<< Go Back

สุเมเรียน
              ชนชาติสุเมเรียน (Sumerian) เป็นชนชาติแรกที่สร้างความเจริญขึ้นในบริเวณเมโสโปเตเมีย มีความเชื่อกันว่า ชาวสุเมเรียนได้อพยพ มาจากที่ราบสูงอิหร่านและได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณตอนล่างสุดของลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสตรงส่วนที่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย โดย เรียกบริเวณนี้ว่า ซูเมอร์ นักประวัติศาสตร์ถือว่า ซูเมอร์ คือ แหล่งกำเนิดของนครรัฐแห่งแรกของโลก
              ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุเมเรียนเริ่มแรกชีวิตแบบหมูบ้านเล็กๆ ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็นชีวิตในเมืองที่มีการปกครองในรูปแบบ นครรัฐ ระยะแรกชาวสุเมเรียนมีพระเป็นผู้ดูแลและควบคุมกิจการต่างๆในนครรัฐซึ่งพระจะมีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและเป็นประมุข สูงสุด เรียกว่า ปะเตชี ทำการปกครองในนามของพระเป็นเจ้าทำหน้าที่ควบคุมตั้งแต่การเก็บภาษีควบคุมการดูแลเกี่ยวกับการชลประทาน และการทำไร่
              3,500 ปี ก่อนคริสตกาล ชาวสุเมเรียนได้สร้างอารยธรรมของตนเมืองที่ก่อตัวขึ้นในเขตซูเมอร์ระยะนี้ได้แก่เมืองออร์ เมืองริเรค เมือง อิริดู เมืองลากาซ และเมืองนิปเปอร์ เมืองเหล่านี้เป็นศูนย์กลางของระบบชลประทานก่อตัวขึ้นได้สำเร็จเพราะประสิทธิภาพของระบบการ จัดการน้ำ เช่น การเก็บกักและการระบายน้ำ เมืองมีฐานะเป็นอิสระและเป็นศูนย์กลางของการปกครองที่ไม่ขึ้นตรงกันเรียกว่า นครรัฐ
              ชาวสุเมเรียนมีความเชื่อในการนับถือเทพเจ้าหลายองค์แต่ละนครรัฐจะมีเทพเจ้าประทับอยู่ในวัดใหญ่เรียกว่าซิกกูแรต ชาวสุเมเรียน เป็นผู้สร้างขึ้นเพื่อจัดให้เป็นศูนย์กลางของนครรัฐระยะแรกพระจะเป็นผู้ดูแลกิจการต่างๆในนครรัฐไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษี อาหาร ตลอด จนควบคุมดูแลเกี่ยวกับการชลประทานและการทำไร่นาต่อมาเมื่อเกิดการรบกันระหว่างนครรัฐอำนาจการปกครองจึงเปลี่ยนมาอยู่ที่นักรบ รือกษัตริย์ ซึ่งเป็นผู้เข้มแข็งสามารถปกป้องนครรัฐได้โดยจะทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการต่าง ๆ แทนพระสุดท้ายแล้วชาวสุเมเรียนในสมัย ของลูการ์ ซักกิซซี ก็ถูกซาร์กอนมหาราชผู้นำชาวอัคคาเดียนรุกรานจนต้องล่มสลายไป
พัฒนาการวัฒนธรรมสุเมเรียน 2 ระยะ คือ
              1. ระยะวัฒนธรรมอูเบด (Ubaid) ประมาณ 4250-3750 B.C. เป็นสมัยเริ่มอารยธรรมคนเมือง (Urban life)
              2. ระยะวัฒนะรรมอูรุค (Uruk) ประมาณ 3750-3000 B.C. เป็นสมัยของ
              ก. การประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม หรืออักษรลิ่มบนแผ่นดินเหนียวส่วนใหญ่ใช้ของมีคนกรีดลงบนหินแต่เนื่องจากหินหายากและไม่มี กระดาษพะไพรัสจึงต้อง เขียนลงบนดินเหนียวแล้วนำไปผึ่งแดดหรือเผาไฟให้แห้งแข็ง เครื่องมือที่ใช้คือ ไม้ หรือกก หรือเหล็กแหลม กด เป็นรูปลิ่มอักษร จึงถูกเรียกชื่อว่า "คูนิฟอร์ม" หรือตัวอัหษรรูปลิ่ม
              ข. การสร้างผลงานสถาปัตยกรรมเรียกว่า "ซิกกูแรท" ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างลักษณะคล้ายพิรามิดสร้างบนฐานที่ยกระดับจากพื้นดินข้าง บนทำเป็นวิหารเทพเจ้ามีบันไดทอดยอดขึ้นไป
              ค. การก่อสร้างด้วยอิฐและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ชาวสุเมเรียนได้สร้างผลงานก่อสร้างอื่นๆและทำปฏิทินจันทรคติ กำหนด เดือนหนึ่งมี 366 ½ วัน ปีหนึ่งมี 12 เดือน ปีของสุเมเรียนจึงมีเพียง 354 วัน ขณะที่ปีทางสุริยคติมี 366 ½ วัน เดือนของชาวสุเมเรียนแบ่งออก เป็น 4 สัปดาห์ๆ 7-8 วัน วันหนึ่ง แบ่งเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง (เท่ากับ 2 ชั่วโมงในปัจจุบัน) กลางคืน 6 ชั่วโมง การนับคือ หน่วย 60 ซึ่งตกทอด มาจนถึงปัจจุบัน เช่นการนับ 1 ชั่วโมงมี 60 นาที 1 นาทีมี 60 วินาที วงกลมมี 360 องศา (60 หกครั้ง)
ความเจริญของอารยธรรมสุเมเรียน
              1.การปกครองในรูปแบบของนครรัฐ ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสุเมเรียนเริ่มแรกจากชีวิตแบบหมูบ้านเล็กๆ ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็น ชีวิตในเมืองที่มีการปกครองในรูปแบบนครรัฐระยะแรกชาวสุเมเรียนมีพระเป็นผู้ดูแลและควบคุมกิจการต่างๆในนครรัฐพระจะมีอำนาจใน การปกครองแผ่นดินและเป็นประมุขสูงสุด เรียกว่า ปะเตชี (Patesi) ทำการปกครองในนามของพระเป็นเจ้าทำหน้าที่ควบคุมตั้งแต่การเก็บ ภาษี ได้แก่ ข้าวปลาอาหาร ตลอดจนควบคุมการดูแลเกี่ยวกับการชลประทานและการทำไล่ไถนาต่อมาเมื่อเกิดการแข่งขันและรบพุ่ง ระหว่างนครรัฐอำนาจการปกครองจึงมาอยู่ที่นักรบหรือกษัตริย์แทน กษัตริย์จะมีตำแหน่งเรียกว่า ลูกาล (Lugal) ซึ่งเป็นผู้เข้มแข็งสามารถสู้ รบป้องกันนครรัฐและทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจกรรมต่างๆแทนพระการปกครองแบบนครรัฐของชาวสุเมเรียนดังกล่าวนี้ นับได้ว่าเป็น นครรัฐแห่งแรกของโลกและยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตั้งถิ่นฐานของอารยธรรมบาบิโลเนีย อารยธรรมอัสซีเรียน อารยธรรมอิหร่าน รวม ทั้งอารยธรรมใกล้เคียงอย่างอียิปต์ด้วย
              2.ด้านชลประทาน ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่ได้สร้างระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งนี้เนื่องจากถิ่นฐานที่ชาวสุเมเรียน รุ่นแรกได้สร้างล้านเรือนนั้นทั่วทั้งแผ่นดินปกคลุมด้วยบริเวณพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์อันเกิดจากการทับถมของโคลนตมที่แม่น้ำพัดมาดินดัง กล่าวเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชผลทางเกษตรแต่ที่ยากลำบากคือ ปัญหาเรื่องน้ำ เพราะบริเวณเมโสโปเตเมียเกือบจะเรียกได้ว่าฝนไม่ตกเลย ทำให้พื้นที่ที่อยู่ห่างจากแม่น้ำ เป็นที่แห้งแล้งไม่เหมาะสมแก่การทำเพาะปลูกในขณะเดียวกันน้ำจะเอ่อขึ้นท่วมฝั่งทุกปีทำให้บริเวณที่อยู่ ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำชุ่มชื้น แฉะ น้ำขังเป็นเหมือนบึง ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าพื้นที่บางแห่งชื้นแฉะเกินไป บางแห่งแห้งแล้งเกินไป ซึ่งชาวสุเมเรียนที่เข้า มาในระยะแรกได้เห็นปัญหาดังกล่าว เมื่อพวกเขาได้ตัดสินใจตั้งรกรากในบริเวณนี้ก็จะต้องหาทางเอาชนะธรรมชาติ ด้วยการเปลี่ยนแปลง ธรรมชาติเพื่อให้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตของตนมากที่สุด กล่าวคือในขั้นแรกชาวสุเมเรียนได้สร้างนบใหญ่ขึ้นสองฝากฝั่งแม่น้ำยูเฟรติส สร้างคลองระบายน้ำ เขื่อนกั้นน้ำ ประตูน้ำ และอ่างเก็บน้ำเพื่อระบายน้ำออกไปให้ได้ไกลที่สุดและเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ยามที่ต้องการวิธี การควบคุมน้ำและจัดระเบียบน้ำดังกล่าวคือระบบชลประทานครั้งแรกของโลก ที่ชาวสุเมเรียนได้เป็นกลุ่มแรกที่ใช้งานระบบนี้
              3.ด้านการเพาะปลูก อารยธรรมสุเมเรียนมีความก้าวหน้ามาก มีการใช้คันไถเทียมด้วยวัวทำให้สามารถหว่านไถได้เป็นวริเวณกว้าง กว่าเดิมลำพังแต่การใช้จอบหรือเสียมการเพาะปลูกเหมือนกับการทำสวนครัวในบ้าน การประดิษฐ์คันไถเทียมด้วยวัวมีความสำคัญในแง่ที่ ว่ามนุษย์เริ่มรู้จักใช้และควบคุมที่มาของพลังงาน คือพลังงานของสัตว์นอกเหนือไปจากพลังงานที่มาจากตัวของมนุษย์เองนอกจากนี้ชาว สุเมเรียนยังประดิษฐ์เครื่องมือทางเกษตรดั้งเดิม เช่น เครื่องหยอดเมล็ดพืชซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้กันอยู่ในบางแห่งของโลก เครื่องหยอดเมล็ดพืช ทำงานโดยกรุยพื้นดินให้เป็นร่องก่อน ต่อจากนั้นค่อยๆ หยอดเมล็ดพืชลงในร่องโดยผ่านทางกรวยเล็กๆ เมื่อเมล็ดพืชลงไปอยู่ในดินแล้ว คน บังคับเครื่องมือจะเดินย่ำกลบเป็นอันเสร็จกรรมวิธีหยอดเมล็ดชาวสุเมเรียนนอกจากจะประสบความสำเร็จในการเพาะปลูกแล้วหลักฐาน ทางโบราณคดียังบ่งชี้ว่าพวกสุเมเรียนนิยมเลี้ยงสัตว์ โดยมีการทำนมเนย เนย และผ้าขนสัตว์เป็นต้น
              4.การเขียนตัวหนังสือ อารยธรรมสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกในดินแดนเมโสโปเตเมียที่รู้จักการเขียนหนังสือการเขียนตัวหนังสือของ ชาวสุเมเรียนจะใช้ไม้เสี้ยนปลายให้แหลมหรือใช้กระดูทำปลายให้มีลักษณะคล้ายรูปลิ่มกดลงบนแผ่นดินเหนียวที่ยังอ่อนอยู่ทำให้เกิดเป็น รอย แล้วนำไปตากแดดให้แห้งหรือเผาไฟตัวอักษรชนิดนี้เรียกว่าตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรือตัวอักษรรูปลิ่มและใช้ตัวอักษรนี้ เขียนข้อความต่างๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเขียนตัวอักษรของกรีกและโรมันในสมัยต่อมา
              5.วรรณกรรม ด้วยความสำเร็จในระบบการเขียนทำให้ชาวสุเมเรียนสามารถสร้างวรรณกรรมที่สำคัญเรื่องแรกของโลกซึ่งรู้จักอย่าง กว้างขวางและมีขนาดยาวที่ชื่อว่า มหากาพย์กิลกาเมช (Gilgamehsepic) เขียนบนแผ่นดินเผาขนาดใหญ่ 12 แผ่น รวมด้วยกันทั้งสิ้น 3000 บรรทัด
              6.ด้านคณิตศาสตร์ ชาวสุเมเรียนเป็นพวกแรกที่คิดค้นวิธีการคิดเลข ทั้งการลบ การบวก และการคูณ ชาวสุเมเรียนนิยมใช้หลัก 60 และหลักนี้เองถูกนำมาใช้ในเรื่องการนับเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบันรวมทั้งการแบ่งวงกลมออกเป็น 360 องศา (6 x 60) ด้วย
              7.การสร้างระบบชั่งตวงวัดและปฏิทินชาวสุเมเรียนรู้จักการใช้ระบบการชั่ง ตวง วัดเป็นอย่างดีมาตราชั่ง ตวง วัด ของชาวสุเมเรียน แบ่งเป็น เชคเคิล (shekel) มีน่า (Mina) และทาเลน (talent) โดยใช้หลัก 60 คือ 60 เชคเคิล เป็น 1 มีน่า , 60 มีน่า เป็น 1 ทาเลน สำหรับการสร้าง ปฏิทิน พระชาวสุเมเรียนได้คิดค้นหลักใหญ่ของปฏิทินขึ้นเป็นครั้งแรก ทั้งนี้โดยอาศัยการเฝ้าสังเกตการโคจรของดวงจันทร์ปฏิทินของชาว สุเมเรียนเป็นปฏิทินแบบจันทรคติ ปีหนึ่งมี 12 เดือน เดือนหนึ่งมี 29 1/2 วัน ปีของชาวสุเมเรียนจึงมีเพียง 354 วัน วึ่งคลาดเคลื่อนกับปีตาม แบบสุริยคติซึ่งมี 365 1/4 วัน เดือนของชาวสุเมเรียนแบ่งออกเป็น 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 7 - 8 วัน วันหนึ่งแบ่งออกเป็นกลางวัน 6 ชั่วโมง และ กลางคืน 6 ชั่วโมง (1 ชั่วโมงเทียบเท่า 2 ชั่วโมงในปัจจุบัน)
              8.ด้านสถาปัตยกรรม ชาวสุเมเรียนได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเริ่มการใช้อิฐในการก่อสร้างอย่างกว้างขวางโดยมีการทำอิฐขึ้นจากดินเหนียว ซึ่ง มีอยู่มากมายโดยการใช้แทนหินวึ่งเป็นของหายาก อิฐของสุเมเรียนมี 2 ประเภท คือ ประเภทตากแห้งและประเภทอบความร้อนหรือเผาไฟ ชนิดแรกจะไม่ทนความชื้นใช้ในการก่อสร้างอาคารส่วนที่ไม่กระทบต่อความชื้นแฉะอิฐชนิดอบความร้อนหรือเผาจะทนความชื้นได้ดีใช้ ก่อส่วนล่างของอาคาร เช่น ยกพื้นฐานรากและกำแพงเป็นต้น การพัฒนาอิฐจนมีคุณภาพดี ทำให้ชาวสุเมเรียนได้สร้างนครรัฐของตนขึ้น โดย สร้างกำแพงอิฐขึ้นล้อมรอบบริเวณที่เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของนครรัฐ ได้แก่ บริเวณที่เป็นวัดหรือที่ศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นที่ประทับของพระเป็น เจ้า ตรงมุมด้านหนึ่งของบริเวณอันศักดิ์สิทธิ์มีสิ่งก่อสร้างที่มีรูปร่างคล้ายๆ พีระมิดของอียิปต์ เรียกว่า ซิกกูแรต (Ziggurat) หรือ "หอคอย ระฟ้า" สร้างเป็นหอสูง ขนาดใหญ่ ลดหลั่นเป็น 3 ระดับ ยอดบนสุดเป็นวิหารเทพเจ้าสูงสุดประจำนครรัฐ เบื้องล่างถัดจาก "หอคอยระฟ้า" ลงมาเป็นที่ตั้งของวัดวาอารามพระราชวังของกษัตริย์สุสานหลวงที่ทำการตามความนึกคิดของพวกสุเมเรียน ชาวสุเมเรียนบูชาเทพเจ้า หลายองค์ และแต่ละนครรัญจะมีพระเป็นเจ้า ผู้เป็นองค์อุปถัมภ์นครรัฐนั้น โดยเฉพาะประทับอยู่ ณ วัดใหญ่ที่เรียกว่า ซิกกูแรต ประชาชน มีหน้าที่ดุแลทำนุบำรุงวัดในรูปของภาษีหรือเครื่องพลีซึ่งนำมาถวายวัดผ่านทางพระหรือนักบวชผู้มีหน้าที่ดูแล

ที่มา : http://civilizationwe.blogspot.com/2012/07/blog-post.html
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-3/no25/sec01p03.html

<< Go Back