<< Go Back

ที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=32&chap=4&page=t32-4-infodetail02.html

องค์การระหว่างประเทศ

        องค์การระหว่างประเทศเริ่มแรกเกิดจากความร่วมมือของประมุขของประเทศในยุโรปหลังสงครามนโปเลียนสิ้นสุดลง เกิดการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (congress of vienna 1815) องค์การระหว่างประเทศเกิดขึ้นครั้งแรก ต่อมาเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติขึ้นจัดเป็นองค์การระหว่างประเทศทางานเฉพาะด้านเป็นส่วนใหญ่ องค์การระหว่างประเทศ ทางด้านสังคมมีบทบาทในการวางมาตรฐานการปฏิบัติของรัฐ วางระเบียบกฎเกณฑ์ในการติดต่อระหว่างประเทศและการให้บริการ ส่วนองค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ ดูแลให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหา องค์การระหว่างประเทศทางการเมือง ทาหน้าที่รักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างนานาชาติ

          1. ความหมายขององค์การระหว่างประเทศ

องค์การระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่ประเทศหรือรัฐ ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการดาเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐสมาชิกและมวลมนุษยชาติ

          2. ความสำคัญขององค์การระหว่างประเทศ

การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศเป็นไปด้วยความสมัครใจของรัฐที่จะอยู่รวมกลุ่มกันโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน องค์การระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญดังนี้

          2.1 เป็นหน่วยงานที่มีตัวแทนของรัฐมาประชุมพบปะกัน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแสวงหาสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน 2.2 ดาเนินการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นเวทีสาหรับรัฐต่าง ๆ มาร่วมตกลงประสานผลประโยชน์ระหว่างกัน 2.3 รัฐได้รู้ถึงความจาเป็นที่จะต้องสร้างเครื่องมือที่เป็นสถาบันและวิธีการที่เป็นระบบ การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ จึงเป็นทางออกของรัฐในการจัดระเบียบความสัมพันธ์และวางหลักเกณฑ์สาหรับใช้ในการปฏิบัติต่อไป

          3. บทบาทขององค์การระหว่างประเทศ บทบาทสำคัญมีทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง

          3.1 บทบาทขององค์การระหว่างประเทศทางด้านสังคม องค์การระหว่างประเทศทางสังคม มีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาทางสังคม วัฒนธรรมและมนุษยธรรม อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี เพื่อก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าและดารงชีวิตอย่างมีความสุขของมวลมนุษยชาติ บทบาทที่สำคัญ มีดังนี้

          3.1.1 วางมาตรฐานการปฏิบัติของรัฐในเรื่องเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐ เช่น สิทธิมนุษยชน แรงงาน
          3.1.2 วางระเบียบกฎเกณฑ์ในการติดต่อระหว่างประเทศขึ้น เพื่อให้สามารถติดต่อกันสะดวก ราบรื่น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น สหภาพไปรษณีย์สากล
          3.1.3 การให้บริการด้านต่าง ๆ เช่น การให้ข่าวสาร การบรรเทาทุกข์ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ การให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

          3.2 บทบาทขององค์การระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ
มีบทบาทมุ่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจของสังคมโลก ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและให้ปฏิบัติตามกติกา โดยมีบทบาทที่สำคัญดังนี้           3.2.1 เป็นตัวกลางทางการเงิน ตลอดจนอานวยความสะดวกด้านการเงิน
          3.2.2 ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศที่กาลังพัฒนานาไปลงทุนพัฒนาประเทศ มีกองทุนเงินตราต่างประเทศให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อแก้ไขปัญหา
          3.2.3 วิจัยและวางแผน เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของสังคมไทย และให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้เหมาะสม
          3.2.4 แนะนาการแก้ไขปัญหาเงินตรา วางระเบียบเกี่ยวกับการกาหนดมูลค่าของเงินตรา
          3.2.5 ให้ความช่วยเหลือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ

          3.3 บทบาทขององค์การระหว่างประเทศทางด้านการเมือง เป็นบทบาทที่มุ่งเพื่อรักษา สันติภาพและประสานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ให้เกิดความมั่นคง โดยมีบทบาทที่สาคัญดังนี้
          3.3.1 ส่งเสริมให้เกิดสันติภาพและรักษาความมั่นคงร่วมกัน โดยให้ความสาคัญกับกองกาลังรักษาสันติภาพ ทาหน้าที่รักษาสันติภาพในบริเวณพื้นที่ที่มีข้อพิพาท
          3.3.2 ยุติกรณีพิพาทด้วยสันติวิธี โดยวิธีการทางการทูต การไกล่เกลี่ย การเจรจาและการประนีประนอม
          3.3.3 สนับสนุนให้ดินแดนอาณานิคมได้รับเอกราชปกครองตนเอง ด้วยหลักการกาหนดโดยตนเอง
          3.3.4 สนับสนุนการลดกาลังอาวุธและการควบคุมอาวุธ การห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงร่วมกัน

          4. ลักษณะขององค์การระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศจัดแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ
          4.1 ยึดถือตามบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงาน เป็นการแบ่งตามภารกิจที่ปฏิบัติในการให้ความร่วมมือ จึงแบ่งออกเป็นองค์การระหว่างประเทศทางสังคม ทางด้านเศรษฐกิจ และทางด้านการเมือง แต่บางองค์การมีเปูาหมายในการดาเนินงานครอบคลุมทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เช่น องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การที่มีสมาชิกจากทุกภูมิภาคของโลก และมีบทบาทสูงมากในสังคมโลกปัจจุบัน
          4.2 ยึดถือตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ เป็นการแบ่งตามลักษณะของการรวมกลุ่มโดยยึดเขตพื้นที่ของสมาชิกเป็นเกณฑ์ จึงแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับโลก หรือระดับสากล เป็นองค์การที่มีสมาชิกมาจากเขตพื้นที่โลก เช่น องค์การสหประชาชาติ และองค์การระดับภูมิภาค ยึดหลักเข้ามารวมกันตามข้อผูกพันทางภูมิศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม ซี่งสมาชิกจะรวมกลุ่มอยู่ในภูมิภาคนั้น ๆ เช่น องค์การอาเซียน เป็นการรวมกลุ่มในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

          5. องค์การระหว่างประเทศด้านสังคม

องค์การระหว่างประเทศด้านสังคม หมายถึง หน่วยงาน ที่มีบทบาทและหน้าที่ในการแก้ปัญหาระหว่างประเทศด้านสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในทางสังคมของประชาชาติทั้งปวง องค์การระหว่างประเทศด้านสังคมที่สำคัญมีดังนี้

          5.1 สานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees : (UNIHCR) ผู้ลี้ภัย หมายถึง ผู้ลี้ภัยจากสงคราม การปฏิวัติภัยธรรมชาติ รวมตลอดถึงบุคคลบางกลุ่มที่หวาดกลัวว่าจะถูกข่มเหง รังแก หรือถูก ด้วยเหตุผลของความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนาหรือความคิดเห็นทางการเมือง ไม่อาจยอมรับสภาพความเป็นอยู่บางอย่างได้ จึงเกิดการอพยพออกจากประเทศของตนไปยังดินแดนของประเทศอื่น กลุ่มบุคคลเหล่านี้เรียกว่า ผู้ลี้ภัย

          5.1.1 บทบาทและการดาเนินงานของสานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ บทบาทสำคัญ คือการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลี้ภัย บุคคลที่อยู่ในฐานะที่จะได้รับความคุ้มครองในฐานะผู้ลี้ภัย ได้แก่ บุคคลที่ได้รับการพิจารณาแล้วว่าเป็นผู้ลี้ภัย และมีความวิตกว่าอาจจะได้รับอันตรายด้วยสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ และยุติการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้คุ้มครองดังกรณีต่อไปนี้
          1) ได้ใช้สิทธิสืบเนื่องจากความคุ้มครองจากรัฐแห่งสัญชาติของตน
          2) ได้รับสัญชาติเดิมคืนมาด้วยความสมัครใจ หลังจากได้สูญเสียสัญชาตินั้นไป
          3) ได้มาซึ่งสัญชาติใหม่ และได้รับความคุ้มครองจากรัฐแห่งสัญชาติใหม่ของตน
          4) ได้กลับเข้าไปตั้งถิ่นฐานด้วยความสมัครใจในรัฐที่ตนได้จากมา หรือรัฐที่ตนอยู่ภายนอกอาณาเขตเนื่องจากความหวาดกลัวจากการประหาร
          5) ไม่อาจปฏิเสธที่จะได้ใช้สิทธิ สืบเนื่องจากความคุ้มครองจากรัฐแห่งสัญชาติของตน เนื่องจากสถานการณ์ที่ทาให้ถือได้ว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ลี้ภัยได้สิ้นสุดลงแล้ว
          6) เป็นบุคคลไร้สัญชาติ ซึ่งสามารถกลับสู่รัฐที่เดิมตนมีถิ่นฐานพานักประจาได้ เนื่องจากสถานการณ์ที่ทาให้ถือได้ว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ลี้ภัยได้สิ้นสุดลงแล้ว

          5.1.2 วัตถุประสงค์ในการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลี้ภัยมีดังนี้
          1) ดำเนินการให้ผู้ลี้ภัยได้มีที่อยู่อาศัยอย่างถาวร
          2) ดำเนินการให้ผู้ลี้ภัยได้รับสิทธิอยู่อาศัยในฐานะคนต่างด้าว เพราะเหตุที่พวกเขาไม่ได้รับความคุ้มครองจากตัวแทนรัฐบาลของประเทศตน
          3) ดำเนินการให้ผู้ลี้ภัยได้รับในฐานะและสิทธิใกล้เคียงกับพลเมืองของประเทศที่ตนเข้าไปพักอาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในฐานะพลเมือง สิทธิด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

          5.1.3 หลักการให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยการปฏิบัติการให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัย แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ ให้ความคุ้มครองโดยทางตรง คือ ให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มบุคคลในกรณีขอลี้ภัยไม่ได้ถูกขับไล่ หรือจากการถูกผลักดันด้วยความไม่สมัครใจ และรวมถึงการออกเอกสารหนังสือเดินทางให้แก่ผู้ลี้ภัย และให้ความคุ้มครองโดยทางอ้อม โดยการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการปรับปรุงข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวกับผู้ลี้ภัยให้ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับข้อตกลงตามกฎหมายระหว่างประเทศ

          5.2 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) การจัดตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ เริ่มตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ทาให้เกิดสภาพการทางานที่ไม่เหมาะสมในโรงงาน และนักวิชาการได้ตระหนักถึงความสำคัญด้านมนุษยธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความปลอดภัยในการทางาน ค่าแรง และสภาพการทางาน ในปี ค.ศ. 1870 สภาแรงงานช่างฝีมือในยุโรปได้ก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศเรียกว่า สานักเลขาธิการสหภาพแรงงานช่างฝีมือ ในปี ค.ศ. 1900 ได้มีการก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศเพื่อตรากฎหมายแรงงาน รณรงค์ให้มีมาตรการด้านแรงงานระหว่างประเทศ และแก้ไขสภาพการทางานที่ไม่เหมาะสม ต่อมาได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกฎหมายแรงงานระหว่างประเทศขึ้นเมื่อตั้งองค์การสหประชาชาติ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจึงเป็นทบวงการชานัญพิเศษองค์แรกขององค์การสหประชาชาติในปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 145 ประเทศ

          5.2.1 บทบาทและการดาเนินงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
          1) การวางรากฐานทางด้านแรงงานระหว่างประเทศ เป็นกิจกรรมหลักขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ทางด้านสิทธิมนุษยชน เช่น ความปลอดภัยในการทางาน ค่าแรงที่ยุติธรรมและสภาพการทางานที่เหมาะสม
          2) การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิควิทยาการ คือการช่วยเหลือในการยกร่างกฎหมายแรงงานภายในประเทศสมาชิก ให้คาแนะนาในการบริหารด้านแรงงาน และให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิควิทยาการ ในการปรับปรุงเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสมาชิก
          3) การให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาและฝึกอบรม ในด้านการประเมินแหล่งกาลังคน และความต้องการด้านกาลังคน ให้ความช่วยเหลือในการวิเคราะห์ตลาด ให้คาแนะนาด้านแรงงานจัดให้มีการทดสอบความรู้ด้านวิชาชีพ การวิเคราะห์แรงงาน โดยเฉพาะการฝึกอบรมทางวิชาชีพ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองตูริน ประเทศอิตาลี
          4) ด้านการวิจัยและข้อมูลข่าวสาร มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านแรงงาน มีการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลของกลุ่มแรงงาน และเผยแพร่ข่าวสารให้กับประเทศสมาชิกในรูปแบบเอกสาร และสื่อต่าง ๆ รวมทั้งกฎหมายเพื่อความปลอดภัย และสุขภาพในการทางาน

          5.3 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization :WHO) ในศตวรรษที่ 19 องค์การอนามัยโลก ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อเกิดอหิวาตกโรคระบาดจากการเดินทางของชาวมุสลิมจากแอฟริกาเหนือ เดินทางผ่านยุโรปเพื่อไปแสวงบุญ ณ กรุงเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ทาให้เกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง ในยุโรปมีผู้คนล้มตายเป็นจานวนมาก ประเทศต่าง ๆ ได้หาวิธีการปูองกันฝรั่งเศสได้จัดตั้งสถานีอนามัยในดินแดนตะวันออกกลาง และได้ร่วมกันตั้งคณะมนตรีทางอนามัยระหว่างประเทศมีการประชุมกันที่ตุรกี ในปี ค.ศ. 1907 จัดตั้งองค์การสาธารณสุขระหว่างประเทศได้ผลสาเร็จ เพื่อดาเนินการด้านอนามัย ประกอบด้วย 12 ประเทศ มีสานักงานใหญ่ที่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโรค และเกิดปัญหาสุขภาพอนามัยในปี ค.ศ. 1948 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมขององค์การสหประชาชาติได้มีมติจัดตั้ง องค์การอนามัยโลกขึ้น ประกอบด้วยสมาชิก จานวนกว่า 150 ประเทศ มีสานักงานใหญ่ที่อยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

          5.3.1 บทบาทและการดาเนินงานขององค์การอนามัยโลก
          1) ต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บ ทาหน้าที่ควบคุมการแพร่ขยายของเชื้อโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคระบาด โดยการกาจัด ควบคุมการแพร่ขยายของเชื้อโรค ปรับปรุงสภาวะความเป็นอยู่ที่ไม่เหมาะสมอันเป็นเหตุนามาซึ่งการเกิดโรคระบาด
          2) ด้านการสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก ได้มีบทบาทอย่างมากในการช่วยเหลือด้านการสาธารณสุข คือ พัฒนากิจการของโรงพยาบาลในประเทศต่าง ๆ โครงการพื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ผู้ปุวย โดยเฉพาะผู้ปุวยที่เป็นคนพิการ รณรงค์เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพอนามัยในการประกอบอาชีพและกาหนดมาตรฐานยาและเคมีภัณฑ์
          3) ด้านการให้การศึกษาและอบรม ในด้านการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย โดยให้การศึกษาและฝึกอบรมแก่บุคลากรด้านสาธารณสุขให้แก่ประเทศสมาชิก รวมทั้งส่งเสริมให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนทั่วไป
          4) ด้านการวิจัยและข้อมูลข่าวสาร ได้มีการวิจัยเพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย เป็นการวิจัยเกี่ยวกับเชื้อโรคต่าง ๆ วิธีการกาจัด และรักษาโรคและเป็นศูนย์กลางด้านข้อมูลข่าวสารและเผยแพร่ความรู้ด้านการอนามัยโลก

          5.4 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization : FAO) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ เกิดขึ้นจากการดาเนินการด้านเกษตรอันเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ  และมีการประชุมระหว่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางการเกษตร ในปี ค.ศ. 1905 ได้จัดตั้งสถาบันการเกษตร ระหว่างประเทศที่กรุงโรมประเทศอิตาลีมีบทบาทในการส่งเสริมเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรด้านอาหาร และเป็นศูนย์กลางรวบรวมแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเกษตร ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดปัญหาขาดแคลนอาหารอันเนื่องมาจากภาวะสังคมถึงขั้นต้องมีการแบ่งปันอาหารกัน สหรัฐอเมริกาจึงได้จัดให้มีการประชุมทางด้านโภชนาการเพื่อขจัดความหิวโหย และการบริโภคไม่ถูกหลักวิชาการ ในปี ค.ศ. 1941 และใน ค.ศ. 1946 สมัชชาใหญ่ขององค์การสหประชาชาติได้มีมติรับรองให้องค์การอาหาร  และเกษตรเข้าร่วมในองค์การสหประชาชาติ  มีประเทศสมาชิกรวม 156 ประเทศ

          5.4.1 บทบาทและการดำเนินงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
          1) ด้านอาหาร มีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาทางด้านอาหารตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่
2 แก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารอันเกิดจากการเพิ่มประชากรของประเทศกาลังพัฒนา จัดทาโครงการอาหารโลกร่วมกับองค์การสหประชาชาติ เพื่อระงับการขาดแคลนอาหารอย่างฉับพลัน และช่วยเหลือชุมชนในการเพิ่มผลผลิตด้านอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรรวมถึงการสำรวจภาวการณ์อาหารและการเกษตรของโลก           2) ด้านการเกษตร มีการนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาเพิ่มผลผลิตทางด้านการเกษตร ทั้งด้านพืช ผัก ผลไม้ พันธุ์ไม้ และการ ปศุสัตว์
          3) ด้านการประมง ได้มีการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลด้านการประมง ปรับปรุงวิธีการและเครื่องมือการประมงให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ศึกษาค้นคว้าสัตว์น้าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ และวิจัยแสวงหาพันธุ์สัตว์น้ามาเป็นอาหารให้กับประชากรโลก
          4) ด้านป่าไม้ ได้มีการส่งเสริมสงวนรักษาป่าไม้ พัฒนาพื้นที่ป่าส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากป่าและนาเทคโนโลยีด้านการเกษตรมาใช้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมป่าไม้ และได้จัดตั้งคณะกรรมการภูมิภาคเพื่อดาเนินการด้านป่าไม้

          5.5 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational Scientific and Cultural Organization-UNESCO) หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศในปี ค.ศ. 1926 มีสานักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้จัดประชุมเพื่อปรับปรุงโครงสร้างระบบการศึกษาของประเทศ  ที่ถูกยึดครองโดยนาซี และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์ใช้สังคมศาสตร์ให้เกิดประโยชน์ ในปี ค.ศ. 1945 ได้ประชุมจัดตั้งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ สานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงปารีสมีสมาชิกมากกว่า 160 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเสริมสร้างสันติสุข ความมั่นคงของโลก โดยอาศัยการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม การติดต่อสื่อสาร รวมถึงกฎหมายสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ ที่บัญญัติไว้ในกฎบัตรแห่งสหประชาชาติ

          5.5.1 บทบาทและหน้าที่ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติมีบทบาทดังนี้
          1) ด้านการศึกษา มีจุดมุ่งหมายที่จะลดจานวนอัตราผู้ไม่รู้หนังสือ โดยจัดทาโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาในประเทศต่าง ๆ  โดยเฉพาะประเทศที่กาลังพัฒนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การสหประชาชาติ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการฝึกอบรมด้านอาชีพ รวบรวมเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
          2) ด้านวิทยาศาสตร์ โดยพยายามที่จะขยายความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ สมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา ธรณีวิทยา คอมพิวเตอร์  และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่เทคโนโลยีใหม่ ๆ ฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่าง ๆ และพัฒนาหลักสูตร การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์
          3) ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ การอนุรักษ์มรดกธรรมชาติ   โดยการสร้างความตระหนักถึงความสาคัญของวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ   ทั้งงานศิลปะ สถาปัตยกรรม วรรณคดี หัตถกรรม นิทานพื้นบ้าน ความเชื่อ พิธีกรรม เป็นต้น กิจกรรมในการพัฒนาด้านวัฒนธรรมงานด้านอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรม ต้องอาศัยความร่วมมือของประชากรทั้งในและระหว่างประเทศ บนพื้นฐานความเท่าเทียมกัน โดยยอมรับว่าวัฒนธรรมของแต่ละสังคมมีความเท่าเทียมกัน
          4) ด้านสังคมศาสตร์ ได้จัดทาโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปัญหา รวมทั้งการแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
          5) ด้านการสื่อสาร ได้ดาเนินการในการกระตุ้นและส่งเสริมสนับสนุนการใช้สื่อเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ โดยได้จัดทาโครงการต่าง ๆ ในการให้ความช่วยเหลือ

          6.องค์การระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจในทศวรรษที่ผ่านมาได้ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ เกิดความเจริญอย่างรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร ส่งผลให้การแข่งขันในด้านการค้าระหว่างประเทศมีความรุนแรงมากขึ้นองค์การระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ จึงมีบทบาทและอิทธิพลในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจของสังคมโลก ดูแลให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามกติกาของสังคมโลก ผลักดันให้ใช้นโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยม ส่งเสริมเอกชนให้มีบทบาททางเศรษฐกิจ องค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจที่สำคัญมีดังนี้

          6.1 องค์การการค้าโลก ( World Trade Organization : WTO) เป็นองค์การที่ถือกำเนิดในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995 อันเป็นผลมาจากการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัย ภายใต้การประชุมของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (General Agreement on Tariffs and Trade : GATT) องค์การการค้าโลก มีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 81 ประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มขึ้นถึง 148 ประเทศ โดยกัมพูชาเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุด องค์การการค้าโลกมีสานักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีของไทยดารงตำแหน่งผู้อานวยการตั้งแต่ 1 กันยายน ค.ศ. 2002 ถึง ค.ศ. 2005 นับว่าเป็นผู้อานวยการ WTO คนแรกของเอเชียและของประเทศกาลังพัฒนาที่ก้าวไปมีบทบาท ในสถาบันเศรษฐกิจระดับโลก

ที่มา : http://www.missionbenin.ch/coop%C3%A9ration/multilat%C3%A9rale

          6.2 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) เป็นสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทาหน้าที่เป็นแกนกลางของระบบการเงินระหว่างประเทศ เริ่มดาเนินงานเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 สานักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี สหรัฐอเมริกา

<< Go Back