<< Go Back

     การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไชสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้เลิกจากการเสพ  และสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

   1. ระบบสมัครใจ คือ การเปิดโอกาสให้ผู้ติดยาเสพติดที่ต้องการเลิกสามารถเข้ารับการบำบัดในสถานพยาบาลต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน     

   2. ระบบต้องโทษ คือ การที่ผู้ติดยาเสพติดกระทำความผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติดและถูกคุมขัง  ซึ่งจะต้องรับการบำบัดในสถานพยาบาลภายใต้ขอบเขต  เช่น  กรมราชทัณฑ์  กรมคุมประพฤติ  และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นต้น

   3. ระบบบังคับ  คือ การใช้กฎหมายบังคับตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534  โดยศูนย์ฟื้นฟุสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เป็นผู้บำบัดรักษา


ที่มาของภาพ : http://nctc.oncb.go.th/

     1. ขั้นเตรียมการก่อนบำบัดรักษา ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
          1.1 สัมภาษณ์ประวัติผู้ติดยา
          1.2 การลงทะเบียนประวัติ
          1.3 แนะนำและชี้แจงวิธีการบำบัดรักษาทางการแพทย์
          1.4 แนะนำและชักชวนให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการบำบัด
          1.5 ตรวจสุขภาพของผู้ติดยาเสพติด

     2. ขั้นตอนการรักษา  เช่น  การบำบัดอาการทางกายที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด  เพื่อช่วยระงับความต้องการยา  ซึ่งขั้นตอนนี้จะเป็นการถอนพิษตามสภาพร่างกายและชนิดของยาเสพติดที่ใช้  เพื่อรักษาอาการขาดยา  และสภาวะแทรกซ้อนต่างๆทั้งทางร่างกายและจิตใจ

     3. ขั้นตอนการฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด โดยจะทำการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ที่ติดยาเสพติด  โดยมีเจ้าหน้าที่บำบัดหลายๆ ฝ่ายร่วมกัน เช่น นักจิตวิทยา แพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ ครูอาชีวบำบัด เป็นต้น

     4. ขั้นตอนติดตามผล เป็นการติดตามผลดูแลผู้ที่เลิกยาหลังจากที่ผ่านขั้นตอนทั้ง 3 มาแล้ว เพื่อให้คำแนะนำ กำลังใจ และช่วยแก้ปัญหาของผู้ที่ติดยาเสพติดไม่ให้หันกลับมาเสพอีก โดยวิธีการต่อไปนี้
          4.1 การติดตามผลทางตรง  คือ  การพบปะพูดคุยกับผู้ป่วยโดยตรง
          4.2 การติดตามผลทางอ้อม  คือ  การพูดคุยทางโทรศัพท์ จดหมายหรือผ่านบุคคลที่ 3

     1. การบำบัดแบบการแพทย์แผนปัจจุบัน  เช่น  การบำบัดรักษาโดยใช้ยาอื่นแทนเพื่อถอนพิษ มีรูปแบบการบำบัดดังนี้
          1.1 ใช้ยาอื่นทดแทน เพื่อถอนพิษยาเสพติด ทำให้ผู้เสพหมดความต้องการทางยาซึ่งยาที่จะเข้าไปแทนต้องเป็นยาที่ให้โทษน้อยกว่า
          1.2 การให้ยาเพื่อต้านฤทธิ์ยาเสพติด
          1.3 การรักษาเพื่อให้คงสภาพการติดยา เช่น การให้สารเสพติดแก่ผู้เสพ ภายใต้การควบคุมของแพทย์ในปริมาณที่ลดลงเรื่อยๆ

     2. การบำบัดแบบการแพทย์แผนโบราณ มีรูปแบบการบำบัดรักษาดังนี้
          2.1 บำบัดรักษาโดยใช้ยาสมุนไพร  นิยมใช้ตามสำนักสงฆ์  โดยนำสมุนไพรมาใช้เพื่อการล้างพิษ 
                โดยให้ผู้ป่วยดื่มซึ่งจะทำให้อาเจียนและถ่ายออกมา
          2.2 การฝังเข็ม  เช่น  การใช้หลักวิชาการแพทย์สมัยโบราณ  โดยใช้เข้มฝังตามจุดต่างๆ ของร่างกาย 
                พร้อมทั้งต่อสายไฟและปล่อยกระแสอ่อนๆ เข้าสู่ร่างกาย

     3. การบำบัดรักษาโดยวิธีอื่นๆ  เช่น
          3.2 การหักดิบ เป็นวิธีการที่ให้ผู้ที่ติดยาเสพติดเลิกเสพยาโดยทันที  โดยไม่ต้องใช้ยาอื่นมาทดแทน
                 ผู้เสพจะมีอาการเสี้ยนยาอย่างรุนแรงใน 5 วันแรก ถ้าผ่านช่วงนี้ไปได้จะทำให้เข็ดไม่กล้ากลับมาเสพอีก
          3.2 การบำบัดโดยใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้ากำลังต่ำ  ตามจุดต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดการเลิกยาได้

     1. วิธีจิตบำบัด  เพราะโดยทั่วไปผู้ที่ติดยาเสพติดมีสาเหตุจากด้านจิตใจ  ดังนั้นการฟื้นฟูสภาพจิตใจให้เข้มแข็งขึ้น  ทำให้ผู้ติดยาสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้  โดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติดอีกต่อไป  วิธีจิตบำบัดมี 3 รูปแบบคือ
          1.1 การให้คำปรึกษาเป็นการรายบุคคล
          1.2 การให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม
          1.3 การให้คำปรึกษาแก่ครอบครัว

     2. วิธีบำบัดยาเสพติดโดยใช้ศาสนา  เนื่องจากผู้ที่ติดยาเสพติดมักมีปัญหาแก้ไขไม่ได้  จึงหันไปพึ่งยาเสพติด  การนำหลักธรรมศาสนามาช่วย  จะทำให้ผู้ที่เสพยาเสพติดมีจิตใจที่เข้มแข็งขึ้น  รู้จักแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

     3. วิธีการบำบัดรักษาแบบชุมชนบำบัด  เป็นวิธีการบำบัดที่ทำให้ผู้ติดยาเสพติดหรือสมาชิกได้พัฒนาตนเอง  โดยมีการจำลองครอบครัวขนาดใหญ่  เพื่อให้ผู้ที่ติดยามีโอกาสปรับปรุงตนเองในสถานที่ที่มีความอบอุ่น  การบำบัดแบบนี้มี 3 ขั้นตอน คือ
          3.1 ระยะจูงใจ ใช้เวลา 30 วัน เพื่อเตรียมความพร้อม
          3.2 ระยะบำบัดรักษา ใช้เวลา 1- 11 เดือน หรือ 2 ปี คือ การให้ผู้ที่ติดยาเรียนรู้ความผิดและรู้จักวิธีการแก้ไขปัญหา
          3.3 ระยะกลับเข้าสู่สังคม ใช้เวลา 3- 5 ปี เช่น การให้ผู้ตดยากลับไปใช้ชีวิตจริงในสังคม

     4. การบำบัดแบบชีวบำบัด  การบำบัดวิธีนี้ มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ติดยาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการฝึกหัดอาชีพ

     1. ประเมินสภาพปัญหาของผู้ติดยาที่จะเข้าค่ายบำบัด
     2. บำบัดรักษาผู้ที่มีอาการถอนยา ตามสภาพปัญหาของผู้ติดยา
     3. จัดให้มีการสอนและฝึกอบรมด้านวิชาชีพแก่ผู้ติดยา
     4. จัดให้มีกิจกรรมนันทนาการ เพื่อลดความเครียด
     5. จัดให้มีกิจกรรมกลุ่มบำบัด เพื่อเป็นการรักษาทางด้านจิตใจ
     6. จัดให้มีกิจกรรมบำบัดรักษาและพัฒนาคุณค่าชีวิตทางด้านศาสนา เพื่อเสริมความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ
     7. จัดให้มีกิจกรรมอื่นๆ ที่เสริมสร้างและฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างการและจิตใจ เช่น
          การออกกำลังกาย การทำสมาธิ การสร้างงานอดิเรก เป็นต้น


การบำบัดรักษาด้วยการถอนพิษยาแล้วไม่ให้กลับไปติดยาซ้ำใหม่อีก
ที่มาของภาพ : http://www.sopon.ac.th/

         http://namman.uttaradit.police.go.th/DrugAid.html

<< Go Back