<< Go Back

ที่มา : http://www.l3nr.org/posts/213904

             เลห์แมน บราเธอร์ส เป็นสถาบันวาณิชธนกิจรายใหญ่ที่สุดอันดับ 4 และเป็นหนึ่งในเสาหลักสำคัญของภาคการเงินของสหรัฐด้วย
             ซึ่งมีอายุเก่าแก่ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2393 และมีพนักงานอยู่ทั้งสิ้นถึง 2.7 หมื่นล้านคน การประกาศยื่นภาวะล้มละลายในหนนี้ คาดว่าจะสร้างแรงสั่นสะเทือให้กับตลาดแรงงานในภาคการเงินของสหรัฐอย่างรุนแรง
             การดำเนินงาน : เลห์แมน บราเธอร์ส เป็นหนึ่งในธนาคารที่เป็นหัวใจสำคัญในภาคการเงินของสหรัฐและของโลก เป็นกลไกสำคัญในตลาดพันธบัตร และตราสารหนี้ เลห์แมน บราเธอร์ส ยังดำเนินกิจการด้านธนาคารเพื่อการลงทุน และการบริหารสินทรัพย์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการบริหารผ่านบริษัทในเครืออย่าง นิวเบอร์เกอร์ เบอร์แมน
             สถานะการเงิน : เลห์แมน บราเธอร์ส ประกาศผลประกอบการในไตรมาส 3 ของปีนี้ ขาดทุนมากกว่า 3,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.35 แสนล้านบาท) ขณะที่ในไตรมาส 2 ของปี ก็ขาดทุนไปแล้ว 2,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 9.72 หมื่น ล้านบาท) อีกทั้งยังประกาศลดมูลค่าสินทรัพย์ลงอีก 1.38 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 4.79 แสนล้านบาท) อันเป็นผลมาจากวิกฤตสินซับไพรม์ ธนาคารยังประกาศระดมทุนผ่านการเสนอขายหุ้นเป็นมูลค่าอีก 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.47 แสนล้านบาท) มาแล้วด้วย
             มูลค่าหุ้น : ราคาหุ้นของเลห์แมน บราเธอร์ส จากราคาสูงสุดเมื่อเดือน ก.พ. ราว 64 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น ได้ร่วงหล่นลงอยู่ที่ราว 3 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น เมื่อวันที่ 15 ก.ย.
             การบริหารงาน : ริชาร์ด ฟัลด์ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร มาตั้งแต่ปี 2536 และดำรงตำแหน่งประธานบอร์ดผู้บริหารมาตั้งแต่ปี 2537
             ประวัติบริษัท : เลห์แมน บราเธอร์ส ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2393 ในเมืองมอนต์กอเมอรี รัฐแอละแบมา เฮนรี เลห์แมน ซึ่งเป็นชาวเยอรมนี เจ้าของร้านขายของชำ ได้ร่วมทุนกับสองพี่สอง เอ็มมานูเอล และเมเยอร์เลห์แมน ร่วมกันเปิดการขาย และเริ่มเปิดสำนักงานขึ้นแห่งแรกในรัฐนิวยอร์ก เมื่อปี 2401

ขอบคุณเว็บไซต์ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=319773
<< Go Back