<< Go Back
ความหมายของค่านิยม
           ค่านิยม หมายถึง ทัศนะของคนหรือสังคมที่มีต่อสิ่งของ ความคิด และเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปรารถนา คุณค่าและความถูกต้องของสังคมนั้นๆ เช่น ชาวอเมริกันถือว่า "ประชาธิปไตย"มีค่าสูงสุดควรแก่การนิยมควรรักษาไว้ด้วยชีวิต อเมริกันรักอิสระ เสรีภาพ และความก้าวหน้าในการงานเป็นต้น ส่วนค่านิยมของคนไทยหรือคนตะวันออกโดยทั่วไปนั้นแตกต่างจากค่านิยมในอเมริกันหรือคนตะวันตก เช่น คนไทยถือว่าความสงบสุขทางจิตใจและการทำบุญให้ทานเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา การเคารพเชื่อฟังบิดามารดาและการกตัญญูรู้คุณเป็นสิ่งที่ควรยกย่อง
           ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่บุคคลพอใจหรือเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า แล้วยอมรับไว้เป็นความเชื่อ หรือความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ค่านิยมจะสิงอยู่ในตัวบุคคลในรูปของความเชื่อตลอดไป จนกว่าจะพบกับค่านิยมใหม่ ซึ่งตนพอใจกว่าก็จะยอมรับไว้ เมื่อบุคคลประสบกับ การเลือกหรือเผชิญกับเหตุการณ์ ละต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าจะนำค่านิยมมาประกอบการตัดสินใจทุกครั้งไป ค่านิยมจึงเป็นเสมือนพื้นฐานแห่งการประพฤติ ปฏิบัติของบุคคลโดยตรง

ลักษณะของค่านิยม ลักษณะของค่านิยม พอสรุปได้ดังนี้
         สภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ตามสภาพสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา มีการติดต่อค้าขาย สัมพันธ์ทางการทูตกับต่างประเทศ มีทุนให้ครู-อาจารย์ ไปดูงานต่างประเทศ การช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีแก่สถาบันการศึกษา ทำให้มีการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ค่านิยมตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลไปตามสภาพของสังคมด้วยดังนี้
           1. ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับในอดีต มีการศึกษาพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ้ง ตลอดจนมีการปรับปรุงแก้ไขกฎเกณฑ์ข้อบังคับของสงฆ์ ประชาชนมีบทบาทตรวจสอบพฤติกรรมทางวินัยสงฆ์ได้ เพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากพระพุทธศาสนา
           2. เคารพเทิดทูลสถาบันพระมหากษัตริย์ สังคมไทยต่างกับสังคมชาติอื่น กษัตริย์ไทยเปรียบเสมือนสมมติเทพ คอยดูแลทุกข์สุขของประชาชน ทำนุบำรุงประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองในทุกๆด้าน จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจพระองค์เป็นทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตคนไทย เป็นที่เคารพเทิดทูนของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง
           3. เชื่อในเรื่องเหตุผล ความเป็นจริง และความถูกต้องมากขึ้นกว่าในอดีต ในสภาวะของเหตุการณ์ต่างๆ ปัจจุบันสังคมไทยรู้จักคิดใช้ปัญญามีเหตุผลมากขึ้น เช่น ได้ออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้งครองเจ้าของความคิด ไม่ให้ใครลอกเลียนแบบได้ เรียกว่า “ ลิขสิทธิ์ทางปัญญา ” เป็นต้น
           4. ค่านิยมในการศึกษาหาความรู้ ปัจจุบันสังคมไทยต้องแข่งขันกันตลอดเวลา การจะพาตนเองให้รอดจากปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถที่โดดเด่นจึงเป็นสิ่งที่คนไทยในสังคมปัจจุบันต้องเสาะแสวงหา
           5. นิยมความร่ำรวยและมีเกียรติ สังคมไทยในปัจจุบันให้ความสำคัญเรืองความร่ำรวยและเงินทอง เพราะมีความเชื่อที่ว่าเงินทองสามารถบันดาลความสุขตอบสนองความต้องการของคนได้


ค่านิยมทางนำไปสู่การปฏิบัติเป็นวัฒนธรรม

ประเภทของค่านิยม
           ค่านิยมนั้นกล่าวกันโดยทั่วไปว่ามี 2 ประเภท คือ ค่านิยมส่วนบุคคลและค่านิยมของสังคม ค่านิยมส่วนบุคคล
           1. ค่านิยมส่วนบุคคล หมายถึง สิ่งที่ตนสนใจ สิ่งที่ตนปรารถนาจะได้ ปรารถนาจะเห็นหรือกลับกลายมาเป็นสิ่งที่คนถือว่าเป็นสิ่งบังคับ ต้องทำต้องปฏิบัติ เป็นสิ่งที่คนบูชายกย่อง และมีความสุขจะได้เห็น ได้ฟัง ได้เป็นเจ้าของ
           2. ค่านิยมของสังคม หมายถึงค่านิยมของคนส่วนใหญ่ในสังคมกล่าวคือสมาชิกของสังคมส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม หรือควรแก่การปฏิบัติสิ่งหรือสถานการณ์นั้น ๆ ก็จะกลายเป็นค่านิยมของสังคมนั้น ๆ

ค่านิยมที่สำคัญของสังคมไทย
           1. การเคารพเทิดทูนพระมหากษัตริย์ 
           2. การนับถือและให้ความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา
           3. การเคารพผู้มีอาวุโส
           4. ความซื่อสัตย์สุจริต

ค่านิยมที่ควรปลูกฝังในสังคมไทย ค่านิยมพื้นฐาน ๕ ประการ โดนสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีดังนี้
           1. การพึ่งตนเอง ความขยันหมั่นเพียร และความรับผิดชอบ
           2. การประหยัด และออม 
           3. การมีระเบียบวินัย และเคารพกฎหมาย
           4. การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา
           5. ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์


http://e-learning.e-tech.ac.th/learninghtml/s1301/uni06.html
http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/value/02.html
http://armmanu.wikispaces.com/ค่านิยมของสังคมไทย


<< Go Back