<< Go Back

การตัดไม้ทำลายป่า
         การตัดไม้ทำลายป่าคือสภาวะของป่าตามธรรมชาติที่ถูกทำลายโดยการตัดไม้และการเผาป่า
         การตัดไม้ทำลายป่าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การนำต้นไม้และถ่านไม้มาใช้หรือจำหน่ายเป็นโภคภัณฑ์ ในระหว่างที่ทำการเลี้ยงสัตว์ เพาะปลูก และตั้งถิ่นฐาน บนพื้นที่ว่าง
         การตัดไม้โดยไม่ปลูกทดแทนด้วยจำนวนที่เพียงพอ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อที่อยู่อาศัย ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และปัญหาความแห้งแล้ง ซึ่งส่งผลเสียต่อการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโดยพืช บริเวณที่ป่าถูกทำลายโดยมากจะเกิดความเสียหายจากการพังทลายของหน้าดิน และพื้นที่มักจะด้อยคุณภาพลงจนกลายเป็นที่ดินที่ทำประโยชน์มิได้
         ปัจจัยบางประการที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าในระดับมหภาคคือ ความไม่เอาใจใส่หรือความไม่รู้คุณค่าที่แท้จริง ขาดการให้คุณค่า การจัดการป่าไม้ที่ไม่เข้มงวด และกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่บกพร่อง ในหลายประเทศ การตัดไม้ทำลายป่าเป็นปัญหาต่อเนื่อง ซึ่งนำไปสู่การสูญพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การกลายสภาพเป็นทะเลทราย และการย้ายถิ่นฐานของคนพื้นเมือง ในกลุ่มประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อประชากรต่ำสุดที่ 4,600 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีการจัดการไม่ให้อัตราสุทธิของการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มสูงขึ้น
สาเหตุของการตัดไม้ทำลายป่า
         สาเหตุที่เป็นต้นกำเนิดของการตัดไม้ทำลายป่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีมากมาย รวมถึงการทุจริตของหน่วยงานรัฐบาล การกระจายความมั่งคั่งและอำนาจอย่างไม่เสมอภาค การเพิ่มประชากรและมีประชากรมากเกินไป และการพัฒนาให้กลายเป็นเมือง บ่อยครั้งที่โลกาภิวัฒน์ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการตัดไม้ทำลายป่า แม้ว่าจะมีบางกรณีที่ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ (สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดจากขบวนการแรงงาน เงินทุน โภคภัณฑ์ และมโนคติ) ช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูป่าเฉพาะที่
         ในปีพ.ศ. 2543 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอเอฟโอ) พบว่า “บทบาทของพลศาสตร์ประชากรในสภาพชุมชนท้องถิ่นอาจมีหลากรูปแบบตั้งแต่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจไปจนถึงไม่มีส่วนร่วมด้วยเลย” และพบว่าการตัดไม้ทำลายป่าอาจเป็นผลมาจาก “การรวมกันของความกดดันทางประชากรและสภาวะเศรษฐกิจซบเซา สภาพทางสังคมและเทคโนโลยี”
ตามรายงานของสำนักงานเลขานุการของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) สาเหตุทางตรงที่มีผลมากที่สุดคือการเกษตร การกสิกรรมเพื่อการดำรงชีพมีส่วนในการตัดไม้ทำลายป่าถึงร้อยละ 48 การเกษตรเพื่อการค้ามีส่วนร้อยละ 32 การตัดไม้มีส่วนร้อยละ 14 และการตัดไม้เพื่อทำฟืนมีส่วนร้อยละ 5
         มีการสืบพบว่าแรงจูงใจทางเศรษฐกิจซึ่งทำให้การแปลงสภาพป่าให้ผลประโยชน์มากกว่าการอนุรักษ์ป่า เป็นการทำลายระบบนิเวศวิทยาของป่าเช่นกัน หน้าที่สำคัญหลายอย่างของป่าไม่มีตลาดรองรับ ดังนั้นจึงไม่เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนต่อผู้ครอบครองป่าหรือชุมชนที่พึ่งพิงป่าเพื่อสภาพความเป็นอยู่ที่ดีของตน
         ในทัศนคติของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ผลประโยชน์จากป่า เช่น การกักเก็บคาร์บอน หรือการสงวนความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นไปเพื่อกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นอันดับแรก และการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับผลประโยชน์เหล่านั้นยังไม่เพียงพอ ประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนารู้สึกว่าบางประเทศในกลุ่มที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ตัดไม้จากป่าในประเทศไปเมื่อหลายศตวรรษที่แล้วและได้รับผลประโยชน์มากมายจากการตัดไม้ทำลายป่า และนับว่าเป็นเรื่องที่คดโกงหากจะปฏิเสธไม่ให้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้รับโอกาสเช่นเดียวกับที่ตนเคยได้ ที่น่าสงสารคือพวกเขาไม่ควรต้องออกค่าใช้จ่ายในการอนุรักษ์ หากคนรวยเป็นผู้ก่อปัญญานั้น
         ผู้เชี่ยวชาญไม่เห็นด้วยว่าอุตสาหกรรมการตัดไม้มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าทั่วโลก ในทำนองเดียวกัน ไม่มีมติที่เป็นเอกฉันท์ว่าปัญหาความยากจนเป็นส่วนสำคัญในการตัดไม้ทำลายป่า บางกลุ่มโต้แย้งว่า คนยากจนมีทีท่าว่าจะถางพื้นที่ป่ามากกว่าเพราะไม่มีทางเลือก กลุ่มอื่น ๆ โต้แย้งว่าคนจนไม่สามารถจ่ายค่าวัสดุและแรงงานที่จำเป็นในการถางป่า จากที่กล่าวอ้างว่ามีการโต้แย้งว่าการเพิ่มของประชากรเป็นแรงผลักดันให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า รายงานการศึกษาฉบับหนึ่งพบว่าการเพิ่มของประชากรจากอัตราการเกิดสูง เป็นแรงผลักดันอันดับแรกที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าเพียงร้อยละ 8 จากหลายสาเหตุ
         นักวิจารณ์บางคนสังเกตเห็นการแปรเปลี่ยนของแรงผลักดันที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ส่วนมากการตัดไม้ทำลายป่าเกิดจากกิจกรรมเพื่อการดำรงชีพและโครงการเพื่อการพัฒนาที่รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน เช่น การย้ายถิ่นฐานในหลาย ๆ ประเทศ เช่น อินโดนีเซีย และประเทศที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นในละตินอเมริกา อินเดียและศรีลังกา ฯลฯ ในช่วงศตวรรษที่ 19 และช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 ในช่วงทศวรรษที่ 1990 การตัดไม้ทำลายป่าส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากปัจจัยทางด้านอุตสาหกรรม รวมถึงโรงงานสกัดวัตถุดิบ ฟาร์มปศุสัตว์ระดับมหภาค และการทำการเกษตรแบบดั้งเดิม

การควบคุมการตัดไม้ทำลายป่า

การลดก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า (Reducing Emissions from การตัดไม้ทำลายป่า and Forest Degradation - REDD)

         องค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญ รวมถึงองค์กรสหประชาชาติและธนาคารโลก ได้เริ่มพัฒนาโครงการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมการตัดไม้ทำลายป่า ขอบเขตของงานที่ครอบคลุมเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า (REDD) ช่วยอธิบายประเภทของโครงการ ซึ่งใช้เงินโดยตรงหรือใช้สิ่งจูงใจอื่นเพื่อกระตุ้นให้ประเทศกำลังพัฒนาจำกัดหรือลดปริมาณการตัดไม้ทำลายป่า
การทำไร่นา
         มีการพัฒนาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อให้ทำกสิกรรมได้อย่างประณีตขึ้น เช่น การปลูกผลผลิตลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูง การทำเรือนกระจก การทำสวนที่เป็นส่วนประกอบของอาคารอิสระ และการปลูกผักในน้ำ แนวทางเหล่านี้มักจะต้องพึ่งความช่วยเหลือจากสารเคมีเพื่อรักษาระดับการให้ผลผลิตในจำนวนที่ต้องการ การทำการเกษตรแบบหมุนเวียนช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน การทำการเกษตรอย่างประณีตอาจลดสารอาหารที่อยู่ในดินโดยการใช้แร่ธาตุจำนวนเล็กน้อยในอัตราเร่ง ซึ่งต้องใช้ในการทำให้ผลผลิตเติบโต

ที่มาของภาพ : http://region2.prd.go.th/ewt_news.php?nid=41611

การจัดการป่าไม้

         ความพยายามที่จะหยุดหรือชะลอการตัดไม้ทำลายป่ามีมาหลายศตวรรษ เพราะรู้กันมานานแล้วว่าการตัดไม้ทำลายป่าทำให้เกิดความเสียหายทางธรรมชาติ ในบางกรณีก็มากพอที่จะทำให้สังคมมนุษย์ล่มสลายไป ในตองกา ผู้ปกครองชั้นสูงสุดออกนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างรายได้ระยะสั้นจากการแปรสภาพป่าให้เป็นพื้นที่เพาะปลูก กับปัญหาการสูญเสียป่าไม้ระยะยาวที่อาจจะเกิดขึ้น ในระหว่างที่เมืองโทกุงะวะ ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงศตวรรษที่ 17 และ 18 โชกุนได้พัฒนาระบบที่มีความซับซ้อนสูงในการวางแผนระยะยาวเพื่อหยุดและพลิกผันสภาพการตัดไม้ทำลายป่าที่เกิดในศตวรรษที่ผ่านมา ผ่านการใช้ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ แทนการใช้ไม้ซุง และการใช้ที่ดินที่เคยทำการเกษตรมาหลายศตวรรษให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
         ในช่วงศตวรรษที่ 16 เจ้าของที่ดินในเยอรมนีพัฒนาแผนวนวัฒนาวิทยาเพื่อรับมือกับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า อย่างไรก็ตาม นโยบายเหล่านั้นมักจะมีขีดจำกัดทางด้านสิ่งแวดล้อมคือต้องมีฝนตกเพียงพอ ฤดูกาลไม่แห้งแล้ง และดินต้องใหม่มาก (เกิดจากปรากฏการณ์ภูเขาไฟหรือการเปลี่ยนสภาพของธารน้ำแข็ง) เพราะหากใช้ดินที่แก่และมีความอุดมสมบูรณ์น้อย ต้นไม้จะเติบโตช้าเกินไป เกินกว่าที่จะเพาะปลูกแบบวนวัฒนาวิทยาได้อย่างประหยัด ในขณะที่บริเวณที่มีฤดูแล้งมาก ๆ จะมีความเสี่ยงอยู่เสมอที่ไฟป่าจะทำลายผลิตผลจากต้นไม้ก่อนที่จะเติบโตเต็มวัย
ในพื้นที่ที่มีการตัดและเผาป่า หากเปลี่ยนเป็นการตัดและเผาให้เป็นถ่าน จะช่วยป้องกันปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าที่เกิดขึ้นอย่างฉับไวและปัญหาความเสื่อมโทรมของดินซึ่งตามมาภายหลัง ถ่านชีวภาพจึงเกิดขึ้นและส่งกลับลงไปสู่ดิน ซึ่งวิธีนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นวิธีที่มีเสถียรภาพในการแยกธาตุคาร์บอน แต่ยังเป็นการพัฒนาผืนดินที่มีประโยชน์อย่างมากอีกด้วย เมื่อผสมกับมวลชีวภาพในดินจะทำให้เกิดดินดำเทอรา พรีต้า หนึ่งในชนิดของดินที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก และเป็นชนิดเดียวที่รู้กันว่าสามารถฟื้นฟูตัวเองได้

การฟื้นฟูสภาพป่า

         ในหลาย ๆ พื้นที่บนโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การฟื้นฟูสภาพป่าและการปลูกป่าเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่า จำนวนของป่าไม้เพิ่มขึ้นใน 22 ประเทศจาก 50 ประเทศที่มีพื้นที่ป่าเยอะที่สุดในโลก ในช่วงปีพ.ศ. 2543-2548 เอเชียมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นทั้งหมด 1 ล้านเฮกตาร์ ป่าเขตร้อนในเอลซัลวาดอร์ขยายพื้นที่มากกว่าร้อยละ 20 ในช่วงปีพ.ศ. 2535-2544 และเนื่องจากกระแสดังกล่าวนี้ มีการศึกษานำเสนอว่า ป่าไม้ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 (เป็นพื้นที่ที่มีขนาดเท่าประเทศอินเดีย) ในปีพ.ศ. 2593 ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีการทำลายป่าในระดับมหภาค ในอดีตรัฐบาลกำหนดว่า พลเมืองทุกคนที่มีสุขภาพดี อายุตั้งแต่ 11-60 ปี ต้องปลูกต้นไม้ปีละ 3-5 ต้น หรือไม่ก็ช่วยเหลืองานทางด้านป่าไม้ในปริมาณเทียบเท่า รัฐบาลอ้างว่าอย่างน้อยจะปลูกต้นไม้ได้ 1 พันล้านต้นในประเทศจีนทุก ๆ ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2525 ทุกวันนี้ไม่ต้องมีข้อกำหนดนี้แล้ว ทว่าทุกวันที่ 12 มีนาคม ของทุกปี คือวันปลูกต้นไม้ของประเทศจีน นอกจากนั้นยังเป็นการแนะนำโครงการกำแพงสีเขียวของประเทศจีน ซึ่งมีเป้าหมายว่าจะหยุดยั้งการขยายตัวของทะเลทรายโกบีด้วยการปลูกต้นไม้

ที่มาของภาพ : http://media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/
viewcontent1.asp?pageid=471&directory=1822&contents=28611

<< Go Back