<< Go Back

     การจัดระเบียบทางสังคม  หมายถึง  กระบวนการทางสังคมที่จัดขึ้นเพื่อควบคุมสมาชิกให้มีความสัมพันธ์กัน  ภายใต้แบบแผนและกฎเกณฑ์เดียวกัน  เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม

     1. เพื่อให้การติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคมเป็นไปอย่างเรียบร้อย

     2. เพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม

     3. ช่วยให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบสุขและมั่นคงในสังคม

     1. บรรทัดฐานของสังคม

     2. สถานภาพ

     3. บทบาท

     4. การควบคุมทางสังคม

     1. บรรทัดฐานทางสังคม  หมายถึง มาตรฐานที่คนส่วนใหญ่ในกลุ่มยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ได้แก่ กฎ ระเบียบ แบบแผนความประพฤติต่างๆ
     ประเภทของบรรทัดฐานทางสังคม
          1.1 วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน หมายถึง แนวทางการปฏิบัติของบุคคลในสังคมที่ยอมรับและปฏิบัติตามความเคยชิน
          1.2 กฎศีลธรรมหรือจารีต หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สมาชิกในสังคมปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะมีความสำคัญมากกว่าวิถีประชา
                หากฝ่าฝืนจะถูกสังคมประณามและลงโทษ และมีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
          1.3 กฎหมาย หมายถึง กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่เป็นลายลักษณ์อักษร ใช้ควบคุมความประพฤติของคนในสังคม
                ให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมที่กำหนดไว้

     2. สถานภาพ  หมายถึง ตำแหน่งของบุคคลที่สังคมกำหนดขึ้น  หรือตำแหน่งที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคม  และบุคคลเดียวอาจมีหลายสถานภาพได้
     ลักษณะของสถานภาพ
          2.1 เป็นสิ่งเฉพาะบุคคลที่ทำให้แตกต่างไปจากผู้อื่น เช่น อารีย์เป็นนักเรียน สมชาติเป็นตำรวจ เป็นต้น
          2.2 บุคคลหนึ่งอาจมีหลายสถานภาพ เช่น สมชาติเป็นตำรวจ เป็นพ่อและเป็นข้าราชการ
          2.3 เป็นสิทธิและหน้าที่ทั้งหมดที่บุคคลมีอยู่ในการติดต่อกับผู้อื่นและสังคมส่วนรวม
          2.4 เป็นตัวกำหนดว่าบุคคลนั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไรในสังคม
     สถานภาพ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
          - สถานภาพที่ติดตัวมาโดยสังคมเป็นผู้กำหนด เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ เครือญาติ
          - สถานภาพที่ได้มาโดยความสามารถ ได้แก่ การประกอบอาชีพ การศึกษา การสมรส เช่น บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย

     3. บทบาท  หมายถึง การปฏิบัติตามหน้าที่และการแสดงพฤติกรรมตามสถานภาพ สถานภาพ  และบทบาทเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน  สถานภาพเป็นตัวกำหนดบุคคลให้รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบ  บทบาทเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและคาดหมายให้บุคคลกระทำ  การที่บุคคลมีหลายสถานภาพอาจเกิดบทบาทที่ขัดกัน  หมายถึง  การที่คนคนหนึ่งมีบทบาทหลายอย่างในเวลาเดียวกัน  และขัดกันเองทำให้ยากต่อการปฏิบัติตามบทบาทใดบทบาทหนึ่ง

     4. การควบคุมทางสังคม แบ่งเป็น
          4.1 การจูงใจให้สมาชิกปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม เช่น การยกย่อง การชมเชย หรือการให้รางวัล
          4.2 ลงโทษสมาชิกที่ละเมิดหรือฝ่าฝืนบรรทัดฐานทางสังคม เช่น ผิดวิถีชาวบ้าน การลงโทษคือตำหนิ ซุบซิบนินทา หัวเราะเยาะ
                 ผิดกฎศีลธรรม ไม่คบหาสมาคม ผิดกฎหมาย ซึ่งการลงโทษจะมากหรือน้อยแล้วแต่การกระทำผิด

 

         http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/human_society/03.html

<< Go Back