<< Go Back

             OPEC  (องค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก) หรือ OPEC (Organization of the Petroleum Exporting Countries)

             โอเปก เป็นองค์กรร่วมของรัฐบาลระหว่างประเทศที่มีความถาวร เริ่มก่อตั้งขึ้นในการประชุมที่กรุงแบกแดด ประเทศอิรัก เมื่อวันที่ 10-14 กันยายน 2503 โดยมีสมาชิก 5ประเทศ ได้แก่ อิหร่าน  อิรัก  คูเวต  ซาอุดิอาระเบีย และ  เวเนซูเอล่า ต่อมา มีสมาชิกอีก 8 ประเทศ มาเพิ่มเติม ได้แก่  ประเทศกาต้า (2504)  อินโดนีเซีย (2505) ลิเบีย (2505)  สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ (2510) แอลจีเรีย (2512) ไนจีเรีย (2514)  เอกวาดอร์ (2516-2535)  กาบอง (2518-2537) ในช่วง 5 ปี แรก โอเปกมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อมา เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2508 จึงย้ายที่ทำการไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

             เพื่อเป็นตัวกลางประสานงานด้านนโยบายน้ำมันระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ในการรักษาระดับราคาให้มีความเป็นธรรม และสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศผู้ผลิตปิโตรเลียม ก่อให้เกิดการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างเศรษฐกิจ และรักษาระดับความสม่ำเสมอในการผลิตปิโตรเลียม เพื่อให้เพียงพอในการป้อนเข้าสู่ตลาดโลก โดยผู้ผลิตจะได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม ในการได้รับการคืนทุนที่ได้ลงไปในอุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเลียม
ยุค 1960S (2503-2512)

             โอเปกที่ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกโดยรวมสมาชิกได้ 5 ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา เพื่อแสดงตนในการประกาศตัวว่าประเทศสมาชิกเหล่านี้ ว่ามีความชอบธรรมตามกฎหมายในการก้าวเข้าสู่ตลาดการค้าน้ำมันโลก ที่เคยเป็นของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก ในนามของ “Seven Sisters” (Seven Sisters คือ บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลของโลก ได้แก่
             (1) Standard Oil of New Jersey, ปัจจุบันนี้ คือ ExxonMobil
              (2) Royal Dutch Shell Anglo-Dutch
             (3) British Anglo-Persian Oil Company ต่อมาเป็น British Petroleum ต่อมาเมื่อ BPAmoco ที่เกิดควบรวมกับ Amoco (ซึ่งเดิม คือ Standard Oil of Indiana) ปัจจุบันนี้ คือ BP
             (4) Standard Oil of Newyork ต่อมาเป็น Mobil เมื่อควบรวมกับ Exxon ปัจจุบัน คือ ExxonMobil
             (5) Texaco ที่ควบรวมกับ Chevron ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco
             (6) Standard Oil of California (Socal) ที่กลายเป็นของ Chevron ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco
             (7) Gulf Oil ที่หุ้นส่วนใหญ่แล้วเป็นของ Chevron ที่ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco โดยเครือข่ายสถานีน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกาใช้ชื่อว่าChevronTexaco ดังนั้น ปัจจุบันนี้ บริษัทน้ำมันที่ยังเหลือรอดอยู่ในวงการ คือ 1. ExxonMobil 2. ChevronTexaco 3. Shell และ  4.BP เท่านั้น
             กิจกรรมของโอเปกจะเป็นไปตามปกติ คือ เมื่อมีการก่อตั้งขึ้นมาแล้ว ก็ได้กำหนดให้มีสำนักงานเลขาธิการขององค์กร โดยเริ่มงานที่นครเจนีวาก่อนจะย้ายไปยังกรุงเวียนนาในเวลาต่อมาในปี 2508 ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ได้มีการประชุมตกลงกันระหว่างกลุ่ม และเจรจาต่อรองกับบริษัทน้ำมันต่างๆ โดยมีประเทศสมาชิกจากเดิม 5 ประเทศ ในตอนก่อตั้ง แล้วเพิ่มเป็น 10 ประเทศในทศวรรษนี้เอง
             เพื่อเป็นตัวกลางประสานงานด้านนโยบายน้ำมันระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ในการรักษาระดับราคาให้มีความเป็นธรรม และสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศผู้ผลิตปิโตรเลียม ก่อให้เกิดการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างเศรษฐกิจ และรักษาระดับความสม่ำเสมอในการผลิตปิโตรเลียม เพื่อให้เพียงพอในการป้อนเข้าสู่ตลาดโลก โดยผู้ผลิตจะได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม ในการได้รับการคืนทุนที่ได้ลงไปในอุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเลียม

             โอเปกที่ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกโดยรวมสมาชิกได้ 5 ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา เพื่อแสดงตนในการประกาศตัวว่าประเทศสมาชิกเหล่านี้ ว่ามีความชอบธรรมตามกฎหมายในการก้าวเข้าสู่ตลาดการค้าน้ำมันโลก ที่เคยเป็นของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก ในนามของ "Seven Sisters" (Seven Sisters คือ บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลของโลก ได้แก่
             (1) Standard Oil of New Jersey, ปัจจุบันนี้ คือ ExxonMobil
             (2) Royal Dutch Shell Anglo-Dutch
             (3) British Anglo-Persian Oil Company ต่อมาเป็น British Petroleum ต่อมาเมื่อ BPAmoco ที่เกิดควบรวมกับ Amoco (ซึ่งเดิม คือ Standard Oil of Indiana) ปัจจุบันนี้ คือ BP
             (4) Standard Oil of Newyork ต่อมาเป็น Mobil เมื่อควบรวมกับ Exxon ปัจจุบัน คือ ExxonMobil
             (5) Texaco ที่ควบรวมกับ Chevron ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco
             (6) Standard Oil of California (Socal) ที่กลายเป็นของ Chevron ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco
             (7) Gulf Oil ที่หุ้นส่วนใหญ่แล้วเป็นของ Chevron ที่ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco โดยเครือข่ายสถานีน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกาใช้ชื่อว่า ChevronTexaco ดังนั้น ปัจจุบันนี้ บริษัทน้ำมันที่ยังเหลือรอดอยู่ในวงการ คือ
                      (1) ExxonMobil
                      (2) ChevronTexaco
                      (3) Shell และ
                      (4) BP เท่านั้น) กิจกรรมของโอเปกจะเป็นไปตามปกติ คือ เมื่อมีการก่อตั้งขึ้นมาแล้ว ก็ได้กำหนดให้มีสำนักงานเลขาธิการขององค์กร โดยเริ่มงานที่นครเจนีวาก่อนจะย้ายไปยังกรุงเวียนนาในเวลาต่อมาในปี 2508 ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ได้มีการประชุมตกลงกันระหว่างกลุ่ม และเจรจาต่อรองกับบริษัทน้ำมันต่างๆ โดยมีประเทศสมาชิกจากเดิม 5 ประเทศ ในตอนก่อตั้ง แล้วเพิ่มเป็น 10 ประเทศในทศวรรษนี้เอง

             โอเปกเริ่มมีชื่อเสียงจนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในทศวรรษนี้เอง โดยประเทศสมาชิกได้เข้าไปควบคุมอุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเลียมในประเทศของตน และร่วมกันประกาศราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ในระหว่างนี้ได้เกิดวิกฤตราคาน้ำมันโลก 2 ครั้ง มีการหยุดการขนส่งน้ำมันจากประเทศในกลุ่มอาหรับในปี 2516 และเกิดการปฏิวัติในประเทศอิหร่านในปี 2522 ทั้งสองกรณีนี้ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมัน ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก จึงมีการประชุมสุดยอดผู้นำของโอเปกขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2518 นอกจากนี้โอเปกได้มีมติรับประเทศไนจีเรียเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 11 ในปี 2514

             ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสูงลิบลิ่วในต้นทศวรรษนี้ ก่อนที่จะเริ่มลดราคาลงอย่างต่อเนื่องในเวลาต่อมา จนเกิดพังพาบลงไปในที่สุดวิกฤตราคาน้ำมันโลกครั้งที่ 3 ในปี 2529 ราคาน้ำมันได้ดิ่งลงอย่างต่อเนื่องเรื่อย ๆ จนถึงปีท้าย ๆ ของทศวรรษนี้ โดยไม่เหลือร่องรอยของอดีตแห่งความรุ่งโรจน์เมื่อต้นทศวรรษนี้เลย ซึ่งเป็นการเตือนว่าในการเติบโตของความต้องการ ต้องมีการเชื่อมประสานระหว่างผู้ผลิตทั้งหลาย ถ้าต้องการให้ตลาดมีความยั่งยืนได้ในอนาคต ราคาก็ต้องมีความเป็นธรรม นอกจากนี้ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ได้เริ่มเข้ามามีบทบาท โดยถูกจัดให้อยู่เป็นวาระการประชุมในเวทีระดับโลก

             วิกฤตราคาน้ำมันโลกครั้งที่ 4 เริ่มอีกในต้นศตวรรษนี้ จากการเกิดการสู้รบในตะวันออกกลาง เมื่อราคาเกิดการพุ่งทะยานขึ้นอย่างแรงทันที จากการกังวลของตลาดว่าการผลิตจากกลุ่มโอเปกเพิ่มขึ้นได้ไม่มาก ต่อมาราคาจึงค่อนข้างคงที่จนถึงปี 2543 เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้น ได้เกิดการรวมตัวกันของโอเปกและประเทศผู้นำการผลิตปิโตรเลียมนอกกลุ่มโอเปกเพื่อเข้ามาเยียวยาปัญหานี้ จนสิ้นทศวรรษนี้ได้เกิดกระแสเร่งด่วนของโครงการควบรวมกิจการของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ทั้งหลายเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมอย่างยิ่งใหญ่ ส่วนใหญ่แล้วในช่วงทศวรรษนี้บรรยากาศของการเจรจาต่อรองระหว่างนานาชาติ ดำเนินไปท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของความต้องการใช้น้ำมันในอนาคต

             OPEC เป็นกลุ่มประเทศผู้มีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจ และการเมือง
ราคาน้ำมันในตลาดโลกขึ้นอยู่กับการกำหนดราคาของกลุ่ม OPEC ก่อให้เกิดผลต่อชาวโลกคือ มีความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากร ที่ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ และพยายามใช้อย่างประหยัดและคุ้มค่า

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มโอเปกสรุปได้ ดังนี้

             1. ทางด้านการค้า ไทยยังมีการค้าขายกับกลุ่มโอเปก โดยนำเข้าน้ำมันจากประเทศเหล่านี้โดยเฉพาะประเทศโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย และสินค้าออก ที่สำคัญของไทยที่ส่งไปยังกลุ่มประเทศเหล่านี้ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องหนัง
             2. ทางด้านแรงงาน เป็นเรื่องที่สำคัญและน่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง เพราะไทยได้จัดส่งแรงงาน เข้าไปทำงานในประเทศกลุ่มโอเปกเป็นจำนวนมากจึงจำเป็นที่รัฐบาลไทยต้องติดตาม และให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ ประเทศกลุ่มโอเปกที่คนไทยไปทำงานกันมากได้แก่ ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และคูเวต ส่วนในประเทศอิรัก หลังสงครามอ่าวเปอร์เซียแล้ว จำนวนคนงานไทยลดลงและไม่มีแรงงานไทยอีก เมื่อเกิดสงครามและอดีตประธานาธิบดี ซัดดัมถูกโค่นอำนาจ
             3. ด้านการเมือง มักเป็นความสำคัญทางด้านการทูตและการเยี่ยมเยือนเพื่อกระชับสัมพันธไมตรีของผู้นำประเทศ
             4. อื่นๆ กลุ่มโอเปกได้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องเงินกู้ ส่วนไทยให้ความสะดวก แก่ประเทศเหล่านี้โดยการให้นักวิชาการมาดูงานในไทย โดยเฉพาะการเกษตรบทบาทขององค์การโอเปกในปัจจุบัน ฐานะความสำคัญของโอเปกลดลงไปอย่างมาก ไม่สามารถควบคุมราคาน้ำมันในตลาดโลก ให้เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มตนได้ และไม่อาจใช้น้ำมันเป็นอาวุธบีบให้ชาติมหาอำนาจตะวันตก ปฏิบัตินโยบายทางการเมืองระหว่างประเทศตามความต้องการของกลุ่มตนได้ เนื่องจากประเทศสมาชิกโอเปกต่างไม่ปฏิบัติตามกติกา ไม่ร่วมมือกันอย่างจริงจัง เช่น ลักลอบผลิตน้ำมันเกินโควตาที่กำหนด ทำให้ปริมาณน้ำมันล้นโลก และมีประเทศนอกกลุ่มสามารถผลิตน้ำมันได้ปริมาณมากเช่นกัน ได้แก่ อังกฤษ เม็กซิโก บรูไน นอร์เวย์ ฯลฯ ทำให้อำนาจขององค์การโอเปกไม่อาจสร้างความสั่นสะเทือนให้แก่ชาวโลกได้เหมือนดังในอดีต คงทำหน้าที่ประสานงานช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่ประเทศสมาชิกเท่านั้น

แนวโน้มราคาน้ำมันในอนาคต และทางเลือกของไทย

             แม้ว่าโลกมักจะเลือกจดจำถึงบทบาทแต่ในด้านลบของกลุ่ม OPEC ที่มีต่อราคาน้ำมันดิบของโลกจากวิกฤตการณ์น้ำมันเมื่อราว 30 ปีก่อน แต่ทว่าบทบาทของกลุ่ม OPEC ต่อการมีส่วนพัฒนาเศรษฐกิจโลกในช่วงหลังสงครามอ่าวครั้งแรก โดยได้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มให้สูงขึ้น ได้ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบลดลงอย่างเป็นประวัติการณ์ก็จัดเป็นอีกเหตุการณ์ที่น่าศึกษาถึงแนวคิดของ OPEC เช่นกัน ท่ามกลางสถานการณ์น้ำมันแพงเช่นในปัจจุบัน OPEC จะมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใดหรือไม่ และนโยบายการผลิตน้ำมันของ OPEC จะมีผลอย่างไรถึงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในอนาคต รวมถึงผลกระทบต่อประเทศไทยนับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

 

    ขอบคุณเว็บไซต์ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=743703

<< Go Back