อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวโรมันรับเอารูปการปกครองในระบอบสาธารณรัฐมาใช้ คือ ความบีบบังคับที่เคยได้รับเมื่อครั้ง
อยู่ภายใต้การปกครองของต่างชาติชาวอีทรัสกัน ในครั้งนั้นโรมอยู่ภายใต้ระบอบกษัตริย์ซึ่งเรียกว่า Rex กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดในทางการ
ทหารการปกครองและการศาสนามีอำนาจสูงสุดในการตรากฎหมาย ตลอดจนตัดสินคดีพิพาทต่างๆ การปกครองดังกล่าวเป็นการปกครอง
โดยบุคคลคนเดียวที่ได้รับมอบอำนาจสิทธิ์ขาด อาจด้วยความรังเกียจในระบอบดังกล่าว เมื่อเป็นอิสระ โรมจึงสถาปนาระบอบสาธารณรัฐ
ขึ้นปกครอง
คำว่า " สาธารณรัฐ " ในภาษาอังกฤษคือ repulic มาจากคำภาษาละตินอันเป็นภาษาของชาวโรมัน 2 คำคือ res + publica มีความหมาย
ว่า " ของประชาชน " ตามนัยนี้หมายความว่า อำนาจการปกครองเป็นของประชาชนซึ่งแตกต่างจากระบอบกษัตริย์ ที่อำนาจแกครองอยู่ที่
กษัตริย์ อย่างไรก็ตามการปกครองสาธารณรัฐโรมันสมัยต้นๆ อำนาจการปกครองยังไม่ได้อยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริงตามความ
หมายของชื่อ ทั้งนี้เพราะอำนาจการปกครองยังคงอยู่กับสภาเชเนทซึ่งประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นคนส่วนน้อย ต่อมาภายหลังเมื่อมีการขยาย
สิทธิพลเมืองโรมันกว้างขวางขึ้นทำให้ราฎรส่วนใหญ่มีสิทธิมีเสียงในการปกครองรูปแบบการปกครองของสาธารรรัฐโรมันจึงตรงกับ
ความหมายดังกล่าว องค์การทางการปกครองของสาธารณรัฐโรมันมีดังต่อไปนี้
1. กงสุล เป็นประมุขในทางการบริหาร มีจำนวน 2 คน มีอำนาจเท่าเทียมกันมีอำนาจเต็มที่ทั้งในยามสงครามและยามสงบมีอำนาจ
สูงสุดในด้านการทหาร ด้านนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ตำแหน่งกงสุลเลือกมาจากกลุ่มชนชั้นสูงของสังคมโรมันที่เรียกว่า พวกแพทร
เชียนโดยสภาราษฎรเป้นผุ้ลงมติเลือก อยู่ในตำแหน่งคราวละปี มีอำนาจซึ่งกันและกันได้ ในยามสงครามหรือยามฉุกเฉิน กงสุลอาจมอบ
อำนาจให้แก่บุคคลคนเดียวเรียกว่า ผู้เผด็จการหรือผุ้บัญชาการทัพ ทั้งนี้ดดนคำแนะนำยินยอมของสภาเชเนท ผุ้เผด้จการอยู่ในต่ำแหน่งไม่
เกิน 6 เดือน ในระหว่างอยู่ในต่ำแหน่งผู้เผด็จการมีอำนาจเด็ดขาดในทางการทหารมีสิทธิเรียกระดมและลงดทษผู้ประพฤติผิดวินัยได้เต็มที่
ในการปฏิบัติงานโดยทั่วไปกงสุลบริหารงานการปกครองด้วยความช่วยเหลือของสภาเชเนท
2. สภาเชเนท ประกอบด้วยสมาชิก 300 คนเรียกว่า เชเนเตอร์ หรือสมาชิกสภาเชเนทดำรงต่ำแหน่งตลอดชีพสมาชิกเหล่านี้เลือก
จากพวก แพทรีเชียน โดยกงสุล เป็ยผุ้แต่งตั้ง กงสุลที่ปฏิบัติหน้าที่ครบตามวาระหลังจะได้เป็นสมาชิกเชเนทโดยอัตโนมัติสภาเชเนทควบคุม
เกี่ยวกับกาคลังการต่างประเทศ การประกาศศึกสงครามทำหน้าที่ตัดสินคดีและมีสิทธิยับยั้งมติของสภาราษฎรในสมัยต้นๆของระบอบ
สาธารณรัฐ สภาเชเนทคุมอำนาจการปกครองทั้งนี้เพราะกงสุลมักขอความเห็นและคะแนะนำจากสภาเชเนทซึ่งนโยบายมักดำเนินไปเพื่อ
ประโยชน์ของพวกแพทริเชียนทั้งสิ้น
3. สภาราษฎร ประกอบขึ้นด้วยราฎรโรมันทั้งพวกแพทริเชียนและเพลเบียน เรียกว่า โคมิตาคิวริเอตา มีหน้าที่แต่งตั้งกงสุลและเจ้า
หน้าที่บริหารอื่นๆให้ความเห็นยินยอม หรือปฏิเสธกฎหมายที่กงสุลและสภาเชเนทนำเสนอ ทำหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทที่สำคัญๆ เป็นที่น่า
สังเกตว่าองค์กรทั้ง 3 เป้นองค์กรที่ทรงไว้ซึ่งอำนาจในการปกครองแต่ละองค์กรต่างระแวดระวังและคาน อำนาจซึ่งกันและกันมิให้องค์กร
ใดองค์กรหนึ่งมีอำนาจสูงสุดแต่เพียงฝ่ายเดีบงแต่ก็ทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ
การปกครองโดยวิธีดังกล่าวไม่เป้นที่พอใจของพวกเพลเบียนเท่าไรนัก ทั้งนี้เพราะพวกเพลเบียนยังถูกกีดกันจากตำแหน่งหน้าที่การ
งานในองค์กรที่ เป็นหัวใจของการปกครองคือกงสุล และสภาเชเนทในปี 450 ก่อนค.ศ มีการร่างกฎหมายเป็นลายลักอักษรขึ้นเป็นครั้งแรก
เรียกว่า กฏหมายสิบสองโต๊ะ (Law of the Twelve Tabbles) ระบุถึงสิทธิและหน้าที่ของพวกแพทริเชียนและเพลเบียน
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/92399
|