<< Go Back

จุดมุ่งหมายในการออมทรัพย์ การออมทรัพย์เป็นการสะสมอำนาจซื้อไว้ในปัจจุบันเพื่อใช้จ่ายในอนาคต การออมทำได้ไม่ยากเพียงกำหนดจุดมุ่งหมาย ของการออมว่าเป็นการออมทรัพย์ระยะสั้นหรือระยะยาว

1. การออมทรัพย์เพื่อประโยชน์ระยะสั้น เช่น การออมเพื่อซื้อสิ่งของที่มีราคาแพงเกินกว่ารายได้ที่ได้รับหรือเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายจะจ่ายได้ เป็นการซื้อที่ไม่อาจจัดเป็นการซื้อที่จะซื้อได้ทันที ต้องเก็บออมเงินให้ได้เท่าจำนวนตามที่ต้องการก่อนจึงจะซื้อได้

2. การออมทรัพย์เพื่อประโยชน์ระยะยาว เป็นการออมทรัพย์อย่างมีวัตถุประสงค์ที่ แน่นอน เช่น การอมทรัพย์เพื่อไว้ใช้เมื่อสูงอายุหรือเจ็บป่วยไม่สามารถทำงานได้ หรือออมทรัพย์เพื่อการศึกษาระดับสูงของบุตรหลานหรือเก็บเพื่อซื้อบ้าน,ที่ดิน,ที่อยู่อาศัยหรือเพื่อการลงทุนทำกิจการ การออมทรัพย์เพื่อประโยชน์ระยะยาวเป็นการออมทรัพย์เพื่อต้อง การความมั่นคงทางการเงินซึ่งจะมีการใช้จ่ายในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานกว่าการออมทรัพย์เพื่อประโยชน์ระยะสั้น เช่น เมื่อเกษียณอายุราชการหรือพ้นจากการทำงานเมื่อสูงอายุโดยมีการวางแผนที่จะใช้เงิน ดอกผลจากการออมในการดำรงชีวิต

จำนวนเงินที่ควรออม ปกติควรจะเก็บออมประมาณร้อยละ 10 ของรายได้ที่ได้รับแต่มิใช่เป็นกฎตายตัวจำนวนเงินออม จะมากน้อยเท่าไรขึ้นอยู่กับรายได้และความรับผิดชอบของครอบครัวต่อสมาชิกในครอบครัว รายได้ที่ได้รับจะใช้จ่ายเฉพาะตัวก็สามารถเก็บออม ได้ในอัตราสูงเมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงก็จะมีผลต่อการอออม ด้วยการออมจะทำได้ง่ามสำหรับคนโสดหรือครอบครัวที่ไม่มีลูกที่ต้องเลี้ยงดู

การสร้างเงินออม การออมเงินบางคนทำได้ง่ายบางคนทำได้ยากการออมเงิน ในครอบครัวสมาชิกทุกคนต้องร่วมมือกันในการวางแผนการออมเงิน และช่วยกันออมเงินคนละเล็กละน้อย เมื่อรวมหลาย ๆ คนเงินออมของครอบครัวก็จะมากขึ้นแนวปฏิบัติสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเงินออมมีดังนี้

1. เริ่มต้นการออมทันทีที่มีรายได้ การออมควรเริ่มต้นให้เร็วที่สุดเพราะเริ่มต้นเร็วเท่าไรเงินออมยิ่งมากขึ้นเท่านั้นการออมเริ่มต้นตั้งแต่มีคำว่า ประหยัด อยู่ในใจเสมอและมีการวางแผนการใช้จ่าย เมื่อจะจ่ายเงินซื้ออะไรต้องคิดอย่างดีมีเหตุผลและซื้อของให้ตรงกับการใช้งานการสร้างเงินออมควรให้เงินออมสร้างรายได้ โดยการนำเงินออมนั้นไปฝากธนาคารหรือสถาบัน การเงินซึ่งให้ดอกเบี้ยเงินฝาก จะทำให้เงินฝากมีเพิ่มขึ้นถ้าฝากเงินเร็วที่สุดเท่าไรก็จะมีเงินออมมากขึ้นเท่านั้น

2. มีการกำหนดจำนวนเงินออม ควรมีการตัดสินใจ ว่าจะมีการออมเท่าไรควรเริ่มต้นการออม ด้วยจำนวนที่น้อยที่สามารถจะออมได้และค่อยเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น

3. เก็บออมอย่างสม่ำเสมอ แต่ละครั้งที่มีรายได้ต้องวางแผนการใช้จ่ายที่รัดกุมและเป็นไปได้ตามสภาพรายได้และความรับผิดชอบของครอบครัว โดยการเก็บเงินส่วนที่เป็นเงินออมทันที ที่ได้รับรายได้มาก่อนขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอน ที่สำคัญที่ทำให้มีเงินออมถ้าทำได้จนเป็นนิสัยการออมเงินก็ไม่ยากและผู้ออมก็จะเกิดความภาคภูมิใจ

4. ตั้งจุดประสงค์ในการออม ว่าจะออมเพื่ออะไรต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อจะได้วางแผนกันเงินทุกครั้งที่มีรายได้ การกันเงินไว้แต่ละเดือนเป็นการชะลอการใช้จ่าย เพื่อสะสมไว้ใช้จ่ายเมื่อถึงเวลาตามที่ตั้งจุดประสงค์ไว้ไม่ต้องกู้ยืมเงินให้เสียดอกเบี้ย

5. มีการวางแผนการใช้จ่ายที่รัดกุมและเป็นไปได้ตามสภาพของครอบครัว

การออมเงินต้องถือว่าเมื่อกันเงินออมไว้แล้วต้องมีเงินพอ ที่จะใช้จ่ายให้สมาชิกในครอบครัวมีความสุขตามสมควร ต้องรู้จักเลือกซื้อของที่ราคาประหยัดเหมาะสมกับฐานะของตน

มีเงินติดตัวไว้เท่าที่จำเป็นใช้ ไม่ควรพกเงินติดตัวมากเกินความจำเป็นต้องใช้เพราะอาจจะทำให้มีการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ถ้ามีเงินเพียงเท่าที่จำเป็นใช้หากมีค่าใช้จ่ายนอกแผนเกิด ขึ้นจะมีเวลาคิดวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเพราะไม่สามารถจ่ายเงินซื้อได้ทันที

มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเงินออม นอกจากเงินออมต้องปลอดภัยแล้วควรต้องมีการเพิ่มรายได้จากการออม การฝากเงินกับธนาคาร การซื้อพันธบัตรรัฐบาลเป็นวิธีการที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับการออมจะได้ดอกเบี้ยด้วย

สร้างพันธะในการออมถ้าไม่สามารถที่จะควบคุมตัวเองได้ การฝากเงินที่ต้องทำสัญญากับธนาคารจะเป็นการบังคับตนเองให้สามารถออมทรัพย์ได้ เพราะมีสัญญาว่าจะต้องส่งเงินกับธนาคารทุกเดือนเมื่อถึงกำหนดตามสัญญาก็จะได้ดอกเบี้ยเงินฝากด้วย

สถาบันออมทรัพย์ การเก็บเงินไว้กับตัวหรือที่บ้านไม่เกิดประโยชน์หรือเงินได้เพิ่มขึ้นและอาจไม่ปลอดภัย อาจมีการสูญหายถูกโจรปล้นวิธีการที่ปลอดภัย กว่าการนำเงินไปให้ผู้อื่นกู้ยืมเพราะอาจถูกโกงได้ คือการนำเงินฝากสถาบันออมทรัพย์ที่มีความมั่นคง เช่น ธนาคาร บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ออมทรัพย์

ข้อควรพิจารณาในการเลือกสถาบันออมทรัพย์ การออมทรัพย์ควรนำไปฝากในสถานที่ปลอดภัยและได้รับผลตอบแทนจากการนำเงินออมไปฝากเก็บ การนำเงินไปฝากกับสถาบันใดต้องพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้

ความปลอดภัยของเงินออมที่นำไปฝาก สถาบันที่ให้บริการ ต้องเก็บรักษาเงินของเราให้ปลอดภัย ต้องมีความซื่อสัตย์ฐานะการเงินมั่นคงและอยู่ในความควบคุมของรัฐ เช่น ธนาคาร การซื้อพันธบัตรรัฐบาล

ความสะดวกรวดเร็วในการถอนเงินหรือฝากคืนได้ทันทีที่ต้องการ การนำเงิน ไปฝากกับสถาบันใดควรพิจารณาว่า ถ้าต้องการใช้เงินเมื่อไรสามารถถอนเงินที่ฝากคืนได้ทันทีที่ต้องการ

มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเงินที่ฝาก การออมไม่ควรเก็บเงินไว้เฉย ๆ ควรนำเงินไปฝากไว้กับสถาบัน ที่จะให้ผลตอบแทนกับจำนวนเงินที่นำไปฝากซึ่งจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

การประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการฝาก ถอนเงิน การเลือกฝากกับสถาบันการเงิน ใดควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปใช้บริการ ควรเลือกสถาบันการเงินที่สุดวก เสียเวลาและค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

การกำหนดจุดประสงค์ในการฝากเพื่อใช้ประกอบ การพิจารณาว่าจะเลือกฝากกับสถาบันไหนในแบบใดจะฝากกับธนาคาร เพื่อประโยชน์ระยะสั้น ระยะยาว แล้วนำเงินไปฝากตามระยะเวลาที่ใช้ผู้บริโภคที่ฉลาดจะไม่ออมทรัพย์ กับสถาบันการเงินเดียวในรูปแบบเดียวควรฝากในหลายสถาบันหลายรูปแบบ เพื่อความปลอดภัย และสะดวกในการถอนรวมทั้งผลตอบแทน จากเงินฝาก ซึ่งผู้บริโภคต้องมีแผนการออมเงินที่แน่ชัดมีการวิเคราะห์และเลือกฝากเงินในรูปแบบที่จะให้ผลตอบแทนสูงสุด

การฝากเงินกับธนาคาร ธนาคารเป็นสถานที่ให้บริการรับฝากเงินที่ปลอดภัย สะดวก รวดเร็ว ธนาคารทุกแห่ง ในประเทศไทยอยู่ในความควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้นธนาคารทุกแห่งจะให้ความปลอดภัยและรับผิดชอบแก่เงินฝากได้เท่าเทียมกันบริการที่เกี่ยวกับการรับฝากเงิน ได้แก่ การฝากประเภทออมทรัพย์ ฝากเงินประเภทประจำ

การซื้อพันธบัตรรัฐบาล การออมอีกวิธีหนึ่งคือ การนำเงินออมไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลการขายพันธบัตรรัฐบาลเป็นวิธีการระดมทุนวิธีหนึ่งของรัฐบาล โดยการกู้เงินจากประชาชนแล้วออกพันธบัตรให้เป็นหลักฐานการกู้ยืม และให้ผลประโยชน์ตอบแทนในลักษณะดอกเบี้ยซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าวิธีอื่น นอกจากจะได้ดอกเบี้ยแล้วยังไม่ต้องเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา เพราะรัฐบาลถือว่าเป็นการช่วยชาติอีกวิธีหนึ่ง

การซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นวิธีการออมทรัพย์เพื่อประโยชน์ระยะยาว มีจุดประสงค์ที่แน่นอนให้ประโยชน์แก่ผู้ซื้อกรมธรรม์ คือให้ความคุ้มครองและเป็นหลักประกัน ของครอบครัวทั้งในขณะมีชีวิตอยู่หรือเมื่อตายไปแล้ว

 

ขอบคุณเว็บไซต์ : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nongrungja&month=08-12-2009&group=16&gblog=4

 

 

 

 

 

<< Go Back