<< Go Back

    เป็นสมัยการเปลี่ยนแปลงจากการผลิตด้วยมือหรือการหัตถกรรม  มาเป็นการใช้เครื่องจักรกล  หรือหมายถึงระบบโรงงาน ส่วนกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรม  คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม  ที่เน้นการเกษตรกรรมและสังคมการค้าแบบแลกเปลี่ยน  มาเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรแทนเครื่องมือหัตถกรรมและมีระบบเงินตรา   การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการดำเนินต่อเนื่องและมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพแวดล้อม  และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองขนานใหญ่จนไม่เหลือสภาพเดิมไว้

    1) การเปลี่ยนแปลงช่วงแรก เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมทอผ้า ค.ศ.1760-1800

    2) การปฏิวัติช่วงที่สองเป็นการปฏิวัติด้านการขนส่งทางรถไฟ และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกันเช่นถ่านหิน เหล็ก และเหล็กกล้า
         ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การขยายตัวเมือง และชุมชนโดยรอบ

    3) การปฏิวัติช่วงที่สามเป็นการปฎิวัตินวัตกรรมทางเคมีและอิเลคโทรนิกส์  อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 
         โดยมีเยอรมนีกับสหรัฐเป็นผู้นำ

    4) การปฎิวัติช่วงที่สี่ เป็นการปฎิวัติด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ และการผลิตน้ำมันที่ได้ดูดซับเงินทุนไว้เป็นจำนวนมาก

    1) สมัยเริ่มการปฎิวัติอุตสาหกรรม ค.ศ.1760 เป็นการผลิตของช่างผู้ชำนาญงาน โดยอาศัยความสำนึก และความเคยชิน
         มากกว่าอาศัยการวิจัยเป็นขั้นตอน เป็นสมัยการใช้ถ่านหิน และไอน้ำ

    2) การปฎิวัติอุตสาหกรรมระยะที่สอง ประมาณ ค.ศ.1860 เป็นสมัยการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีไฟฟ้า

    สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) ลัทธิชาตินิยม (Nationalism) ลัทธิเชื้อชาติ (Racism) ส่วนลัทธิการเมืองที่จำแนกได้คือ ประชาธิปไตย (Democracy) เผด็จการ (Dictator) แบบเบ็ดเสร็จ (Totalitarianism) สังคมนิยม (Socialism) คอมมิวนิสต์ (Communism) หรือมาร์กซิสม์ (Marxism) หรือสังคมปฏิวัติ (Socialist Revolution) ส่วนลัทธิเศรษฐกิจได้แก่ทุนนิยม (Capitalism) พาณิชย์นิยม (Mercantilism) เศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (Liberalism) เศรษฐกิจสังคมนิยม (Socialism)


ที่มาของภาพ : http://img.online-station.net/_news/2015/0526/84048_00.jpg

 

          http://guru.sanook.com/2575/

<< Go Back