<< Go Back

          วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ค.ศ. 2008 หรือ วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2008 หลังจากที่ เลห์แมน บราเธอร์ส   วานิชธนกิจอับดับ 4 ของสหรัฐอเมริกาและของโลกประกาศล้มละลายได้เพียง 2 วัน ต่อมาธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาต้องเข้าไปแก้ไขด้วยการปล่อยกู้อย่างเร่งด่วนให้กับบริษัทอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนลกรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทประกันรายใหญ่ที่สุดของโลก

จำนวนสินทรัพย์ที่ถูกยึดแบ่งตามไตรมาส

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์

          ปัญหาก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินทั่วโลกอย่างรุนแรงและฉับพลัน ทั้งดัชนี ตลาดหุ้น   สภาพคล่องการเงินของโลก อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา และราคาสินค้า ผลกระทบเหล่านี้ทำให้เกิดความหวาดวิตกว่าโลกกำลังจะก้าวไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่และร้ายแรง เสมือนเป็นสึนามิการเงินโลกที่เลวร้ายที่สุดในรอบศตวรรษ

  สาเหตุวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์

          1. วิกฤต "แฮมเบอร์เกอร์" ก็คือสหรัฐอเมริกามีทุนไหลเข้าไปในประเทศมากเกินไปจนล้นออกไปใน ภาคอสังหาริมทรัพย์ [1] ทำให้เกิด ฟองสบู่ [2] เก็งกำไรกันขึ้น ต้นเหตุที่ทำให้สหรัฐอเมริกามีเงินทุนไหลเข้ามากและได้มาในราคาต่ำกว่าชาวโลกอื่นๆ ก็เนื่องจากเงินดอลลาร์ของสหรัฐเป็นเงินสกุลหลักซึ่งเป็นที่เชื่อถือของชาวโลกมายาวนาน นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจหลังเหตุการณ์ 1 กันยายน 2001 ที่คนในสหรัฐกู้เงินผ่อนบ้านกันได้ง่ายเกิดการเก็งกำไรจนเป็นฟองสบู่ นักค้าเงินรับ จำนอง [3] อสังหาริมทรัพย์ โดยไม่กังวลว่าฟองสบู่ อสังหาริมทรัพย์ [4] จะแตกและเชื่อว่าระยะต่อไปราคาบ้านมีแนวโน้มสูงขึ้นคุ้มกับการลงทุน
          2. คือ ความโลภใน ธุรกิจการจำนอง mortgage  ผู้ทำธุรกิจไม่ว่าธนาคารเพื่อที่อยู่อาศัย สถาบันการเงิน บริษัทประกันภัย วานิชธนกิจ ฯลฯ คิดประดิษฐ์ตราสารไม่ว่าจะเป็นหุ้นกู้ หุ้นหรือ อนุพันธ์ (derivatives) ประหลาดๆ ออกมากมายหลายตัวที่ไม่มีใครเข้าใจ ถึงผลกระทบหากว่ามันมีการผันผวนไปในทางลบ ตราสารเหล่านี้ใช้กันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงและป้องกันความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง
          3. ความไม่รู้ของคนซื้อตราสารใหม่ๆ (ลงทุน [5] )  เพราะให้ผลตอบแทนสูงและดูปลอดภัยแต่ไม่เข้าใจท่องแท้

โฆษณาขายบ้านหลังเกิดวิกฤติซับไพรม์ สินเชื่อซับไพรม์
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์

  โลกกับผลกระทบจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์

          วิกฤตเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกรุนแรงที่สุดในรอบ 70 ปีแล้ว ยังกำลังจะส่งผลกระทบต่อระบบโลกโดยรวมต่อระบบการเมืองโลก ต่อภูมิรัฐศาสตร์โลก โดยเฉพาะต่อบทบาทของมหาอำนาจในโลก

  ผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกา และตะวันตก

          ผลกระทบที่สำคัญที่สุดต่อภูมิรัฐศาสตร์โลกคือ ทำให้อำนาจของสหรัฐฯ และตะวันตกตกต่ำลงทำให้บางประเทศอ่อนแอลง และบางประเทศเข้มแข็งขึ้น ประเด็นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุด คือ ทำให้อำนาจของสหรัฐฯ ตกต่ำลง ได้ทำลายชื่อเสียงของอเมริกาในฐานะผู้นำโลกลง ถือเป็นความพ่ายแพ้ทาง ภูมิรัฐศาสตร์  ครั้งยิ่งใหญ่ของตะวันตก ในอนาคตตะวันตกคงจะไม่มีทรัพยากรที่จะทำให้สามารถเล่นบทบาทเป็นผู้นำโลกได้ ความอ่อนแอของตะวันตกในครั้งนี้ ได้ชี้ชัดว่า ระบบโลกกำลังจะแปรเปลี่ยนจากระบบ 1 ขั้วอำนาจที่มีสหรัฐฯเป็นศูนย์กลาง ไปเป็นระบบหลายขั้วอำนาจที่มีมหาอำนาจอื่น ๆ มีบทบาทมากขึ้น
          ผลกระทบต่อสถานการณ์เป็นผู้นำในระบบเศรษฐกิจโลกของสหรัฐฯ เห็นได้จากการประชุมสุดยอด G20 ซึ่งได้ชี้ให้เห็นถึงบทบาทที่ลดลงของสหรัฐฯ และอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่มีแนวโน้มว่าวิกฤตเศรษฐกิจจะทำให้สหรัฐฯ และยุโรป จะต้องให้ความสนใจกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้บทบาทในเวทีโลกลดลง และความยุ่งยากของวิกฤตการเงินจะทำให้ตะวันตกไม่สามารถผลักดันความคิดริเริ่มใหม่ ๆ ในเวทีโลกได้
          วิกฤตเศรษฐกิจโลก คราวนี้บางประเทศก็เป็นโอกาสทองและเป็นการเปลี่ยนวิกฤตให้กลายเป็นโอกาส ดังเช่น ประเทศ จีนถือว่าอยู่ในสถานะที่ดี เพราะจีนมีระบบการเงินที่เป็นระบบปิดจึงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก จากวิกฤตการเงินโลก เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนมีมากมายมหาศาลถึงสองล้านล้านเหรียญ จึงทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีสถานะสภาพคล่องที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก และในขณะที่สภาพเศรษฐกิจของเกือบทุกประเทศจะติดลบเกือบหมด แต่เศรษฐกิจในปีนี้ของจีนจะโตถึง 8.5 เปอร์เซ็นต์และจีนก็จะกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งพลังอำนาจทางเศรษฐกิจของจีนที่เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้บทบาทและอิทธิพลของจีนในระบบโลกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จีนสามารถดำเนินนโยบายการทูตในเชิงรุก โดยเฉพาะกับประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก เพื่อส่งออกตัวแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน จีนจะอยู่ในสถานะที่จะให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศยากจน และจะเข้าไปลงทุนในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในสาขาที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติซึ่งจีนมีความต้องการอย่างมาก จีนกำลังมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีนก็กำลังจะขยายอิทธิพลสู่ภูมิภาคอื่น ๆ ในอนาคต

ผลกระทบต่อการค้าของโลก

          ผลกระทบต่อการค้าของโลก โดยมีแนวโน้มว่า จากวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะทำให้กระแสนโยบาย ปกป้องทางการค้าของสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
          ผลกระทบของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ได้เริ่มส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศต่างๆ ไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาแล้ว ความต้องการการนำเข้าสินค้าของสหรัฐอเมริกากำลังลดลงอย่างชัดเจน อาทิ บริษัท Kubota  ของญี่ปุ่นซึ่งส่งออกรถแทรคเตอร์ไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ยอดส่งออกลดลง 5% และคงจะลดลงเพิ่มมากขึ้น สำหรับในจีน การส่งออกสินค้าสิ่งทอไปสหรัฐอเมริกาลดลงถึง 20% อย่างไรก็ตามผลกระทบของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์จะขึ้นอยู่กับว่าประเทศนั้น ๆ พึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา มากน้อยเพียงใด ประเทศในเอเชียส่วนใหญ่จะพึ่งพาการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย สิงค์โปร์ และไทย

                      [1] http://www.youtube.com/watch?v=jkzDihj7vzg
                      [2] http://www.youtube.com/watch?v=yF2cPaVOqHg
                      [3] http://www.youtube.com/watch?v=vJWv2AS1tko
                      [4] http://www.youtube.com/watch?v=g2eatzqGxpE
                      [5] http://www.youtube.com/watch?v=KtwYh_ZrOTk

<< Go Back