<< Go Back



การหย่านั้นถือเป็นการสิ้นสุดการสมรส การหย่าทำได้ 2 วิธี คือ
1.หย่าโดยความยินยอม คือ กรณีที่ทั้งคู่ตกลงที่จะหย่ากันได้เอง กฎหมายบังคับว่า การหย่าโดยความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงรายมือชื่อย่างน้อย 2 คน และถ้าการสมรสนั้นมีการจดทะเบียนสมรส(ตามกฎหมายปัจจุบัน)  การหย่าก็ต้องไปจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียนที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอด้วย มิฉะนั้นการหย่าย่อมไม่สมบูรณ์
1.1 การหย่าโดยความยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย ณ สำนักงานทะเบียนเดียวกับสถานที่แจ้ง ให้กระทำ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตแห่งใดก็ได้ หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1.หนังสือข้อตกลงการหย่าหรือสัญญาการหย่า ซึ่งมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
2.บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการของทั้งสองฝ่าย
3.ใบสำคัญการสมรสทั้ง 2 ฉบับ
4.พยานบุคคล 2 คน ถ้าไม่มีนายทะเบียนจะหาให้แต่ต้องเสียค่าป่วยการพยาน 2.50 บาท
5.ค่าธรรมเนียมไม่ต้องเสียเว้นแต่ค่าป่วยการพยานที่นายทะเบียนหาให้ 2.50 บาท
1.2 การหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย ต่างสำนักงานทะเบียนที่แจ้งให้กระทำ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตแห่งใดก็ได้ โดยต่างฝ่ายต่างยื่นคำร้อง ณ สำนักงานทะเบียนที่ตนสะดวก
หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง
1.บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการทั้งสองฝ่าย
2.ใบสำคัญการสมรสทั้ง 2 ฉบับ
3.หนังสือยินยอมการหย่า ซึ่งพยานลงชื่อการหย่าอย่างน้อย 2 คน
4.ค่าธรรมเนียมไม่ต้องเสีย เว้นแต่ค่าป่วยการพยาน 2.50 บาท
2.หย่าโดยคำพิพากษาของศาล กรณีคู่สมรสฝ่ายหนึ่งประสงค์จะหย่า แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการหย่าจึงต้องมีการฟ้องหย่าขึ้น เหตุที่จะฟ้องหย่าได้คือ
2.1 สามีอุปการะเลี้ยงดู หรือยกย่องหญิงอื่นเป็นภริยาหรือภริยามีชู้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
2.2 สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติเช่นนั้นเป็นความผิด อาญาหรือไม่ ถ้าความประพฤติเช่นนั้นเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
–ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
–ได้รับความดูถูกเกลียดชัง หากยังคงสถานะของความเป็นสามีภริยากันต่อไป
–ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา มาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ คำว่า "ประพฤติชั่ว" เช่น สามีเป็นนักเลงหัวไม้ เที่ยวรังแกผู้อื่น เล่นการพนัน หรือสูบฝิ่น กัญชา เป็นต้น
1.3 สามีหรือภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจหมิ่นประมาทหรือ เหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องเป็นการร้ายแรงด้วย อีกฝ่ายจึงจะฟ้องหย่าได้
1.4 สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ การละทิ้งร้างนี้ หมายถึง การที่ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่ง แต่หากไม่เป็นการจงใจ เช่น ต้องติดราชการทหารไปชายแดน เช่นนี้ไม่ถือเป็นการทิ้งร้าง
1.5 ฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกจำคุกเกิน ๑ ปี โดยที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนในความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเห็นใจ และการเป็นสามีภริยากันจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อยเกินควร อีกฝ่ายฟ้องหย่าได้
1.6 สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ตลอดมาเกิน ๓ ปี หรือแยกกันอยู่ ตามคำสั่งเป็นเวลาเกิน ๓ ปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
1.7 สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือ ถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกิน 3 ปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
1.8 สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลือ อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง ตามสมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยาอย่างร้ายแรง แต่การกระทำนั้นต้องถึงขนาดที่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนโดยเอาสภาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
1.9 สามีหรือภริยาเป็นบ้าตลอดมาเกิน ๓ ปี และความเป็นบ้านนั้น มีลักษณะยากที่จะหายได้ และความเป็นบ้าต้องถึงขนาดที่ จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
1.10 สามีหรือภริยาทำผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือ ในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ เช่น สามีขี้เหล้า ชอบเล่นการพนัน ย่อมทำหนังสือทัณฑ์บนไว้กับภริยาว่าตนจะไม่ประพฤติเช่นนั้นอีก แต่ต่อมากลับฝ่าฝืน เช่นนี้ ภริยาฟ้องหย่าได้
1.11 สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง ซึ่งอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่ง นอกจากนี้โรคดังกล่าว ต้องมีลักษณะเรื้อรัง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
1.12 สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจ ร่วมประเวณีได้ตลอดกาล คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ผลของการหย่า
1. ผลของการหย่าโดยความยินยอม การหย่าโดยความยินยอมนั้น ถ้าการสมรสเป็นการสมรสที่ไม่ต้องจดทะเบียน (การสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย) การหย่าโดยความยินยอมก็มีผลทันทีที่ทำเป็นหนังสือถูกต้อง และลงลายมือชื่อทั้ง 2 ฝ่าย พร้อมทั้งมีพยานรับรอง 2 คน แต่ถ้าการสมรสนั้นเป็นการสมรสที่ต้องจดทะเบียน (ตามบรรพ 5) การหย่าโดยความยินยอมนั้นนอกจากจะต้องทำเป็นหนังสือแล้ว ยังต้องไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภออีกด้วย การหย่าจึงจะมีผลตามกฎหมาย —
–ผลของการหย่าต่อบุตร คือ ใครจะเป็นผู้ปกครองบุตร ตามกฎหมาย ให้ตกลงกันเองได้ ถ้าตกลงกันไม่ได้ หรือไม่ได้ตกลง ก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ใครจะเป็นคนจ่ายก็เช่นกันคือให้ตกลงกันเองว่า ใครจะเป็นผู้จ่าย ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
–ผลเกี่ยวกับสามีภริยา ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาสิ้นสุดลงทันที และไม่มีหน้าที่ใด ๆ ต่อกันเลย
–ผลเกี่ยวกับทรัพย์สิน ให้แบ่งทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยาคนละครึ่ง โดยเอาจำนวนทรัพย์ที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่าเป็นเกณฑ์
2.ผลของการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล การหย่าโดยคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลตั้งแต่เวลาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้จะยังไม่จดทะเบียนหย่าก็ตาม ดังนั้น ความเป็นสามีภริยาจึงขาดลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป
–ผลเกี่ยวกับบุตร ใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ปกติแล้วฝ่ายชนะคดีจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง แต่ศาลอาจกำหนดเป็นอย่างอื่นก็ได้ ส่วนเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดู ศาลเป็นผู้กำหนด
–ผลเกี่ยวกับคู่สมรส แม้กฎหมายจะถือว่า การสมรสสิ้นสุดลงนับแต่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดก็ตาม แต่ในระหว่างคู่สมรสก็เกิดผลทางกฎหมายบางประการคือ
1. มีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้จากสามีที่อุปการะหญิงอื่นหรือจากภริยาที่มีชู้และจากชายชู้หรือหญิงอื่นแล้วแต่กรณี และค่าทดแทนเพราะเหตุหย่าตามข้อ ๓.๒ (๓), (๔), (๘) โดยเป็นเพราะความผิดของอีกฝ่ายหนึ่ง
2. มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ ต้องเข้าหลักเกณฑ์คือเหตุแห่งการหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพียงอย่างเดียว และการหย่านั้นทำให้อีกฝ่ายยากจนลง เพราะไม่มีรายได้จากทรัพย์สิน หรือการงานที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส แต่อย่างไรก็ตาม สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพนี้กฎหมาย กำหนดว่า จะต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งมาในคดีที่ฟ้องหย่าด้วย มิฉะนั้นก็หมดสิทธิ


https://aruneelpru.wordpress.com/category/กฏหมายในชีวิตประจำวัน/การหย่า

<< Go Back