อินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลกบางทีเรียกว่า แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุอาจแบ่งยุคสมัยทางประวัติ
ศาสตร์ของอินเดียได้ดังนี้
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ
- เมืองโมเฮนโจดาโร ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน
-
เมืองฮารับปา ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน
2. สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มเมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ โดยชนเผ่าอินโด-อารยัน ซึ่งตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำคงคา แบ่ง
ได้ 3 ยุค
3. ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่กำเนิดตัวอักษร บรามิ ลิปิ สิ้นสุดสมัยราชวงศ์ คุปตะ เป็นยุคที่ศาสนาพราหมณ์
ฮินดู และพุทธศาสนา ได้ถือกำเนิดแล้ว
4. ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์คุปตะสิ้นสุดลง จนถึง ราชวงศ์โมกุลเข้าปกครองอินเดีย
5.
ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์โมกุลจนถึงการได้รับเอกราชจากอังกฤษ
อารยธรรมอินเดีย
- อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
- เป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเผ่าดราวิเดียน
- ศูนย์กลางอยู่ที่เมือง โมเฮนโจดาโร และเมืองฮารับปา
สมัยพระเวท
- เป็นอารยธรรมชนเผ่าอารยัน ที่เข้ายึดครองดราวิเดียนหรือชาวทราวิฑที่ถูกขับไล่ให้ถอยร่นลงทางใต้
- ชาวอารยันให้กำเนิดศาสนาพราหมณ์ และ ระบบวรรณะ 4
สมัยพุทธกาล
- เกิดศาสนาพุทธ และมีการใช้ภาษาบาลี (มคธ)
- เกิดศาสนาเชน ผู้ก่อตั้งคือ วรรธมาน มหาวีระ
สมัยราชวงศ์เมารยะ
- พระเจ้าจันทรคุปต์ ได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพูทวีปให้เป็นปึกแผ่น
- เริ่มการปกครองโดยรวบอำนาจไว้ที่กษัตริย์และเมืองหลวง
- พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งสมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนาในแว่นแคว้นต่างๆ
- หลังราชวงศ์เมารยะล่มสลาย เกิดการแตกแยกเป็นแว่นแคว้น
สมัยราชวงศ์กุษาณะ
- พวกกุษาณะเป็นชนต่างชาติที่เข้ามารุกราน และตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ
- ด้านการแพทย์เจริญมากในสมัยพระเจ้ากนิษกะ
- ส่งสมทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนานิกายมหายานที่จีนและธิเบต
สมัยราชวงศ์คุปตะ
- พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง
- เป็นยุคทองของอินเดียทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง ปรัชญา ศาสนา
สมัยจักรวรรดิโมกุล
- พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุล นับถือศาสนาอิสลาม
- เป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย
- พระเจ้าอักบาร์มหาราช ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองทุกด้าน และทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา
สร้างสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติ
- พระเจ้าซาร์ เจฮัน ทรงเป็นมุสลิมที่เคร่งครัดและศรัทธาในศาสนาอิสลาม เป็นผู้สร้าง ทัชมาฮาล ที่มีความงดงามยิ่ง
สมัยอาณานิคมอังกฤษ
- ปลายสมัยอาณาจักรโมกุล กษัตริย์ทรงใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ต้องเพิ่มภาษีและเพิ่มการเกณฑ์แรงงานทำให้ราษฎรอดอยากและ
ยังกดขี่ทำลายล้างศาสนาฮินดูและชาวฮินดูอย่างรุนแรง
-
เกิดความแตกแยกภายในชาติ เป็นเหตุให้อังกฤษค่อยๆเข้าแทรกแซงและครอบครองอินเดียทีละเล็กละน้อย
-
ในที่สุดอังกฤษล้มราชวงศ์โมกุลและครอบครองอินเดียในฐานะอาณานิคมอังกฤษ
สมัยเอกราช
- หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการชาตินิยมอินเดียนำโดยมหาตมะ คานธีและเยาวราลห์ เนห์รูเป็นผู้นำเรียกร้องเอกราช
-
มหาตมะ คานธี ใช้หลักอหิงสา (ความไม่เบียดเบียน ความสงบ) ในการเรียกร้องเอกราชจนประสบความสำเร็จ
-
หลังจากได้รับเอกราชอินเดียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
-
จากความแตกแยกทางเชื้อชาติและศาสนาทำให้อินเดียต้องแตกแยกเป็นอีก 2 ประเทศคือ ปากีสถาน(เดิมคือปากีสถาน
ตะวันตก)และบังคลาเทศ (ปากีสถานตะวันออก)
ศิลปกรรมอินเดีย มักเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา
ด้านสถาปัตยกรรม
- ซากเมืองฮารับปาและโมเฮนโจดาโร ทำให้เห็นว่ามีการวางผังเมืองอย่างดี มีสาธารณูประโภคอำนวยความสะดวกหลาย
อย่าง เช่น ถนน บ่อน้ำ ประปา ซึ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม
-
ซากพระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรและตักศิลา สถูปและเสาแปดเหลี่ยมที่สำคัญคือสถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ)
-
สุสานทัชมาฮาล สร้างด้วยหินอ่อน เป็นการผสมระหว่างศิลปะอินเดียและเปอร์เชีย
ด้านประติมากรรม เกี่ยวข้องกับศาสนา
- พระพุทธรูปแบบคันธาระ
-
พระพุทธรูปแบบมถุรา
-
พระพุทธรูปแบบอมราวดี
-
ภาพสลักนูนที่มหาพลิปุลัม ได้รับการยกย่องว่ามหัศจรรย์
จิตรกรรม
-
สมัยคุปตะ และหลังสมัยคุปตะ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอินเดียพบงานจิตรกรรมที่ ผนังถ้ำอชันตะ เป็นภาพเขียนใน
พระพุทธศาสนาแสดงถึงชาดกต่างๆ ที่งดงามมาก ความสามารถในการวาดเส้นและการอาศัยเงามืดบริเวณขอบภาพ ทำให้ภาพ
แลดูเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกสมจริง
นาฏศิลป์
-
เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อบูชาเทพเจ้าตามคัมภีร์พระเวท
สังคีตศิลป์
- ทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ถือเป็นแบบแผนการร้องที่เก่าแก่ที่สุดใน สังคีตศิลป์ของอินเดีย แบ่งเป็นดนตรีศาสนา
ดนตรีในราชสำนักและดนตรีท้องถิ่นเครื่องดนตรีสำคัญ คือ วีณา หรือพิณ ใช้สำหรับดีด เวณุ หรือขลุ่ย และกลอง
การแพร่ขยายและการถ่ายทอดอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดีย แพร่ขยายออกไปสู่ภูมิภาคต่างๆทั่วทวีปเอเชีย โดยผ่านทางการค้า ศาสนา การเมือง การทหาร และได้
ผสมผสานเข้ากับอารยธรรมของแต่ละประเทศจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมสังคมนั้นๆ
ในเอเชียตะวันออก พระพุทธศาสนามหายานของอินเดียมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อชาวจีนทั้งในฐานะศาสนาสำคัญ และใน
ฐานะที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะของจีน
ภูมิภาคเอเชียกลาง อารยธรรมอินเดียที่ถ่ายทอดให้เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 เมื่อพวกมุสลิมอาหรับ ซึ่งมีอำนาจใน
ตะวันออกกลางนำวิทยาการหลายอย่างของอินเดียไปใช้ ได้แก่ การแพทย์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นต้น ขณะเดียวกันอินเดียก็
รับอารยธรรมบางอย่างทั้งของเปอร์เชียและกรีก โดยเฉพาะด้านศิลปกรรม ประติมากรรม เช่น พระพุทธรูปศิลปะคันธาระซึ่งเป็น
อิทธิพลจากกรีก ส่วนอิทธิพลของเปอร์เชีย ปรากฏในรูปการปกครอง สถาปัตยกรรม เช่น พระราชวัง การเจาะภูเขาเป็นถ้ำเพื่อ
สร้างศาสนสถาน
ภูมิภาคที่ปรากฏอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียมากที่สุดคือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้า พราหมณ์ และภิกษุสงฆ์ชาว
อินเดียเดินทางมาและนำอารยธรรมมาเผยแพร่ อารยธรรมที่ปรากฏอยู่มีแทบทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านศาสนา ความเชื่อ การ
ปกครอง ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธ ได้หล่อหลอมจนกลายเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้
ที่มา : http://202.143.144.83/~skb/computor/ganjana/east_india_data.htm