<< Go Back
          คอมมิวนิสต์ (อังกฤษ: Communism) คือ ระบอบแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการปกครองสังคมและการเคลื่อนไหวทางการเมือง ภายใต้ข้อกำหนดของความเป็นเจ้าของร่วมกัน และการมีรายได้ที่ขึ้นอยู่กับการผลิต การเคลื่อนไหวทางการเมืองในแง่นี้หมายถึงระบอบคอมมิวนิสต์มุ่งจุดประสงค์ให้สังคมไร้ชนชั้น ประชาชนทุกคนมีฐานะทางสังคมเท่าเทียมกัน ระบอบคอมมิวนิสต์ถือว่าเป็นระบอบมหาอำนาจของการเมืองโลกในช่วงต้นคริสตศ์ตวรรษที่ 20 ในขณะที่ในคอมมิวนิสต์สมัยใหม่มักจะยึดตามคำประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์ ของคาร์ล มาร์กซและฟรีดริช เองเกลส์ ที่ว่าด้วยการแทนที่ระบบวัตถุแบบทุนนิยมที่เน้นกำไรเป็นหลัก ด้วยระบอบสังคมคอมมิวนิสต์ที่ผลผลิตโดยรวมที่ได้มาจะกลายเป็นของส่วนรวม ลัทธิมาร์กซกล่าวไว้ว่ากระบวนการดังกล่าวสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ โดยการปฏิวัติรัฐประหารต่อบรรดานายทุนและชนชั้นสูง จากนั้นจึงเปลี่ยนถ่ายการปกครองไปสู่สถานะของการปกครองระบอบสังคมนิยม การกระทำดังกล่าวเรียกกว่าอำนาจเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ (Dictatorship of the proletariat) ระบอบคอมมิวนิสต์ที่แท้จริงที่ไม่มีรัฐบาลบริหารยังไม่เคยเกิดขึ้น และยังเป็นไปได้ในแง่ทฤษฎีเท่านั้น เพราะความหมายที่แท้จริงของคำว่า "ระบอบคอมมิวนิสต์" ตามทฤษฎีของมาร์กซคือ รัฐที่ปกครองโดยตลอดกาล หรือ รัฐบาลแนวสังคมนิยม คำว่าคอมมิวนิสต์ในปัจจุบันเป็นได้ทั้งระบอบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ และทฤษฎีสังคมของลัทธิมาร์กซ รวมถึงเงื่อนไขของพรรคคอมมิวนิสต์ ยังมีกลุ่มชนอื่นที่มีแนวความคิดของมาร์กซ อาทิอนาธิปัตย์หลาย ๆ กลุ่มที่เรียกตนเองว่าเป็นคอมมิวนิสต์แต่มีวิธีการที่ต่างจากมาร์กซในความพยายามที่จะสร้างสังคมไร้ชนชั้น


ที่มา : http://eduvespa.wikispaces.com/ลัทธิคอมมิวนิสต์...คืออะไร

หลักนิยมคอมมิวนิสต์
            1.ลัทธิกอร์บาชอฟ(Gorbachevism) คือคุณูปการต่าง ๆ ต่อลัทธิมาร์กซิสต์-ลัทธิเลนินภายใต้การนำของ มิคาอิล กอร์บาชอฟ เมื่อปี ค.ศ.1985 กอร์บาชอฟประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต ได้เริ่มการปฏิรูปต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านการเมืองเป็นการใหญ่ด้วยการใช้นโยบายแบบเสรีนิยม โดยอ้างว่าการปฏิรูปครั้งนี้สะท้อนให้เห็นแนวความคิดขั้นพื้นฐานของลัทธิ มาร์กซิสต์-ลัทธิเลนินอย่างแท้จริง

            2.ลัทธิครุชชอฟ(Khrushevism) คือคุณูปการของ นิกิตา เอส. ครุชชอฟ ที่มีต่อลัทธิมาร์กซิสต์ -ลัทธิเลนิน และต่อการประยุกต์ใช้หลักนิยมคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียต ลัทธิครุชชอฟนี้ได้เริ่มพัฒนาขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1956 ซึ่งเป็นปีที่ครุชชอฟเริ่มปรากฏตัวเป็นผู้นำที่โดดเด่นขึ้นมาในการแก่งแย่ง อำนาจกันในยุคหลังสตาลิน จวบจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1963 อันเป็นปีที่ครุชชอฟถูกถอดออกจากอำนาจโดยอีกกลุ่มหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์ โซเวียต ซึ่งนำโดย เลโอนิด ไอ. เบรซเนฟ และ อเล็กไซ โคซีกิน ครุชชอฟผู้นี้เริ่มก้าวขึ้นสู่อำนาจเมื่อเข้ารับตำแหน่งเป็นเลขาธิการคนที่ หนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์แทนโยเซฟ สตาลิน ที่ได้เสียชีวิตลงเมื่อปี ค.ศ.1953 เขาเริ่มเข้ากุมอำนาจเมื่อปี ค.ศ.1958 ซึ่งเขาได้ได้ถอด นิโคไล เอ. บุลกานิน ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว เขาเองก็ได้เข้ารับตำแหน่งนี้แทน

            3.ลัทธิเลนิน(Lenism) คือการตีความทางทฤษฎีและการประยุกต์ ใช้ในทางปฏิบัติซึ่งหลักนิยมมาร์กซิสต์ ที่เป็นคุณูปการต่ออุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์ของ วลาดิเมียร์ อิลยิช เลนิน ผู้นำการปฏิวัติรัสเซีย

            4.ลัทธิเหมา(Maoism) การตีความลัทธิ มาร์กซิสต์-ลัทธิเลนิน และนโยบายต่าง ๆ ที่ได้พัฒนาและปฏิบัติการต่าง ๆ ที่ได้กระทำ โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำของประธานเหมาเจ๋อตง รากฐานทางทฤษฎีของลัทธิเหมาเจ๋อตงนี้ มีปรากฏอยู่ในคำพังเพยต่าง ๆ ในหนังสือเรื่อง โคเทชันส์ ฟรอม แชร์แมน เหมาเจ๋อตง ที่มีการเผยแพร่เป็นที่นิยมของประชาชนอย่างกว้างขวาง

            5. ลัทธิมาร์กซิสต์(Marxism) คือหลักทฤษฎีทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ที่พัฒนาขึ้นมาโดย คาร์ล มาร์กซ์ และเฟรดริช เองเกลส์ผู้ร่วมงานของเขา ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ลัทธิมาร์กซิสต์นี้ได้เสนอปรัชญาแห่งประวัติศาสตร์ตามแนวทาง "วิทยาศาสตร์"อย่างลึกซึ้ง ที่ใช้อธิบายพัฒนาการของมนุษย์แบบวิภาษวิธีว่า เป็นลำดับการต่อสู้ระหว่างชนชั้นซึ่งในแต่ละครั้งก็ก่อให้เกิดระเบียบทาง สังคมใหม่ขึ้นมา คาร์ล มาร์กซ์ เห็นว่า ระบบทุนนิยมเป็นระบบที่จะต้องเดือดร้อนจากความขัดแย้งภายในจากการต่อสู้ ระหว่างชนชั้นที่มีความรุนแรงและไม่สามารถเยียวยาได้ซึ่งก็จะส่งผลให้เกิด การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพเพื่อทำลายล้างชนชั้นกระฎุมพี ต่อจากนั้นก็จะถึงช่วง "เผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ" ที่พวกนายทุนจะถูกริบทรัพย์สินและอำนาจทั้งปวง ส่วนที่ดินและปัจจัยการผลิตต่างๆก็จะตกเป็นของชาติทั้งหมด และการแตกต่างทางชนชั้นก็จะถูกกำจัดจนหมดสิ้น มาร์กซ์บอกว่า จากนั้นรัฐก็จะ "ฝ่อ, ห่อเหียว, ร่วงโรย" ไปเอง และก็จะถึงขั้นสุดท้ายของลัทธิคอมมิวนิสต์แท้ ๆ ซึ่งผู้คนจะอยู่ในสังคมที่สมบูรณ์แบบ โดยที่ไม่มีชนชั้น และไม่มีรัฐ คนจะร่วมมือกันด้วยความสมัครใจ แต่ละคนจะทำงานตามความสามารถ และได้รับส่วนแบ่งตามความจำเป็น แนวความคิดของมาร์กซ์ได้พัฒนามาจากหนังสือของเขาชื่อ เดอะ คอมมิวนิสต์ มานิเฟสโต ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1848 และจากงานเขียนสำคัญอีกชุดหนึ่งของเขาที่ชื่อ ดาส คาปิตัล ซึ่งเล่มแรกของหนังสือชุดนี้ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1867

            6.ลัทธิสตาลิน(Stalinism) คือการตีความทางทฤษฎีและการประยุกต์ ในทางปฏิบัติของหลักนิยมมาร์กซิสต์ส่วนที่เป็นคุณูปการโดยโยเซฟ สตาลิน ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจครอบงำพรรคคอมมิวนิสต์และกลไกของรัฐบาลในสหภาพโซเวียต ตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1920 จนกระทั่งเขาถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี ค.ศ.1953

            7.ลัทธิติโต(Titoism) คือทฤษฎีและหลักปฏิวัติของลัทธิ คอมมิวนิสต์แห่งชาติ ที่สอนโดย โยซิป บรอซ ติโตผู้นำคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย ลัทธิติโตนี้เริ่มเกิดเป็นหลักการใหม่ขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1948 อันเป็นปีที่ประธานาธิบดีติโตได้ปฏิเสธหลักความเป็นหนึ่งเดียวของลัทธิ คอมมิวนิสต์ทั่วโลก ที่โยเซฟ สตาลิน ได้ทำการผลักดันจะให้เป็น ซึ่งในระบบที่สตาลินต้องการนี้ พรรคคอมมิวนิสต์ในชาติต่าง ๆ จะต้องยอมรับการชี้นำและการควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต แต่ติโตบอกว่า ลัทธิชาตินิยมและลัทธิคอมมิวนิสต์มีหลักการที่เกื้อกูลแก่กันและกัน และจะต้องรวมเข้าเป็นขบวนการใหม่ ที่รัฐคอมมิวนิสต์แต่ละรัฐยังคงมีเอกราชทางการเมืองอยู่อย่างเต็มที่ และสามารถเลือก "แนวทางสู่สังคมนิยม" ที่เป็นของตนเองได้

            8.ลัทธิทรอสกี(Troskyism) ทฤษฎีต่าง ๆ ของลีออง ทรอสกี นักปฏิวัติคอมมิวนิสต์ชั้นแนวหน้า เป็นผู้เคยแข่งขันกับโยเซฟ สตาลิน เพื่อความเป็นผู้นำของสหภาพโซเวียตหลังอสัญกรรมของเลนินเมื่อปี ค.ศ. 1924 หลังจากการปฏิวัติบอลเชวิกเมื่อปี ค.ศ. 1917 และช่วงเกิดสงครามกลางเมืองนั้นแล้ว ทรอสกีได้คัดค้านการใช้ฐานคอมมิวนิสต์ในรัสเซียเพื่อบรรลุถึงการปฏิวัติทั่ว โลก ส่วนสตาลินได้เรียกร้องให้สร้างสังคมนิยมในประเทศเดียว เพื่อให้ลัทธิคอมมิวนิสต์มีฐานที่มั่นคงเหนียวแน่นสามารถต้านทานการต่อต้าน การปฏิวัติของลัทธินายทุนให้ได้ เมื่อสตาลินได้อำนาจในปลายทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1920 แล้ว ก็ได้ขับทรอสกีออกจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตและให้เนรเทศไปอยู่ใน ต่างประเทศ ในช่วงที่ถูกเนรเทศอยู่นี้ ทรอสกีก็ยังคงคัดค้านสตาลินและลัทธิสตาลิน จนกระทั่งเขาถูกฆาตกรรมเสียชีวิตที่เม็กซิโกเมื่อปี ค.ศ. 1940 ลัทธิทรอสกีในฐานะที่เป็นอุดมการณ์ ได้เรียกร้องให้มีเอกภาพและให้มีความพยายามร่วมกันในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพทั่ว ทุกประเทศ เพื่อสถาปนาเครือจักรภพคอมมิวนิสต์โลกขึ้นมาให้ได้ ทรอสกีเชื่อว่า ที่การปฏิวัติรัสเซียล้มเหลวนั้นก็เพราะได้สร้างชนชั้นปกครองขึ้นในระบบข้า รัฐการให้มาคอยเอารัดเอาเปรียบและหักหลังฉกฉวยเอาผลประโยชน์ของชนชั้นกรรมกรไป


http://theoriesonpoliticsandethics.blogspot.com/2012/07/blog-post_27.html
http://eduvespa.wikispaces.com/ลัทธิคอมมิวนิสต์...คืออะไร


<< Go Back