยประเภทนี้อาจมีไม่มากนัก แต่มีความสำคัญ ได้แก่
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีแบบแผน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่คนไม่มีส่วนร่วม หรือมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงน้อย ได้แก่ การปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมัยโบราณที่คนยังไม่มีความเจริญทางวัตถุ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน น้ำ ภูเขา ป่าไม้ แม่น้ำ ลำคลอง พืช สัตว์ หรือการเปลี่ยนแปลงในสังคม เช่น การเกิดภัยพิบัติ การเกิดโรคระบาด การเกิดภาวะทางเศรษฐกิจตกต่ำ รวมทั้งการเพิ่มขึ้นและลดลงของประชากร 2. การเปลี่ยนแปลงแบบวางแผน เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีคนจงใจทำให้เกิดขึ้น โดยมีการกำหนดทิศทางของการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น ในทางที่ต้องการและกำหนดเวลาเป็นระยะสั้นระยะยาว เช่น 3 ปี 5 ปี 10 ปี มีการกำหนดสิ่งที่ต้องการจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีทั้งคนและสิ่งแวดล้อม กำหนดวิธีการดำเนินการ และสถานที่ที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ลักษณะที่กล่าวมานี้เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงแบบกำหนดทิศทางหรือแบบนำทาง ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในยุคปัจจุบัน สังคมของไทยมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียง 3 ด้าน คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร โครงสร้างทางสังคม และวัฒนธรรม และพฤติกรรมของสมาชิกสังคม 1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร คนไทยในอดีตมีการรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยตัวเองและอยู่กันเหมือนครอบครัวใหญ่ ซึ่งเป็นระบบครอบครัวและเครือญาติ ต่อจากนั้นก็ขยายระบบเครือญาติออกมาใช้รูปแบบของการปกครองแบบหัวหน้ากลุ่มเรียกว่า "พ่อบ้าน" ลูกกลุ่มเรียกว่า "ลูกบ้าน" จนกระทั่งปัจจุบันได้มีการใช้รูปแบบการปกครองในหลายๆ แบบ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งส่วนมากแล้วประชาชนจะเป็นคนตัดสินใจ เลือกผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองตนโดยใช้วิธีการเลือกตั้ง
สำหรับจำนวนประชนของไทยนั้นใน พ.ศ. 2513 ได้มีการสำรวจสำมะโนประชากรพบว่า ประเทศไทยมีประชากรทั้งสิ้น 36 ล้านคน ต่อมา พ.ศ. 2533 มีเพิ่มขึ้นเป็น 56 ล้านคน และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2550 มีจำนวนประมาณ 66 ล้านคน ทั้งนี้ในภาวะปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต สังคมไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุภายในช่วงเวลาอันสั้น ทำให้มีเวลาเตรียมคนและระบบรองรับได้น้อยลง สำหรับผู้สุงอายุดังกล่าวจะเป็นภาระกับผู้ที่อยู่ในวัยแรงงาน โดยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2543 อัตราส่วนวัยแรงงานอยู่ที่ 7 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน และคาดว่าใน พ.ศ. 2533 อัตราส่วนวัยแรงงานจะอยู่ที่ 5.7 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน และ พ.ศ. 2563 อัตราส่วนวัยแรงงานจะเท่ากับ 3.8 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน การเพิ่มจำนวนประชากรของไทย มีลักษณะเช่นเดียวกันกับประเทศที่กำลังพัฒนา ทั้งหลาย คือ มีอัตราการเกิดสูงอัตราการตายลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข อัตราการเพิ่มประชากรที่สูงขึ้นเช่นนี้ ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศโดยรวมโดยเฉพาะปัจจุบัน เนื่องจากจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านคุณภาพของประชากร กล่าวคือประชากรที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นย่อมต้องการชีวิตที่อยู่ดีกินดีมากขึ้น ต้องการสวัสดิการความช่วยเหลือจากรัฐเพิ่มขึ้น ทำให้รัฐต้องใช้งบประมาณในการพัฒนาประชากรเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก
2. การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคม สังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งอาจพิจารณาได้จากระบบครอบครัวและเครือญาติ ในประเด็นการใช้ถ้อยคำเรียกญาติพี่น้อง ตามประเภทและระดับอายุต่างๆ ยังคงเหมือนกับคนไทยในอดีต แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว พ่อ แม่ ลูก สามี กับภรรยา ฯลฯ จะเปลี่ยนแปลงไปตามความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และภาระหน้าที่ของแต่ละบุคคลในสังคมสมัยใหม่ทั้งในเมืองและชนบท เช่น ในอดีตชายไทยมีภรรยาพร้อมๆ กันได้หลายคนและหลายประเภท แต่ปัจจุบันกฏหมายกำหนดให้มีได้เพียงคนเดียวหรือการแต่งงานในอดีต พ่อแม่จะเป็นผู้จัดการให้กับลูกหรือที่เรียกว่า "ประเพณีคลุมถุงชน" โดยที่ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายไม่รู้จักกัน หรือไม่เคยเรียนรู้นิสัยใจคอซึ่งกันและกันมาก่อนเลย แต่ปัจจุบันประเพณีนี้ก็ได้ลดลงอย่างมาก นอกจากนี้ในอดีตเด็กชายเท่านั้นที่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนโดยมีพระเป็นครูสอน แต่ปัจจุบันเด็กไทยทุกคนทั้งหญิงและชายมีสิทธิเข้ารับการศึกษาในระดับขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างไรก็ตามสังคมไทยยังคงมีระบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้น้อยกับผู้ใหญ่ที่เรียกว่า "ระบบอุปถัมภ์" มาจนถึงปัจจุบัน แต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นลักษณะของการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้โครงสร้างของสังคมย่อมเปลี่ยนแปลงไป ตามระบบเศรษฐกิจและการปกครองของประเทศ แต่เดิมไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบเลี้ยงครอบครัว หลังจากทำสนธิสัญญาเบาว์ริง แล้ว ระบบเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการผลิตเพื่อการตลาด ที่มีความต้องการเงินหมุนเวียนมากขึ้น กระบวนการผลิตและการจำหน่ายจะมีนายทุน และผู้ประกอบการที่ต้องการผลตอบแทน ระบบเศรษฐกิจปัจจุบันในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม มีการจ้างแรงงานเรียกว่า "ลูกจ้าง" เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีอาชีพมากมายหลายประเภทที่บุคคลสามารถเลือกได้ตามความถนัดและโอกาส แต่จะต้องมีความรู้และทักษะที่ได้รับการฝึกอบรม จากสถาบันการศึกษาหรือสถาบันฝึกฝีมือแรงงาน ต่างจากอดีตที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ กลุ่มข้าราชการและทหารยังคงมีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครอง เช่นเดียวกันกับสังคมในอดีต แต่อุดมคติของข้าราชการสมัยใหม่ไม่นิยมคุมอำนาจทางเศรษฐกิจเหมือนสมัยก่อน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักการเมืองเข้ามาเป็นกลไกใหม่ของระบบบริหารการปกครอง กลุ่มข้าราชการและทหารที่เคยมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในอดีต ต้องเสียผลประโยชน์ไป บางคนจำเป็นต้องใช้อำนาจหน้าที่ เพื่อหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับกลุ่มพ่อค้าและนายทุน ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในบทบาทและหน้าที่และจริยธรรมของสังคม ที่มีผลสะท้อนต่อความมั่นคงและการพัฒนาประเทศ สำหรับโครงสร้างของสังคมทางด้านการเมืองและการปกครองในอดีต เป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์จะอยู่ในฐานะสมมุติเทพหรือเจ้าชีวิต แต่หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 ได้เปลี่ยนไปใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระราชสถานะของพระมหากัตริย์ได้เปลี่ยนไป เป็นพระมหากษัตริย์ของปวงชน ที่ทรงมีความใกล้ชิดกับประชาชนมากยิ่งขึ้น
3. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของค่านิยมทางวัฒนธรรม ได้แก่ แนวคิดและวิธีการปฏิบัติของคนในแต่ละวัฒนธรรม ที่ยึดถือเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมต่างๆ ของตน เช่น การเกิด การตาย ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดกับการตาย ความดี ความชั่ว ความทุกข์ ความสุข ค่านิยมเกี่ยวกับตนเองและผู้อื่น ความสวยงาม ศิลปะและความบันเทิง ค่านิยมทางวัฒนธรรมและพฤติกรรมของสังคมไทยในอดีต มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ตัวอย่างเช่น ก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์คนไทยทั่วๆ ไปไม่มีค่านิยมทางวัฒนธรรมในเรื่องความรักสนุก พฤติกรรมที่สะท้อนความรักสนุกก็คือ จะไม่ค่อยขยันขันแข็ง ไม่ค่อยอดทน ไม่ค่อยรีบเร่ง ปัจจุบันการดำรงชีวิตมีการแข่งขันกันสูง ทำให้คนไทยต้องรับเอาวัฒนธรรมต่างชาติมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยในเมืองใหญ่ๆ จะมีความขยันขันแข็ง รีบเร่ง อดทน อดออมมากขึ้นกว่าในชนบท นอกจากนี้ ค่านิยมในการบริโภคสิ่งของที่ฟุ่มเฟือย เน้นความมีหน้ามีตา ความสะดวกสบายแตกต่างไปจากอดีต เช่น การจัดงานบุญงานกุศล งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ จะจัดอย่างฟุ่มเฟือยที่เรียกว่า "ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ" แต่ปัจจุบันคนไทยรับเอาค่านิยมทางวัฒนธรรมตะวันตก ในเรื่องของความประหยัดอดออมมาใช้ ทำให้ค่านิยมทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมลดลงไปมาก ปัญหาทางสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อบุคคลจำนวนหนึ่ง ซึ่งมากพอสมควรและมีความรู้สึกว่า ควรจะแก้ไขในรูปการกระทำร่วมกัน เพื่อให้ปัญหานั้นบรรเทาเบาบางลงหรือทำให้ดีขึ้น สภาวะการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อบุคคลจำนวนหนึ่ง ซึ่งมากพอสมควรและมีความรู้สึกว่าควรจะแก้ไขในรูปการการกระทำร่วมกัน เพื่อให้ปัญหานั้นบรรเทาเบาบางลงหรือทำให้ดีขึ้น หรือที่เรียกว่า "ปัญหาทางสังคม" นั้นอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุสำคัญ 3 ประการดังนี้ 1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม เช่น การเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง ขณะที่ลักษณะของครอบครัวดั้งเดิมส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย ญาติผู้ใหญ่จะดูแลบุตรหลาน แต่ในปัจจุบันประชาชนนิยมประกอบอาชีพ ในภาคอุตสาหกรรมในสังคมเมืองมากขึ้น ลักษณะของครอบครัวในปัจจุบันจึงเป็นครอบครัวเดี่ยว ทำให้เยาวชนในครอบครัวไม่มีใครเอาใจใส่ เนื่องจากความจำเป็นในการประกอบอาชีพ จึงทำให้เกิดปัญหาทางสังคม เช่น เด็กติดยา เด็กแว้น
2. สิ่งแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาทางสังคม เช่น การแสดงพฤติกรรมไม่สุภาพในที่สาธารณะ นอกจากนี้เยาวชนหญิงชายมีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือก่อนแต่งงาน หรืออยู่ด้วยกันโดยไม่แต่งงาน นอกจากนี้เยาวชนยังมีพฤติกรรมแสดงถึงการขาดความเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น ขาดวินัย เช่น แซงคิว และการทิ้งขยะในที่สาธารณะ ตลอดจนมีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เช่น การใช้เงินฟุ่มเฟือย รับประธานอาหารแพงๆ และการซื้อของที่มียี่ห้อดัง
3. การจัดระเบียบสังคมที่ไม่มีประสิทธิภาพ สาเหตุที่มีการจัดกลุ่มของสังคมอย่างมีระบบ หรือที่เรียกว่า "การจัดระเบียบสังคม" เนื่องจากคนในสังคมมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ เช่น พื้นฐานทางครอบครัว การศึกษา อาชีพ ศาสนา เชื้อชาติ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดระเบียบสังคม เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข แต่ถ้าในสังคมที่ขาดการจัดระเบียบสังคมอย่างจริงจัง ย่อมจะทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น เช่น เจ้าหน้าที่ไม่เข้มงวด ปล่อยปละละเลยให้มีแหล่งอบายมุข สถานบันเทิงเริงรมย์ต่างๆ หรือมีการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
กระบวนการการเปลี่ยนแปลงของระบบความสัมพันธ์ขององค์กรทางสังคม หรือที่เรียกว่า "การเปลี่ยนแปลงทางสังคม" อันได้แก่ ขนาดขององค์การสังคม ประเภทขององค์การสังคม ลักษณะองค์การสังคม รวมทั้งสถานภาพและบทบาทนั้น นอกจากจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในมิติของความก้าวหน้าแล้ว ในอีกมิติหนึ่งยังก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. ปัญหาประชากรของไทย ปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับประชากรของไทย ในช่วงอายุต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ 1.1 ทารก ปัญหาของสังคมไทยที่มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น ก็คือ ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐานปกติ เนื่องจากมารดาเจ็บป่วย ติดสุราและสูบบุหรี่ รวมทั้งบริโภคอาหารไม่เพียงพอในระหว่างตั้งครรภ์ อัตราการตายของทารกแรกคลอดมีจำนวนมากถึง 8.34 ต่อพันการคลอด และจำนวนทารกแรกคลอดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม มีอัตราส่วนร้อยละ 8.81 อัตราตายทารก 17.3 คน ต่อเด็กเกิดมีชีพพันคน อัตราตายด็ก 2.6 คน ต่อเด็กเกิดมีชีพพันคน 1.2 เด็กอายุ 1 - 6 ปี พ่อแม่ในสังคมไทยยุคปัจจุบันต้องให้เวลาส่วนมากในการทำงาน เป็นเหตุให้ไม่สามารถเลี้ยงดูลูกได้ด้วยตนอง จึงต้องนำลูกไปฝากไว้กับสถานรับเลี้ยงเด็ก ทำให้เด็กขาดความอบอุ่น อีกทั้งสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ขาดมาตรฐานและขาดการทำงานแบบมืออาชีพ ทั้งนี้จำนวนสตรีตั้งครรภ์โดยไม่มีความพร้อมในการเลี้ยงดูบุตร ใน พ.ศ. 2548 มีจำนวนมากถึงร้อยละ 33 ทำให้มีเด็กจำนวนหนึ่งถูกถอดทิ้งในสถานที่ต่างๆ เนื่องจากความไม่พร้อมมีลูกของพ่อแม่ นอกจากนี้จำนวนเด็กอนุบาลที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานมีมากถึงร้อยละ 8.96
1.3 เด็กในวัยเรียน 7 - 18 ปี ปัญหาสังคมอีกประการหนึ่งของเด็กในวัยเรียน คือ 1.3.1 ปัญหาการขาดโอกาสทางการศึกษา เด็กในวัยเรียนมากกว่าครึ่งหนึ่งขาดโอกาสทางการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม ชาติพันธุ์ อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือมีความพิการ โดยเฉพาะระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ใน พ.ศ. 2547 มีจำนวน 10,109,070 คน เด็กและเยาวชนอายุ 13 - 24 ปี 3.8 ล้านคน ไม่สามารถเรียนต่อระดับสูงเพราะขาดทุนทรัพย์ นอกจากนี้นักเรียนยังขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์เพื่อการศึกษา เช่น ห้องสมุดมีหนังสือไม่เพียงพอ เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน และปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งคือการขาดแคลนครู ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่สำหรับระบบการศึกษาของไทย
1.3.2 ปัญหาการขาดวินัยของการเป็นพลเมืองที่ดี ปัจจุบันพบว่าเด็กไทยขาดวินัยของการเป็นพลเมืองที่ดี หลงใหลบริโภคนิยมฟุ้งเฟ้อ ขาดสำนึกสาธารณะ และเกือบครึ่งหนึ่งของเด็กวัยนี้ชอบเที่ยวกลางคืน ทั้งในวันธรรมดาและวันหยุดสุดสัปดาห์ นอกจากนี้ยังชอบดูการ์ตูน วีดีทัศน์ หรือเวปไซต์ลามก นักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจำนวนไม่น้อยถูกทำร้ายร่างกายในสถานศึกษา มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ก่อคดีอาชญากรรม เล่นการพนัน พนันบอล ไม่สนใจการเรียนและหนีเรียน
1.3.3 ปัญหาเด็กไม่สามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม เด็กและยาวชนไทยช่วงอายุ 10 - 18 ปี มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม และจริยธรรมต่ำใน 5 ด้าน ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ การควบคุมอารมณ์ การคิดวิเคราะห์วิจารณ์ การตระหนักรู้ในตนเอง และการแก้ปัญหา ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อการปรับตัวและความสำเร็จของบุคคลในอนาคต ปัจจุบันเด็กไทยไม่สามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสมกับวัย นักเรียนในปัจจุบันมีโอกาสฝึกฝนการเขียนน้อย ส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสฝึกการคิดและการเขียน 1.3.4 ปัญหาเด็กเร่ร่อน เป็นปัญหาสังคมอีกประการหนึ่ง ใน พ.ศ. 2540 พบว่ามีอย่างน้อย 14,000 - 15,000 คน ทั่วประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง อายุระหว่าง 3 - 17 ปี ที่ต้องเร่ร่อนตามพ่อแม่เป็นเหตุให้ไม่ได้เรียนหนังสือ
1.4 เยาวชน 18 - 25 ปี ปัญหาสังคมของเยาวชน คือ 1.4.1 ปัญหาเยาวชนขาดจุดมุ่งหมายในชีวิต ปัจจุบันเยาวชนไทยขาดจุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิต และขาดวินัยของการเป็นพลเมืองที่ดี รวมทั้งยึดติดกับกระแสบริโภคนิยม ฟุ้งเฟ้อ และขาดสำนึกสาธารณะ ในขณะที่สื่อและธุรกิจจำนวนมากก็มุ่งเน้นแต่ประโยชน์ส่วนตน โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะมีต่อเยาวชน โดยพบว่าร้อยละ 29 ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปีป่วยเป็นกามโรค ร้อยละ 30 ของจำนวนผู้ทำแท้งทั้งหมดเป็นสตรีอายุต่ำกว่า 20 ปี ใน พ.ศ. 2544 เยาวชนอายุ 15 - 24 ปี สูบบุหรี่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเพศหญิง เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปีเข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติด คิดเป็นร้อยละ 68.1 ของจำนวนผู้เข้ารับการบำบัดทั้งหมด ส่วนในพ.ศ. 2545 เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2540 คิดเป็นร้อยละ 14.9
1.4.2 ปัญหาเด็กและเยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยง เด็กและเยาวชนไทยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ปัญหา คือ ดื่มเครื่องดื่มมึนเมา ทะเลาะวิวาท ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เที่ยวสถานบันเทิงและมีเพศสัมพันธ์ วัยรุ่นไทยจำนวนมากมีนิสัยการใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือย แม้ว่าจะไม่สามารถหาเงินได้เอง โดยใช้จ่ายต่อเดือน 20,000 - 50,000 บาท และเที่ยวกลางคืนไม่ต่ำกว่าสัปดาห์ละ 3 วัน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาประมาณหนึ่งในสามเสพสิ่งลามก อาทิ การ์ตูนวีดิทัศน์ เว็ปไซต์ลามกเป็นประจำ รวมทั้งปัญหาการเสพสื่อรุนแรง ซึ่งมีผลต่อทัศนคติทางเพศและความรุนแรง อีกทั้งเยาวชนประมาณหนึ่งในสองไม่เคยทำบุญตักบาตร และมากกว่าครึ่งไม่เคยฟังเทศน์
1.5 วัยทำงาน ปัญหาที่พบมากในคนวัยทำงาน ก็คือ การใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัว ประสบปัญหาหนี้สิน ขาดที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม รวมทั้งปัญหาหารติดอบายมุขและสิ่งเสพติด ประชาชนจำนวนมากประสบกับปัญหาหนี้สิน ซึ่งมีทั้งหนี้สินในระบบและหนี้สินนอกระบบ นอกจากนี้ยังประสบกับปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและปัญหาที่ดินทำกิน อย่างไรก็ตามปัญหาของคนวัยทำงาน ได้แก่ 1.5.1 ปัญหาความมั่นคงของครอบครัวไทย พบว่าพ่อแม่รู้สึกห่างเหินลูก เนื่องจากต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัว นอกจากนี้ยังมีปัญหาการหย่าร้าง การใช้ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาทางจิต โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในสถานพินิจประมาณมากกว่าครึ่ง มีภูมิหลังมาจากครอบครัวแตกแยก
1.5.2 ปัญหาครอบครัวขาดความอบอุ่น ครอบครัวไทยขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสมาชิก ทั้งเด็กและผู้สูงอายุ ทำให้สัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัวลดลง โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจเมื่อ พ.ศ. 2540 และลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2544 - 2545 ทั้งนี้ปัญหาขาดการดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ไม่มีเวลาให้กันเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของครอบครัวไทย รองลงมาคือปัญหาความรุนแรงและการทะเลาะวิวาทในครอบครัว นอกจากนี้ครอบครัวในสังคมไทยก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ มีความอยู่ดีมีสุขในชีวิตเป็นอันมาก แต่ในช่วงเกิดวิกฤตความอยู่ดีมีสุขได้ลดลงมาก และยังลดลงอย่างต่อเนื่อง
1.5.3 ปัญหาด้านแรงงาน พบว่าแรงงานนอกระบบ เช่น หญิงบริการ คนขับรถแท็กซี่ จักรยานยนต์รับจ้าง ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ยังไม่ได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันสังคม
1.5.4 ปัญหาเกษตรกรขาดความมั่นคงทางรายได้และปัญหาภัยแล้ง ที่เป็นปัญหาใหญ่ของเกษตรกรไทย โดยสาเหตุหนึ่งเกิดจากฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้เกษตรกรในจังหวัดต่างๆ ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
1.6 ผู้สูงอายุ ปัญหาที่ผู้สูงอายุประสบในขณะนี้ก็คือ การขาดแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม ในขณะที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จบการศึกษาเพียงแค่ระดับประถมศึกษา และมีการออกกำลังน้อย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ และในปัจจุบันผู้สูงอายุที่ถูกลูกหลานทอดทิ้งไม่เลี้ยงดูมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งอาจสืบเนื่องมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจ และโครงสร้างของสถาบันครอบครัวมีแนวโน้มเป็นครอบครัวเดี่ยว บุตรหลานเมื่อแต่งงานแล้วก็จะมีแนวโน้มแยกครอบครัวออกมาอยู่ต่างหาก บทบาทหน้าที่ของปู่ยาตายายที่เคยเลี้ยงดูหรือดูลูกหลานก็ลดน้อย ถูกสถาบันอื่นแย่งทำหน้าที่ เช่น สถาบันนันทนาการ ทีวี โรงภาพยนต์ ร้านเกมส์ บริษัท หรือธุระกิจรับเลี้ยงเด็ก จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างปู่ย่าตายายกับลูกหลานไม่ค่อยสนิทคุ้นเคยแนบแน่น ผู้สูงอายุถูกลดความสำคัญลงไปจากครอบครัวและสังคม
1.7 ผู้พิการในสังคมไทย ปัจจุบันมีผู้พิการที่ยังขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เหมาะสม ขณะที่การให้ความช่วยเหลือของรัฐบาลก็ยังไม่เหมาะสมเพียงพอ รวมทั้งปัญหาที่ผู้พิการขาดโอกาส ความเสมอภาคในการประกอบอาชีพ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
2. ปัญหาสุขภาวะของประชาชนไทย ปัจจุบันคนไทยมีความเสี่ยงภัยด้านสุขภาวะสูงระมาณ 1 ใน 3 ของคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการไม่ออกกำลังกาย โดยให้เหตุผลว่าต้องทำงานหรือไม่มีเวลา เด็กในวัยเรียนประสบปัญหาโรคอ้วน ส่วนหนึ่งเกิดจากการนิยมรับประทานอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดหรืออาหารขยะ คนไทยในยุคโลกาภิวัฒน์ต้องเสี่ยงภัยจากอุบัติภัย และโรคติดต่อในรูปแบบใหม่ๆ ที่ร้ายแรง รวมทั้งขาดความคุ้มครองความมั่นคงทางสังคมที่เหมาะสม เช่น ปัญหาการข่มขืน โดยสถิติคดีข่มขืนที่รับแจ้งมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากอดีตมาก คนไทยประสบปัญหาจากภัยธรรมชาติที่ไม่เคยมีมาก่อนในช่วง พ.ศ. 2547 ก็คือภัยพิบัติสึนามิ มีจำนวนผู้เสียชีวิต 2,059 ราย สูญหาย 1,921 ราย หมู่บ้านได้รับความเสียหาย 407 หมู่บ้าน และหลังจากนั้นประเทศไทยก็ยังคงประสบกับภาวะอุทกภัยและแผ่นดินไหวอยู่เนืองๆ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังต้องประสบกับปัญหาอันตรายจากสารเคมี เนื่องจากมีการนำเข้าสารเคมีที่ใช้ในด้านเกษตรกร เช่น ยาปราบสัตรูพืชหรือสารเคมีอันตรายอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาขยะพิษรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้น เช่น ขยะจากแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ
3. ปัญหาความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิของประชาชนกลุ่มต่างๆ ประชาชนไทยส่วนใหญ่ไม่รับรู้และตระหนักถึงสิทธิ รวมทั้งไม่ได้รับการคุ้มครองและให้บริการตามสิทธิที่พึงมีจากหน่วยงานของรัฐ ปัญหาที่พบมากก็คือประชาชนยังขาดความรู้ ขาดทุนทรัพย์ ในการเรียกร้องและพิทักษ์สิทธิในเบื้องต้น พบว่าจำนวนผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล และได้รับการพิจารณาช่วยเหลือจ่ายเงินเบื้องต้นใน พ.ศ. 2548 มีจำนวนรวม 5,259 ราย เป็นเรื่องบ้าน อาคาร ที่ดิน จำนวน 1,747 ราย เรื่องสินค้าและบริการ 2,956 ราย ส่วนการได้รับสิทธิทางการศึกษานั้น พบว่าสัดส่วนของผู้ได้เรียนต่อประชากรในทุกระดับการศึกษาใน พ.ศ. 2522 เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2550 - 2551 เล็กน้อย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพิ่มจากร้อยละ 79.89 เป็นร้อยละ 81.29 ของประชากรวัยเรียน 4. ปัญหาค่านิยมและการทำงานอาสาสมัคร สถานการณ์ของปัญหาที่ประสบในขณะนี้ก็คือ คนไทยเข้ามามีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครปริมาณที่มากพอสมควร แต่ขาดการจัดเก็บข้อมูลอาสาสมัครที่เป็นระบบ ขาดระบบการจัดการงานอาสาสมัครทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต รวมทั้งขาดการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามาเป็นอาสาสมัครอย่างจริงจัง ขาดการจูงใจและการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร รวมทั้งอาสาสมัครยังไม่ได้รับการดูแลด้านสวัสดิการอย่างเหมาะสม เช่น กรณีเมื่อประสบภัยจากการปฏิบัติหน้าที่ 5. ปัญหาระบบและคุณภาพงานสวัสดิการสังคม ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ขาดความเข้าใจในอุดมการณ์ หลักการ และประเภทของงานสวัสดิการที่ถูกต้อง ขาดข้อมูลในการเข้าถึงระบบสวัสดีการสังคมของรัฐ เอกชน และชุมชน ขาดการนำภูมิปัญญาที่มีอยู่ในสังคม มาใช้ประโยชน์ในการในการจัดสวัสดิการสังคม รวมทั้งขาดมาตรฐานและหลักเกณฑ์การทำงานวิชาชีพ ด้านสังคมสงเคราะห์ และบุคลากรในระบบสวัสดิการขาดแรงจูงใจที่เหมาะสม กลไกการจัดสวัสดิการของสังคมในระดับประเทศ ขาดความเชื่อมโยงอย่างเป็นเอกภาพการบริหารจัดการ การกระจายทรัพยากรพื่อการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศ มีความซ้ำซ้อนและมีลักษณะต่างคนต่างทำ จึงจำเป็นต้องมีพัฒนากลไกบริหารงานสวัสดิการสังคมของประเทศไทยอย่างเร่งด่วน ข้อมูลข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหาด้านสังคมด้านต่างๆ และต้องการมาตรการ ในการป้องกันแก้ใขปัญหาเหล่านี้อย่างเร่งด่วน นอกจากนี้มาตรการต่างๆ ยังต้องมีลักษณะที่เบ็ดเสร็จและสมบูรณ์ในตัวเอง เพราะปัญหาเหล่านี้ความเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก ทั้งในลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผลและเป็นปัจจัยเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน 6. การทุจริตและประพฤติมิชอบ การทุจริตและประพฤติมิชอบหรือการฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "คอร์รัปชั่น" ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานานแล้ว อีกทั้งวัฒนธรรมอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึก ยังคงเป็นอุปสรรคขัดขวางการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย ประกอบกับการขาดคุณภาพและจิตสำนึกสาธารณะ จึงทำให้ไม่สามารถแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวออกจาก ผลประโยชน์สาธารณะ ก่อให้เกิดปัญหาที่ไม่เป็นธรรมและการทุจริตประพฤติมิชอบที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในการเลือกตั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น มีการประมูลซื้อขายกันในเรื่องของตำแหน่งหน้าที่การงาน นอกจากนั้นยังมีการสมยอมคบคิดกันในการประกวดราคาก่อสร้าง และการซื้อพัสดุของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ มีการวิ่งเต้นที่จะให้ได้มาซึ่งตำแหน่งหน้าที่สูงกว่าผู้ร่วมงาน มีการยักยอกเงินราชการลับ และมีการหลบหลีกการเสียภาษีที่ควรจะชำระตามกฎหมาย ตัวอย่างของทุจริตและประพฤติชอบดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งในด้านการเมืองและบริหาร ด้านเศรฐกิจ และด้านสังคมจิตวิทยา
สาเหตุของปัญหาทางสังคมที่กล่าวมา มีแนวทางการแก้ปัญหา ดังนี้ 1. ปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม การเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยว ส่งผลให้เยาวชนขาดความอบอุ่นจากครอบครัว เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาทางสังคมดังกล่าว ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันผลักดันให้ครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนา และสถาบันการศึกษา ร่วมกันพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงาม เป็นคนดี ห่างไกลอบายมุขและยาเสพติด มีภาวะผู้นำ อุทิศตนเพื่อส่วนรวม และมีบทบาทดูแล ตักเตือน เฝ้าระวังความประพฤติฉันเครือญาติ รวมทั้งสืบค้นคนดีในสังคม เชิดชูให้เป็นแบบอย่างที่ดีในทุกระดับ รวมทั้งปลูกฝังทัศนคติและการเรียนรู้ในการทำประโยชน์เพื่อส่วมรวม เปิดโอกาสให้คนทุกวัยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน มีส่วนร่วมเรียนรู้ทำงานร่วมกันประสานประโยชน์ เช่น กิจกรรมอาสาสมัครเพื่อสาธารณประโยชน์ การดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมลูกเสือเนตรนารี และกิจกรรมสหกรณ์
2. ปัญหาจากสิ่งแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาทางสังคมดังที่กล่าวมาแล้วนั้น แนวทางการแก้ปัญหาทางสังคมดังกล่าว ควรนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว โดยจะต้องมีความรู้และมีคุณธรรมในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น เยาวชนควรมีความภาคภูมิใจในภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติและควรพูดให้ถูกต้องชัดเจน สำหรับการแต่งกายนั้นควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เหมาะสมกับวัยและสถานที่ เพราะหากแต่งกายด้วยชุดที่ไม่เหมาะสมอาจได้รับอันตรายจากผู้ไม่หวังดีได้ ส่วนพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรหรือก่อนแต่งงาน หรืออยู่ด้วยกันโดยไม่แต่งงานนั้น ควรมีการป้องกันหรือคุมกำเนิด เพื่อมิให้เกิดความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ สำหรับคนที่รักเพศเดียวกัน แม้ว่าองค์การอนามัยโลกและกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้รับรองว่ามิได้เป็นผู้มีความผิดปกติทางจิตหรือป่วยเป็นโรคแต่อย่างใด แต่พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์และการแสดงออกทางเพศดังที่กล่าวมานั้น สังคมไทยในปัจจุบันยังไม่ยอมรับ กล่าวคือ คนไทยอายุ 13 ขึ้นไปมีถึงร้อยละ 83.2 รับไม่ได้กับพฤติกรรมดังกล่าว ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดจากสภาวะเศรษฐกิจ เช่น การใช้จ่ายฟุ่มเฟือยนั้นเยาวชนควรลดการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยลง และให้ความสำคัญกับการออมให้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันพบว่าคนไทยมีการออมถึงร้อยละ 84.5 เนื่องจากการออมจะสร้างหลักประกันให้กับชีวิต และสร้างอนาคตที่มั่นคงทางด้านการเงินให้แก่ตนเองและครอบครัวได้
3. ปัญหาจากการจัดระเบียบสังคมที่ไม่มีประสิทธิภาพ ปัญหาทางสังคมที่เกิดจากการจัดระเบียบสังคมที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น เจ้าหน้าที่ไม่เข้มงวดปล่อยปละละเลยให้มีแหล่งอบายมุข สถานบันเทิงเริงรมย์ต่างๆ หรือมีการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย แนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัด โดยจะต้องดำเนินมาตรการจัดระเบียบสังคมในสถานที่ต่างๆ 6 ประเภท ได้แก่ สถานบันเทิง หอพัก ร้านเกมและร้านอินเทอร์เน็ต สวนสาธารณะที่เป็นแหล่งมั่วสุม ร้านค้าแอบแฝงจำหน่ายยาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมาย กลุ่มแข่งรถมอเตอร์ไซด์ซิ่งผิดกฎหมาย สำหรับกรณีของเยาวชน การกำหนดให้นักเรียนและนักศึกษาต้องประพฤติตนสุภาพเรียบร้อย ถือได้ว่าเป็นการจัดระเบียบนักเรียนนักศึกษา กล่าวคือ จะต้องไม่ประพฤติตนฝ่าฝืนกฎกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนนักศึกษา พ.ศ. 2548 ได้แก่ ไม่หนีเรียนหรือออกนอกสถานศึกษาโดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วงเวลาเรียน ไม่เล่นการพนัน จัดให้มีการเล่นการพนันหรือมั่วสุมในวงการพนัน ไม่พกพาอาวุธหรือวัตถุระเบิด ไม่ซื้อ จำหน่าย แลกเปลี่ยน เสพสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งมึนเมา บุหรี่ หรือยาเสพติด ไม่ลักทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ ข่มขู่ หรือบังคับขืนใจเพื่อเอาทรัพย์บุคคลอื่น ไม่ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายผู้อื่น เตรียมการหรือกระทำการใดๆ อันน่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย หรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่แสดงพฤติกรรมทางชู้สาวซึ่งไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ ไม่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณี และไม่ออกนอกสถานที่พักเวลากลางคืนเพื่อเที่ยวเตร่ หรือรวมกลุ่มอันเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น หากฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษ 4 สถาน ได้แก่ ว่ากล่าวตักเตือน ทำทัณฑ์บน ตัดคะแนนความประพฤติ และจัดทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ความหมายของการพัฒนาสังคม คาห์น เค บี (Kahn,K.B) กล่าวถึง การพัฒนาว่าเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งขององค์การที่จะต้องรับผิดชอบ โดยมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลง ซึ่งการดำเนินงานนั้นจะมีแนวคิดและขั้นตอน ตลอดจนวัฏจักรที่พัฒนาไปจากครั้งแรก คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ นิยามคำว่า การพัฒนาสังคม (social developmemt) คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และวัฒนธรรม ให้ไปสู้สภาวะที่ดีกว่า เพื่อให้เกิดความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคม ซึ่งต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ คุณภาพ และระบบ บนพื้นฐานการคำนึงถึงศักดิ์สรีความเป็นมนุษย์ สัญญา สัญญาวิวัฒน์ อธิบายว่า การพัฒนาสังคมคือการเปลี่ยนแปลง ตามแผนของโครงสร้างสังคม โดยการเปลี่ยนแปลงตามแผน (planned chang) ก็คือการพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม โดยมีโครงการที่จะดำเนินการที่มีรายละเอียดในเรื่องเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ เวลาเริ่มต้น เวลาสิ้นสุดโครงการ แหล่งทุน สถานที่พัฒนา และผู้ร่วมโครงการ แผนของสังคม กล่าวคือ การพัฒนาต้องเปลี่ยนแปลงตามที่ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงกำหนด และสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคม ซึ่งประกอบด้วย คน ระเบียบสังคม และวัตถุสิ่งของ ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา อนามัย การศึกษาหรือไม่ก็ตาม การพัฒนาสังคมของประเทศไทย 1. วิวัฒนาการการพัฒนาสังคมของประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคม นับตั้งแต่จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ก่อให้ตั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "สภาพัฒน์" หรือ "สภาพัฒนาฯ" ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2493 โดยระยะแรกใช้ชื่อว่า "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" มีหน้าที่เสนอความเห็นและคำแนะนำ ตลอดจนข้อชี้แจงต่อรัฐบาลในเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2500 คณะผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลกร่วมกับจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ได้ดำเนินการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและจัดทำรายงาน โดยเสนอแนะให้ปรับเปลี่ยนและเพิ่มบทบาทหน้าที่ของ "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" และให้จัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อทำหน้าที่วางแผนพัฒนาประเทศขึ้นเป็นการเฉพาะ และเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ปรับโครงสร้างการทำงานและเปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ" รวมทั้งได้จัดทำ "แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ" ฉบับแรกขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา จนถึง พ.ศ. 2515 จึงมีการนำกระบวนการวางแผนพัฒนาสังคมเข้ามาใช้ ควบคู่กับการวางแผนพัฒนาเสราฐกิจอย่างจริงจัง และเปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น "สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" ภายใต้สังกัดสำนักงานนายกรัฐมนตรีมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 - 7 มุ่งเน้น "การเร่งรัดพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ" เป็นหลัก และเป็นการพัฒนาแบบแยกส่วน โดยเน้นการพัมนาสังคมและการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค เมื่อสิ้นสุดแผนจึงได้ข้อสรุปว่า "เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน" และเมื่อมีการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จึงปรับเปลี่ยนแนวคิด ทิศทาง และกระบวนการพัฒนาใหม่ โดยเน้น "คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา" และใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเปลี่ยนวิธีการพัฒนาแบบแยกส่วนมาเป็นบูรณาการแบบองค์รวม คือ การพัฒนาที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีลักษณะเป็นแผนชี้นำทิศทางการพัฒนาประเทศ ต่อมาแผนพัฒนาฉบับที่ 9 และ 10 ได้อัญเชิญ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ แต่ยังเน้นการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี "คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา" ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เพื่อเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้มีความสามารถปรับตัว พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงและรู้เท่าทันโลกโลกาภิวัฒน์ และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ทุกภาคส่วนของประเทศ เพื่อมุ่งสู่ "สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน" อย่างยั่งยืน 2. การพัฒนาสังคมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแต่ละฉบับ ที่มีใช้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนทั้งวิธีการและสาระสำคัญ ในการพัฒนาสังคมตามสถานการณ์ในแต่ละยุคสมัย สรุปได้ดังนี้ 1. แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 - 2509) มุ่งพัฒนาประเทศภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี" ซึ่งเป็นแผนพัฒนาฯฉบับเดียวที่มีระยะเวลาครอบคลุม 6 ปี โดยเน้นด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ มีการลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเป็นอันมาก อาทิ ถนน ท่าเรือ เขื่อนอเนกประสงค์ โรงไฟฟ้า ฯลฯ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน และเพิ่มผลผลิตทางสาขาเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว 2. แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 - 2514) มุ่งพัฒนาประเทศภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า "กระจายโครงสร้างพื้นฐานสู่ชนบท" โดยมุ่งเน้นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการกระจายการพัฒนาไปทั่วประเทศ โดยเฉพาะเขตทุรกันดารและห่างไกลความเจริญ เพื่อให้คนไทยในชนบทมีฐานะที่ดีขึ้น โดยมีโครงการพิเศษ เช่น โครงการพัฒนาภาค โครงการเร่งรัดพัฒนาชนบท และโครงการช่วยเหลือชาวนา โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคม โดยเพิ่มคำว่า "สังคม" ในแผนพัฒนาฯ 3. แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 - 2519) มุ่งพัฒนาประเทศภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า "จากเศรษฐกิจสู่การพัฒนาสังคม" เพื่อมุ่งลดความแตกต่างของรายได้และบริการสังคม โดยเน้นการดำเนินงานแนวใหม่ 3 ด้าน คือ ลดอัตราการเพิ่มของประชากร กระจายบริการด้านเศรษฐกิจและสังคม และสร้างโอกาสและขีดความสามารถของประชาชน ให้ได้รับประโยชน์จากบริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น โดยเร่งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และขยายขีดความสามารถทางการผลิตให้สูงขึ้น โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับคนในชนบท พร้อมทั้งส่งเสริมการส่งออกและปรับปรุงโครงสร้างการนำเข้า เพื่อรักษาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศให้มั่นคง 4. แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - 2524) มุ่งพัฒนาประเทศภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า "กระจายความเจริญสู่ชนบท" เนื่องจากการพัฒนาที่ผ่านมาเน้นเฉพาะในส่วนกลางและเกิดภาวะเงินเฟ้อ การว่างงาน ความเหลื่อมล้ำทางรายได้และสังคมและความรู้ เสถียรภาพทางการเมือง (หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 และ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519) โดยเน้นการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค 2 แนวทาง คือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยขยายการผลิตด้านการเกษตร และปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อขยายการส่งออก การกระจายรายได้ และการมีงานทำในภูมิภาค โดยเน้นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและเร่งรัดการส่งออก รวมทั้งเร่งการบูรณะและปรับปรุงการบริหารทรัพยาการหลักของชาติ ทั้งดิน แหล่งน้ำ ป่าไม้ และเหมืองแร่ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ 5. แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 - 2529) มุ่งพัฒนาประเทศภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า "ยึดพื้นที่ในการพัฒนาทั้งรุกและรับ" เนื่องจากชาวชนบทมีปัญหาความยากจนในระดับสูง แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 จึงปรับแนวทางการพัฒนาประเทศ "แนวใหม่" ให้มีลักษณะเป็นแผนนโยบายที่ "ยึดพื้นที่" เช่น พื้นที่เป้าหมายเพื่อการพัฒนาชนบท พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก และพื้นที่เมืองหลัก โดยเน้นการแก้ปัญหาความยากจนในชนบทล้าหลังในภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้ชาวชนบทพออยู่พอกินและช่วยเหลือตัวเองได้ในที่สุด เน้นความสมดุลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ระดมความร่วมมือจากภาคเอกชนให้เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ และปฏิรูประบบการบริหารงานพัฒนาของรัฐทุกภาคส่วน 6. แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 - 2534) มุ่งพัฒนาประเทศภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า "ผลักดันความเจริญสู่ภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง" โดยการเพิ่มประสิทิภาพในการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนปรับปรุงระบบการบริหารและจัดการ โดยยึดหลักการทำงานอย่างเป็นระบบครบวงจร ปรับปรุงระบบการผลิต การตลาด และยกระดับคุณภาพปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อลดต้นทุนและเน้นกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบทมากขึ้น เพื่อสร้างความเป็นธรรม 7. แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539) มุ่งพัฒนาประเทศภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า "เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม" โดยเน้นการรักษาการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและมีเสถียรภาพ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและปรับโครงสร้างการผลิตด้านการเกษตร เน้นให้เอกชนเป็นแกนนำในการพัฒนาอุตสาหกรรม และการลงทุนจากต่างประเทศโดยภาครัฐเป็นผู้สนันสนุน รวมทั้งการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บริการพื้นฐาน และการจัดหาพลังงาน การกระจายรายได้และการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบทให้กว้างยิ่งขึ้น โดยการยกระดับรายได้ของเกษตรกร เสริมสร้างศักยภาพของจังหวัดที่จะเป็นศูนย์กลางกระจายอุตสาหกรรมในภูมิภาคต่างๆ และกระจายอำนาจการบริหารงานพัฒนาไปสู่ส่วนภุมิภาคและท้องถิ่น ตลอดจนเร่งรัดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ โดยกระจายโอกาสและปรับปรุงคุณภาพการศึกษา การสาธารณสุข พัฒนาจิตใจ วัฒนธรรมและสังคม เพื่อให้ประชาชนปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลง และผนึกกำลังภาคส่วนต่างๆ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา 8. แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) มุ่งพัฒนาประเทศภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า "ก้าวสู่กระบวนทรรศน์ใหม่ในการพัฒนาประเทศ" เนื่องจากผลการพัฒนาที่ผ่านมาสรุปได้ว่า "เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน" แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จึงปรับแนวคิดใหม่จากเดิมที่เน้นการพัฒนา "เศรษฐกิจ" มาเน้นการพัฒนา "คน" โดยให้ "คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา" โดยเน้นพัฒนาศักยภาพของคน และพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคน 9. แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) มุ่งพัฒนาประเทศภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า "อัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำทางการพัฒนา" ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่ยึด "คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา" โดยมุ่งการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาสู่ "สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ" ใน 3 ด้าน คือ สังคม คุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และสังคมที่สมานฉันท์และอื้ออาทรต่อกัน 10. แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554) มุ่งพัฒนาประเทศภายใต้แนวคิดที่เรียกว่า "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน" โดยกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาสู่ "สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน" โดยใช้แนวปฏิบัติตาม "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ครอบครัว สังคม ชุมชน และประเทศชาติ มีการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึด "คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา" เน้นการทำ "ทุนสังคม ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทุนเศรษฐกิจ" มาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน โดยใช้ 5 ยุทธศาสตร์หลักเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของคนไทยและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่งคงของประเทศ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสร้างธรรมภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของ "สิทธิมนุษยชน" ว่า หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ที่ได้การรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยที่พ้นกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม จากการใช้ความรุนแรงในรูปแบบและวิธีการต่างๆ ในอดีต เช่น การล้างเผ่าพันธุ์การทำสงครามเพื่อศาสนา การฆ่าล้างเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง การทำสงครามระหว่างประเทศและสงครามโลก ตลอดจนการใช้ความรุนแรงจากปัจเจกชน เช่น การค้ามนุษย์ การค้าประเวณี การทำร้ายสตรี เป็นต้น ได้นำมาซึ่งความหวาดกลัวของผู้คน ทำให้ต้องอพยพหลบหนีหรือตอบโต้ด้วยวิธีที่รุนแรง ซึ่งจากสาเหตุดังกล่าว ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านการกระทำที่ถือว่าข่มเหงย่ำยีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และเรียกร้องให้มีการปฏิบัติต่อกันในฐานะที่ทุกคนเป็นมนุษย์ด้วยกันอย่างเสมอภาค ไม่ควรมีการแบ่งแยกไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างของเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ภาษา สีผิว เพศ วัย และวัฒนธรรม หรือสิทธิอื่นใด นอกจากนี้การเรียกร้องให้มีการปฏิบัติอย่างเสมอภาค และยังได้ร่วมแสดงเจตจำนงในการกำหนดหลักเกณฑ์ความสัมพันธ์มนุษย์ ที่เรียกว่า "สิทธิมนุษยชน" ขึ้น ซึ่งเรื่องสิทธิมนุษยชนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง และมีการกล่าวอย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อสหประชาชาติได้รับได้ประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้เกิดผลอย่างจริงจัง และใช้เป็นมาตรฐานสำหรับประเทศสมาชิก ที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้เกิดผลภายในประเทศของตน แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นแนวคิดของชาวตะวันตกที่มีมาตั้งแต่สมัยกรีกและโรมัน เป็นแนวคิดที่ต้องการจำกัดอำนาจของรัฐ เนื่องจากสมัยโบราณนั้นยังไม่มีการกำหนดขอบเขตอำนาจของรัฐในการบริหารประเทศ ผู้ปกครองรัฐมักจะมีอำนาจที่จะกระทำอะไรก็ได้ตามที่เห็นสมควร จึงทำให้เกิดการขี่ข่มแหงและละเมิดสิทธิของประชาชน สร้างความเดือดร้อนและความทุกข์ยากกับประชาชนอยู่เนืองๆ จากเหตุผลดังกล่าวจึงเกิดแนวคิดที่จะหาหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิของประชาชน ไม่ให้ถูกละเมิดโดยอำนาจของรัฐแนวคิดดังกล่าว ได้แก่ 1. แนวคิดกฎหมายตามธรรมชาติ (Natural Law) เป็นแนวคิดที่อ้างว่าเป็นกฎหมายที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มีเองโดยที่มนุษย์โดยไม่ได้ทำขึ้น เป็นกฎหมายที่ใช้ได้โดยไม่จำกัดเวลา ใช้ได้ทุกหนทุกแห่งไม่จำกัดว่าต้องใช้ในรัฐแห่งหนึ่ง และอยู่เหนือกฎหมายของรัฐ คือ รัฐจะออกกฎหมายที่ขัดหรือแย้งกับกฎธรรมชาติหรือย่ำยีสิทธิกล่าวไม่ได้ ดังนั้นแนวคิดกฎหมายตามธรรมชาติ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงหลักแห่งความเป็นธรรม ความยุติธรรม และความถูกต้องนั่นเอง 2. แนวคิดสิทธิตามธรรมชาติ (Natural Rights) เป็นแนวคิดที่ถือว่ามนุษย์เกิดมาเท่าเทียมกัน โดยมนุษย์ถูกสร้างมาพร้อมกับสิทธิบางอย่าง ซึ่งเป็นสิทธิที่ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้ และไม่มีใครจะล่วงละเมิดได้ ได้แก่ สิทธิในชีวิต สิทธิและเสรีภาพในการแสวงหาความสุข และรัฐจะต้องกระทำทุกอย่างเพื่อให้มนุษย์มีสิทธิเหล่านี้อย่างเต็มที่ วิธีการเช่นนี้ทำให้มนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์โลกที่ใช้เหตุผลยอมรับว่าเป็นหลักการที่ดี และชื่อว่าจะให้มนุษย์อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข อย่างไรก็ตาม แนวคิดในเรื่องกฎหมายตามธรรมชาติและสิทธิตามธรรมชาตินั้น ไม่ได้มีเฉพาะในประเทศตะวันตกเท่านั้น หากแต่ยังมีแนวคิดของทางตะวันออก ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณเช่นกัน เช่น ในพระพุทธศาสนาจะเห็นว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงสอนมนุษย์ทุกคน ให้เคารพกันในเรื่องสิทธิมนุษยชน เช่น การเลิกชั้นวรรณะ การเลิกทาส เป็นต้น แต่ขณะเดียวกันก็มีนักปราชญ์จำนวนไม่น้อยที่มีความขัดแย้งในเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ดีทางวิชาการก็ถือว่าแนวคิดทั้งสอง เป็นหลักการที่สำคัญที่มุ่งถ่วงดุลการใช้อำนาจของรัฐ และต้องการให้มีการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ให้ดีที่สุด จากแนวคิดดังกล่าวได้เป็นจุดเริ่มต้นในการต่อสู้เรียกร้องให้รัฐจำกัดอำนาจของตน และจัดทำสาส์นรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเป็นทางการ และวิวัฒนาการสู่การจัดทำปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษย์ของสหประชาชาติในเวลาต่อมา หลักสิทธิมนุษยชนโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 หลัก ดังนี้ 1. สิทธิอันพึงได้ของมนุษย์ซึ่งเป็นสากล หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาย่อมมีสิทธิอันจำเป็นที่มนุษย์พึงมี เพื่อให้ดำเนินชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี กล่าวคือไม่ได้หมายถึงเพียงแต่การมีชีวิตหรือการดำรงชีพเท่านั้น ต้องมีสิทธิในปัจจัยที่เป็นแนวทางการในการพัฒนาสังคมอย่างเต็มที่ ได้แก่ การได้รับทุนการศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทรัพยากร และการมีส่วนร่วมทางการเมือง เช่น เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เหตุการณ์ตุลาคม พ.ศ. 2519 และ 17 - 20 พ.ศ. 2535 ถือว่าเป็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษย์ชนในสังคมไทย เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการชุมนุมของนักศึกษาและประชาชนอย่างสงบ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญ ซึ่งเหตุการณ์ทั้ง 3 กรณี ประชาชนได้ถูกปราบปรามด้วยวิธีที่รุนแรงและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปราบปราม จึงเป็นที่ต่อต้านของการกระทำดังกล่าวว่า เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุและละเมิดสิทธิมนุษย์ชนสังคมไทย ซึ่งน่าจะมีการระงับเหตุที่ประนีประนอมกันมากกว่านี้ หรือกรณีรัฐบาลตาลีบันในประเทศอัฟกานิสถาน กีดกันผู้หญิงด้านการศึกษาและไม่ให้ผู้หญิงขึ้นมามีอำนาจทางการเมือง นอกจากนี้ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษย์ที่เกี่ยวกับเชื้อชาติ สีผิว ในกรณีที่มีการกีดกันคนผิวดำเข้าร่วมกิจกรรมประเพณีต่างๆ ภายในประเทศ เช่น ในประเทศโคลัมเบียมีการกีดกันรูปแบบให้คนผิวดำเป็นชนกลุ่มน้อย ซึ่งคนผิวดำที่สามารถเข้าร่วมสโมสรหรือร้านอาหารได้นั้นคือ ประกอบอาชีพเสริมอาหาร เป็นต้น 2. กระบวนการเพื่อประกันสิทธิอันพึงมีพึงได้ ในประเด็นนี้อาจไม่เป็นหลักสากล เพราะกระบวนการประกันสิทธิมนุษย์ชนแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม ซึ่งต่างมีจุดหมายเดียวกันคือ การให้หลักประกันว่ามนุษย์จะได้รับสิทธ์มนุษย์ชนครบถ้วน เช่น หลักสิทธิมนุษย์ชนที่เป็นสากล ได้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญาย่อมได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรมตามกฎหมาย กระบวนการที่จะประกันว่าผู้ต้องหาจะได้รับความเป็นธรรมนั้นมีหลายอย่าง เช่น การพิสูจน์ความผิดของฝ่ายโจทก์ ผู้ต้องหามีสิทธิในการตั้งทนายต่อสู้คดีความ และการพิจารณาคดีย่อมไม่เป็นความลับ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นการบังคับให้รัฐต้องมีความยุติธรรม และเคารพต่อสิทธิมนุษยชนของจำเลยโดยปริยาย หากกระบวนการเกิดความไม่ยุติธรรม ก็ควรจะมีองค์กรเอกชนดูแล และรายงานแกสาธารณชนได้รับรู้การล่วงละเมิด และเพื่อร่วมมือกันให้กระบวนการประกันสิทธิมนุษยชนเป็นไปอย่างได้ผลจริงจัง แต่ปัญหามีอยู่ว่า การร่วมมือและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนแบบใด จึงจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐาน โดยปราศจากความแตกต่างอันสืบเนื่องมาจากภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บรรดาประเทศสมาชิกสหประชาชาติต่างประกาศจะร่วมมือกันส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ซึ่งในขณะนั้นการตีความหมายของสิทธิมนุษยชนยังคลุมเครือ เช่น สิทธิมนุษยชนของประเทศอังกฤษนั้นหมายถึงหลักนิติธรรม ในประเทศฝรั่งเศส จะหมายถึงสิทธิทางสังคม และในประเทศรัฐเชียจะหมายถึงสิทธิของชนชั้นกรรมาชีพ ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะหมายถึงการมีเสรีภาพ 4 ประการ คือ ทางความคิด ทางศาสนา จากความกลัว และความขาดแคลน ส่วนประเทศอื่นๆ ยังไม่เข้าใจความหมายสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้สหประชาชาติจึงมีภาระกิจเร่งด่วนคือ ต้องทำความหมายของสิทธิมนุษยชน ดังนั้นจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการส่งตราสารสิทธิมนุษยชน เพื่อบัญญัติความหมายให้สั้นกระชับชัดเจน ง่ายต่อการแสดงออกเพื่อเข้าใจตรงกัน และเป็นที่ยอมรับของทุกประเทศ ซึ่งคณะกรรมการได้ร่างปฏิญญาเสร็จและสมัชชาสหประชาชาติ มีมติรับรองโดยเอกฉันท์วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 จึงเริ่มมีการปฏิบัติในกระบวนการ เพื่อประกันสิทธิให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันทั่วโลก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เป็นหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประเทศสมาชิกสหประชาชาติ เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อพลเมืองและผู้อาศัยในประเทศตน ให้เกิดผลและมีประสิทธิภาพ แม้ปฏิญญานี้จะไม่มีผลผูกพันในลักษณะกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ทุกประเทศต้องปฏิบัติตาม แต่ประเทศต่างๆ ที่ให้การรับรองก็ถือเป็นพันธกรณี ที่จะต้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของปฏิญญานี้ สิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลแห่งสหประชาชาติ มีข้อความในการคุ้มครองสิทธิความเป็นมนุษย์ไว้ 30 ข้อ แยกไว้เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทดังนี้ 1. สิทธิของพลเมืองและสิทธิการเมือง สาระสำคัญในเรื่องนี้คือ รัฐต้องเป็นหลักประกันในเรื่องสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน โดยไม่แทรกแซงสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชน ด้วยการออกกฏหมายรับรองสิทธิ์ให้มีผลบังคับใช้อย่างจริงจัง ส่วนสิทธิทางการเมืองได้ระบุให้ประชาชนมีสิทธิเข้าร่วมเป็นรัฐบาลได้ ทั้งทางการแต่งตั้งและจากการเลือกตั้งอย่างเสรี ซึ่งรัฐจะต้องให้สิทธิอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน 2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นสิทธิที่ก่อพันธะให้กับรัฐบาล ในการจัดสรรทรัพยากรวัฒนธรรมมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือ ทรัพยากรและนโยบายของรัฐในการสรรแก่บุคคลทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติกันบุคคลใดหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ความรู้เกี่ยวกับปฏิญญาสากลของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ มีความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมให้ประชาชน มีความรู้ความเข้าใจเห็นความสำคัญ และมีส่วนร่วมการคุ้มครองและการกระทำ การป้องกันการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในสังคมไทยและสังคมโลก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน ได้มีการบัญญัติที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับมาตรฐานสากลของสหประชาชาติ ที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสำคัญ ได้แก่ 1. การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่มีการพูดถึงกันมานานภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากสงครามได้ส่งผลให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากมายและรุนแรง ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้ประเทศต่างๆ ตระหนักถึงเรื่องนี้ จึงร้องเรียนให้สมาชิกขององค์กรสหประชาชาติทั้งหลาย ช่วยกันส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนดังกล่าว อย่างไรก็ตามสิทธิมนุษยชนนี้จะดูเป็นปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคสงครามเย็นที่สิทธิมนุษยชนได้ถูกละเมิดโดยฝ่ายอำนาจรัฐเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา ไม่เว้นแม้แต่ไทยแต่เมื่อสถานการณ์โลกคลี่คลาย ประกอบกับกระแสประชาธิปไตยกำลังเฟื่องฟูขึ้นมา จึงส่งผลให้กับเรื่องสิทธิมนุษยชนได้รับการเชิดชูขึ้นมาจริงจังอีกครั้งในปัจจุบัน ทั้งนี้จะเห็นได้จากการพูดถึงการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านต่างๆ นอกเหนือจากสิทธิทางการเมืองทั้งหลายที่ต่อสู้ทางการเมือง หลายประเทศยังถูกกระทำอยู่ เช่น สิทธิเด็ก สิทธิสตรี สิทธิคนพิการ สิทธิของผู้ป่วย เป็นต้น ที่สำคัญในประเทศตะวันตกบางประเทศถึงกับมีการจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนขึ้นมา เพื่อให้การปกป้องและคุ้มครองเรื่องนี้ เช่น ศาลสิทธิมนุษยชนของสหภาพยุโรป หรือศาลสิทธิมนุษยชนของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น อนึ่งเรื่องสิทธิมนุษยชนได้กลายเป็นเครื่องมือในการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น ประเทศตะวันตกมักจะกีดกันสินค้าจากประเทศที่กำลังพัฒนา โดยอาศัยข้ออ้างว่าสินค้าประเภทนั้นมีที่มาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นการใช้แรงงานเด็กหรือการขุดรีดแรงงานสตรี เป็นต้น การที่สังคมโลกได้หันมาสนใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน ก็ได้ส่งผลโดยตรงต่อการเมืองการปกครองของประเทศไทยเช่นกัน นั่นก็คือ ปัจจุบันคนไทยได้ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ทั้งนี้เห็นได้จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย สิ่งเหล่านี้ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากหลักการสากล แห่งสิทธิมนุษยชนขององค์กรสหประชาชาติ และกฎหมายระหว่าประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศมหาอำนาจตะวันตกได้รณรงค์ให้ทุกประเทศยอมรับและส่งเสริม โดยนำไปบัญญัติและบังคับใช้ภายในประเทศ เพื่อเป็นการให้ความสำคัญแก่เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นพิเศษ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้มีการบัญญัติให้ มีองค์กรที่ดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชน ดังนี้ 1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยตรง ทั้งนี้องค์ประกอบและหน้าที่ดังนี้ องค์ประกอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ได้แก่ 1) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประกอบด้วย กรรมการหนึ่งคนและกรรมการอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ต้องคำนึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย 2) ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งกรรมการและกรรมสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 3) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระดำรงตำแหน่งหกปี นับจากวันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน 1) ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตราการแก้ไขที่เหมาะสมกับต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำ หรือละเลยการกระทำดังการเพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการที่เสนอให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป 2) เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฏหมายหรือข้อบังคับต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 3) ส่งเสริมการศึกษา วิจัย และการเผยแพรึความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน 4) ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน และองค์กรอื่นใดด้านสิทธิมนุษยชน 5) จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศและเสนอต่อรัฐสภา 6) อำนาจหน้าที่อื่นตามหลัก นอกจากจะจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแล้ว ยังมีการจัดตั้งองค์กรอื่นมาทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน (ทางอ้อม) เพื่อเป็นหลักประกันต่อสิทธิและเสรีภาพต่อประชาชนอีก ได้แก่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง 2. ผู้ตรวจการแผ่นดินมีจำนวน 3 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามความแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับและนับถือของประชาชน มีความรอบรู้และประสบการณ์ในการบริหารแผ่นดิน รัฐวิสาหกิจ หรือกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสาธารณะและมีการซื่อสัตย์ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี มีอำนาจหน้าที่พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียน กรณีไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย การละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือข้าราชกาส่วนอื่น และการละเลยการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฏหมายตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรในกระบวนการยุติธรรม 3. ศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ 1 คน และศาลตุลาการ ศาลรัฐะรรมนูญอื่นอีก 8 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา มีบทบาทหน้าที่ในการวินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติ 4. ศาลปกครองประกอบด้วยคณะกรรมการตุลาการศาลการปกครอง มีประธานศาลสูงสุดเป็นประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน ซึ่งเป็นตุลาการในศาลปกครองด้วยกันเอง และกรรมการผู้ทรงคุรวุฒิซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา 2 คน และคณะรัฐมนตรีอีก 1 คน มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพากระหว่างหน่วยงานราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชนหรือระหว่างหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รับวิสาหกิจ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง องค์กรที่ดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทยมีหลายองค์กรที่สำคัญ ดังนี้ 1. องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ (The United Nations children's Found UNICEF) ก่อตั้งขึ้นเพื่อเมื่อ พ.ศ. 2489 เพื่อให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนแก่เด็กกำพร้าจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีชื่อแรกตั้งว่า "กองทุนฉุกเฉินแห่งเด็กสหประชาชาติ" (The United Nations -lnternational children's Emergency Found UNICEF) ต่อมาได้ขยายขอบเขตให้เป็นกองทุนที่ช่วยเหลือเด็กในประเทศกำลังพัฒนาในระยะยาว จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อใน พ.ศ. 2496 แต่ยังคงคำย่อไว้อย่างเดิมและยกฐานะเป็นองค์การหนึ่งของสหประชาชาติ กองทุนยูนิเซฟ เป็นองค์กรที่อุทิศการปฏิบัติงานเพื่อเด็ก มีวัตถุประสงค์ในการรณรงค์ให้รัฐบาลต่างๆ สนใจในสุขภาพ ความเป็นอยู่ และการเจริญเติบโตของเด็ก ปรับปรุงมาตราการและแนวทางปฏิบัติ เพื่อปกป้องชีวิต ให้ความคุ้มครองต่างๆ ที่เด็กพึงได้รับ สนับสนุนโครงการเพื่อการพัฒนาเด็กทั่วโลก นำข้อตกลงระดับสากลไปสู่ภาคปฏิบัติ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็กซึ่งระบุถึงสิทธิที่เด็กพึงได้รับอย่างเท่าเทียม คือ สิทธิจะได้รับอาหาร ที่อยุ่อาศัย นันทนาการ การรักษาโรค การศึกษา การที่จะได้รับความช่วยเหลือให้พัฒนา ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ คุณธรรม สติปัญญา โดยมีศักดิ์ศรีและอิสระเสรี
2. องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty lnternational) เป็นองค์กรเคลื่อนไหวโดยมีอิสระ ทำหน้าที่ป้องกันและละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่ประชาคมโลกให้การยอมรับ โดยมีโดยมีภารกิจหลักในการรณรงค์เพื่อ - ปลดปล่อยนักโทษทางความคิดอย่างไม่มีเงื่อนไข ซึ่งได้แก่ บุคคลที่ถูกกักขังเพราะสาเหตุแห่งความเชื่อเรื่องสีผิว เพศ เชื้อชาติ ภาษา หรือ ศาสนา โดยมีบุคคลเหล่านี้ไม่เคยใช้หรือสนับสนุนการกระทำที่ใช้ความรุนแรง - ให้มีการพิจรณาคดีนักโทษการเมืองอย่างยุติธรรมและรวดเร็ว - คัดค้านโทษประหารชีวิต การทรมาน และการปฏิบัติต่างๆ ที่โหดร้ายต่อนักโทษ - คัดค้านการวิสามัญฆาตกรรม และ การหายสาบสูญของบุคคล - ส่งเสริม เผยแพร่ และสนับสนุนงานด้านสิทธิมนุษยชน องค์การนริโทษกรรมสากล เป็นองค์กรอิสระที่ไม่ได้อยู่ภายใต้หรือรับการสนับสนุนจากรัฐบาล พรรคการเมือง ลัทธิ หรือผู้เคราะห์ร้ายใดๆ ทั้งสิ้น ทุนในการดำเนินการได้รับมาจากค่าสมาชิกและเงินบริจาคจากสมาชิกทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อเป็นอิสระในการทำงานขององค์กร
แม้ประเทศไทยจะเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น แต่จากปัญหาทางการเมืองของประเทศไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อันเกิดจากที่คนไทยได้รับแนวคิดในระบอบประชาธิปไตยมาใช้ โดยไม่คำนึงถึงพื้นฐานทางด้านจิตใจและวัฒนธรรมของคนไทย หรือไม่คำนึงถึงสภาพของแหล่งกำเนิดแนวคิดเหล่านี้อย่างเพียงพอ หรือไม่มีการปรับตัวให้สอดคล้อง เหมาะสมกับสภาพเป็นจริงของสังคมไทยอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิ์มนุษยชน คุณค่าของความเป็นมนุษย์ การกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงก่อให้เกิดปัญหาหลายประการตามมา เช่น ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมหลายรูปแบบ เช่น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะในความโหดเหี้ยม ปราศจากความยั้งคิดและสะเทือนขวัญมากขึ้น ดังปรากฏลักษณะการฆ่าล้างครอบครัว การชำแหละศพ การทรมาน การลอบสังหาร หรือความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวระหว่างคนรู้จักมักคุ้น เช่น การทำร้ายร่างกายหรือการสังหารสามี ภรรยา บุตร หลาน หรือญาติ การประทุษร้ายทางเพศโดยบิดาหรือญาติ หรือความรุนแรงโดยคนที่มีอาชีพซึ่งควรมีหน้าที่เป็นที่พึ่งของร่างกายและจิตใจสำหรับสังคม เช่น พระสงฆ์ แพทย์ ผู้พิพากษา หรือความรุนแรงที่เกิดจากทำรัฐประหาร การยึดอำนาจ การประท้วง เป็นต้น สิทธิมนุษยชนมีความสำคัญในกระบวนการพัฒนาประเทศและสังคมโลก การละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นปัญหาที่มีผลต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของการให้ความร่วมมือกัน ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของทุกฝ่าย จะช่วยให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมอย่างยั่งยืน และสมาชิกสังคมสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสิทธิมนุษยชน 1. การให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนถึงแม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จะบัญญัติสิทธิในฐานะเป็นมนุษย์เอาไว้ในมาตราต่างๆ ก็ตาม แต่การรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของคนโดยทั่วไปยังมีน้อยมาก ทั้งนี้เพราะยังไม่มีการให้การศึกษาหรือเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง จึงเป็นหน้าที่ของสถาบันที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถาบันครอบครัว การศึกษา ศาสนา สื่อมวลชน จะต้องร่วมกันปลูกฝังแนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนแก่สังคม เพื่อความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น เช่น แนวคิดยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบยั้งยืน สมดุล และเป็นธรรม สิทธิที่จะเรียกร้องโดยสหประชาชาติ การให้รับรู้เรื่องราวของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในดินแดนต่างๆ ของภูมิภาคและโลก เช่น การทำลายพระสงฆ์ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างโหดร้ายทารุณ การละเมิดสิทธิผู้หญิง รวมทั้งการปฏิบัติประพฤติกรรมอย่างเหยียดหยามของผู้คนตามประเพณีและวัฒนธรรมของบางประเทศ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เกิดการเปรียบเทียบเพื่อนำไปวิเคราะห์หาแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกันแห่งคุณค่าของความเป็นมนุษย์ และการสร้างสรรค์สังคมที่ดีงามตลอดไป 2. การร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในปัจจุบันมีองค์กรที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหลายแห่งในประเทศไทยและต่างประเทศ ที่ปฏิบัติงานช่วยเหลือแก่มวลชน ได้แก่ องค์กรนิรโทษกรรมสากล มูลนิธิผู้หญิง ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก สภาเพื่อสิทธิมนุษยชน และการพัฒนาแห่งเอเชีย (Forum Asia) และองค์กรอื่นๆ อีกจำนวนมากมาย การให้ความร่วมมือกับองค์กรเหล่านี้สามารถทำได้ โดยการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน การบริจาคสมทบทุน การอาสาเข้าร่วมการสมัคร หรือการช่วยเหลือด้านกำลังทหาร ดังกรณีประเทศไทยได้ส่งกองกำลังสหประชาชาติเพื่อเข้าไปรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2542 ทั้งยังมีการช่วยเหลือด้านเกษตร การแพทย์ และช่วยอบรมเพิ่มทักษะด้านต่างๆ แก่ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออก ในพัฒนาบ้านเมืองของตนเองได้รวดเร็ว 3. การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมการดำเนินงานด้านมนุษย์ธรรมของประเทศไทย เพื่อช่วยเหลือผู้อพยพจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เวียดนาม ลาว กัมพูชา และพม่า ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งล้วนแต่มีปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ ความมั่นคง การสู้รบภายในประเทศสังคมจิตวิทยาเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ภายในประเทศของตน ได้แก่ ในประเทศอินเดีย ปากีสถาน และบังกลาเทศ ซึ่งมีปัญหาภายในประเทศที่มีความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติและศาสนา และประเทศไทยได้ร่วมมือช่วยเหลือกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เช่น สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ โครงการอาหารโลกและหน่วยบรรเทาทุกข์บริเวณชายแดน องค์กรเอ็นจีโอ เป็นต้น ด้วยการให้ที่พักพิงชั่วคราวและส่งเสริมให้ไปตั้งถิ่นฐานยังต่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งยังต้องคำนึงถึงความมั่นคงและความสงบสุขของชาวไทย ที่ได้จากผู้อพยพลี้ภัยและจากปัญหาอื่นๆ ที่ตามมา โดยพิจารณาแก้ไขปัญหาด้วยความเป็นธรรมและเท่าเทียม จะเห็นได้ว่ายุคโลกาภิวัตน์นี้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว และยิ่งเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยแล้ว ดูเหมือนจะเป็นที่สนใจขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครอง และส่งเสริมมนุษยชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ และที่สำคัญเป็นการแสดงให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้เป็นปัญหาร่วมกันของสังคมโลก ไม่ใช่ปล่อยให้ประชาชนในประเทศไดประเทศหนึ่งเผชิญชะตากรรม จากการกระทำของอำนาจแต่ฝ่ายเดียวเพียงลำพัง |
||