<< Go Back

     ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Natural Disasters) รูปแบบต่างๆ ที่ได้มีการศึกษารวบรวมและบันทึกรายละเอียดไว้มี 10 ประเภท คือ

          1. การระเบิดของภูเขาไฟ (Volcano Eruptions)

          2. แผ่นดินไหว (Earthquakes)

          3. คลื่นใต้น้ำ (Tsunamis)

          4. วาตภัยหรือภัยจากพายุในรูปแบบต่าง ๆ (Various Kinds of storms) คือ
               ก. พายุแถบเส้น Tropics ที่มีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทร (Tropical Cyclones)
               ข. พายุหมุนที่มีแหล่งกำเนิดบนบก (Tornadoes)
               ค. พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorms)

          5. อุทกภัย (Floods)

          6. ภัยแล้งหรือทุพภิกขภัย (Droughts)

          7. อัคคีภัย (Fires)

          8. ดินถล่มและโคลนถล่ม (Landslides and Mudslides)

          9. พายุหิมะและหิมะถล่ม (Blizzard and Avalanches)

          10. โรคระบาดในคนและสัตว์ (Human Epidemics and Animal Diseases)

     ภัยข้างต้นนั้นพิจารณาจากสภาพความรุนแรงของความเสียหาย  เกิดผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก  หรือการไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้า  ส่วนภัยที่รู้ล่วงหน้าเพราะเกิดขึ้นเป็นปกติตามธรรมชาติว่าจะเริ่มและสิ้นสุดเมื่อใด  เช่น  อากาศหนาว  หรือภัยที่ไม่ส่งผลกระทบรุนแรงและสามารถหลีกเลี่ยงได้  เช่น  คลื่นความร้อน  ฟ้าผ่า  โดยหลักสากลภัยจำพวกนี้ไม่ถือเป็นภัยพิบัติ

     ในประเทศไทยได้กำหนดการเกิดภัยพิบัติเป็นสาธารณภัย  ซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 4 ว่า

     "สาธารณภัย" หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น้ำ การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่นๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ มีผู้ทำให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศ และการก่อวินาศกรรมด้วย

     "ภัยทางอากาศ" หมายความว่า ภัยอันเกิดจากการโจมตีทางอากาศ

     "การก่อวินาศกรรม" หมายความว่า การกระทำใดๆ อันเป็นการมุ่งทำลายทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ หรือสิ่งอันเป็นสาธารณูปโภค หรือการรบกวน  ขัดขวางหน่วงเหนี่ยวระบบการปฏิบัติงานใดๆ  ตลอดจนการประทุษร้ายต่อบุคคล  อันเป็นการก่อให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมืองการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  โดยมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ

     ภัยอื่นๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน  ในพระราชบัญญัติดังกล่าว  ได้แก่  แผ่นดินถล่ม  อัคคีภัยไฟป่า  แผ่นดินไหว  คลื่นยักษ์  ภัยหนาว  ภัยฟ้าผ่า   ภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย  อาคารถล่ม  ภัยจากการคมนาคมขนส่ง ฯลฯ


ที่มาของภาพ : http://com.krp.ac.th/m53/n01/images/123303935-7-3-55-01.jpg

          http://ridceo.rid.go.th/buriram/natural_disasters.html

<< Go Back