สัตว์ป่า ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 หมายถึง สัตว์ทุกชนิดทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์ปีก และแมลงหรือแมง ที่เกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือแหล่งน้ำธรรมชาติอย่างเสรี รวมทั้งไข่ของสัตว์ทุกชนิด ยกเว้นสัตว์พาหนะที่ได้จดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะและลูกที่เกิดมาภายหลัง
การจำแนกประเภทของสัตว์ป่า
ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 จำแนกสัตว์ป่าไว้ ดังนี้
1. สัตว์ป่าสงวน เป็นสัตว์ป่าหายากหรือกำลังจะสูญพันธุ์ จึงห้ามล่าหรือมีไว้ครอบครองทั้งสัตว์ที่ยังมีชีวิตหรือซากสัตว์ เว้นแต่จะกระทำเพื่อการศึกษาวิจัยทางวิชาการหรือมีไว้เพื่อกิจการสวนสาธารณะ โดยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้เป็นกรณีพิเศษ สัตว์ป่าสงวนมี 15 ชนิด คือ แรดหรือแรดชวา ละองหรือละมั่ง กวางผา เก้งหม้อหรือเก้งดำ แมวลายหินอ่อน พะยูน นกกระเรียน นกแต้วแร้วท้องดำ และนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
ที่มา:http://www.maceducation.com/e-knowledge/2343104100/01.htm
2. สัตว์ป่าคุ้มครอง คือ สัตว์ป่าที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ผู้ใดฝ่าฝืนล่า มีสัตว์ป่าหรือมีซากไว้ในครอบครอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่จะกระทำเพื่อประโยชน์ทางวิชาการตามที่ได้รับอนุญาต เช่น ช้างป่า กระทิง วัวแดง หมี เสือโคร่ง กวาง เก้ง กระจง ชะนี ลิง เม่น นกเงือก ค้างคาวกิตติ นกยูงไทย ไก่ฟ้า นกฮูก นกเป็ดน้ำ เต่าตะนุ คางคกต้นไม้ กบทูด ปูเจ้าฟ้า เป็นต้น
ที่มา:http://www.maceducation.com/e-knowledge/2343104100/01.htm
ประโยชน์ของสัตว์ป่า
สัตว์ป่ามีประโยชน์ต่อมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ มากมาย ดังนี้
1. การเป็นอาหาร มนุษย์ได้ใช้เนื้อของสัตว์ป่าเป็นอาหารมาเป็นเวลายาวนานแล้ว เช่น เก้ง ไก่ป่า หมูป่า สัตว์บางชนิดถือว่าเป็นอาหารบำรุงร่างกายหรือเชื่อกันว่ามีประโยชน์ เช่น รังนกนางแอ่น ดีหมี ดีงูเห่า บางชนิดถือเป็นอาหารพิเศษและหากินได้ยาก เช่น อุ้งตีนหมี สมองค่าง เป็นต้น
|
|
รังนกนางแอ่น |
อุ้งตีนหมี |
ที่มา:http://www.maceducation.com/e-knowledge/2343104100/01.htm |
2. ด้านเศรษฐกิจ ในอดีตการค้าสัตว์ป่าและซากสัตว์ป่า สามารถทำรายได้ให้แก่ประเทศได้มากมาย แต่มูลค่าลดลงอย่างมากในปัจจุบัน แต่ยังมีรายได้จากการขายมูลค้างคาวเพื่อทำปุ๋ย การเลี้ยงและรวบรวมพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อเก็บค่าบริการในการเข้าชม
ที่มา:http://www.maceducation.com/e-knowledge/2343104100/01.htm
3. ด้านวิชาการ สัตว์ป่ามีประโยชน์ในด้านการศึกษาชนิดและพันธุ์สัตว์ ใช้เพื่อการค้นคว้าและทดลองยาหรือวัคซีนก่อนที่จะนำมาใช้กับคน
ที่มา:http://www.maceducation.com/e-knowledge/2343104100/01.htm
4. ด้านการนันทนาการ สัตว์ป่าสามารถก่อให้เกิดความสุขให้แก่มนุษย์ได้หลายลักษณะ เช่น ความสามารถในการแสดงเลียนแบบมนุษย์ เช่น การฝึกลิง ช้าง สิงโต นกแก้ว ความสวยงามของสัตว์ เช่น นกยูง ความไพเราะของเสียง เช่น นกเขา นกกางเขน ความแปลกหรือหายาก เช่น นกกาฮัง นกไก่ฟ้า เป็นต้น
|
|
โชว์ช้าง |
นกยูง ความไพเราะของเสียง |
ที่มา:http://www.maceducation.com/e-knowledge/2343104100/01.htm |
|