<< Go Back
             สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
             1. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณสมบัติ จิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้ การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับความยุติธรรมจากรัฐ
              2. สาเหตุที่มนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เกิดจาก
                          1. มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตัวเอง
                          2. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
                          3. มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดมาเป็นมนุษย์
                          4. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน
             3. หลักการสำคัญที่สุดของสิทธิมนุษยชน คือ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ และกำหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน
             4. การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
                  1. สังคมไทยเป็นสังคมที่ต่างเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ จนกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นไทยโดยไม่มีการแตกแยก ยอมรับความหลากหลาย มีจิตใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน จึงไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องการแบ่งชนชั้น หรือเผ่าพันธุ์ แต่การละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยังปรากฏอย่างต่อเนื่อง เช่น การละเมิดสิทธิเด็ก เช่น การละเมิดทางเพศ แรงงาน ยาเสพติด อบายมุข ความรุนแรงในการลงโทษ การละเมิดสิทธิสตรี ในสังคมไทยยังปรากฏการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในครองครัว ความรุนแรงทางเพศในที่สาธารณะ ที่บ้าน ที่ทำงาน สถานกักกัน การล่อลวงทางอินเตอร์เน็ต โรงภาพยนตร์ บนรถเมล์
                  2. การเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน บุคคลควรมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนใน สังคมไทยต่อไปนี้
                          1. ศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่พัฒนาความรู้ ทักษะ ค่านิยมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                          2. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของตนเอง บุคลิกภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่
                          3. มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชาติบ้านเมืองอย่างมีอิสรเสรีภาพ
                          4. ใช้สิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมให้มีประสิทธิภาพ
                          5. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย


ที่มา : http://pr.prd.go.th/ubonratchathani/ewt_news.php?nid=604&filename=index

องค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย มีดังนี้
             1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
             2. ศาลต่าง ๆ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร
             3. มูลนิธิเพื่อพัฒนาเด็ก
             4. มูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน ซี.ซี.เอฟ
             5. มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
             6. มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี

องค์กรสิทธิมนุษยชน ระดับโลก
             1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
             2. กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (UNICEF)

ศาลในปัจจุบันจึงมีบทบาทในการให้ความยุติธรรมในด้านสิทธิมนุษยชน เช่น
             1. การคุ้มครองผู้เสียหายตามกฎหมาย
             2. สิทธิของพยานในคดีอาญาที่จะได้รับการคุ้มครองและปฏิบัติที่เหมาะสม
             3. ข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาไม่มีความผิด
             4. การจัดและคุมขังบุคคลใด ๆ ในคดีอาญาจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีคำสั่งหรือหมายศาล ยกเว้นการกระทำผิดซึ่งหน้า
             5. สิทธิของผู้ต้องหาในการให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
             วันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.1948 ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Right: UDHR) โดยสมัชชาแห่งสหประชาชาติ ถือเป็นการกำหนดมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ร่วมกับประเทศต่าง ๆ ให้การรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

สิทธิเด่น ๆ ที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
             สิทธิต่อชีวิต เสรีภาพและความปลอดภัยของบุคคล การศึกษา เสรีภาพทางความคิด มโนธรรมและศาสนา เสรีภาพแห่งความคิดเห็น การแสดงออก การมีงานทำ การแสวงหาและได้รับการลี้ภัย ในประเทศอื่น (เป็นต้น)

วันแห่งสิทธิมนุษยชนโลก ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม

หน่วยงานในสหประชาชาติ (UN) ที่รับผิดชอบปัญหาสิทธิมนุษยชน (HR) คือ
             สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน ที่เจนีวา ( ชื่อเดิมคือ Centre for Human Rights) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์


http://kittayaporn28.wordpress.com/โลกศึกษา-2/หน่วย-5/สิทธิมนุษยชน-human-right/

<< Go Back