ที่มา : http://sakanya.wikispaces.com/
กล่าวโดยรวมการออมให้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาชีวิตของเราไม่ว่าจะเป็นการ
ออมเงินและออมทรัพยากรอื่น รวมทั้งการออมชีวิต หากจะแยกให้เห็นเป็นเรื่อง ๆ
ก็แยกได้ดังนี้
1) ด้านเศรษฐกิจ แปลว่า กิจที่ประเสริฐ คือ
เป็นกิจที่ช่วยให้ชีวิตดำรงอยู่และเปิดโอกาสให้คนได้พัฒนาชีวิตคนให้เจริญให้สูงขึ้นได้การประกอบอาชีพ
เช่น การปลูกพืชผักเพื่อบริโภคเพื่อแจกจ่ายแก่เพื่อนบ้านหรือเพื่อจำหน่ายให้ได้เงินมา เพื่อนำไปแลกกับปัจจัยด้านอื่น เช่น ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ เป็นต้น เรียกกันว่า เป็นเรื่องกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ คือ เรื่องการผลิต
การแจกจ่ายและการบริโภค
เงินเป็นตัวกลางของการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายปัจจัยทั้งหลายจึงมีความสำคัญต่อการดำรงชีพสูงมาก โดยเฉพาะปัจจุบันการจะมีเงินได้ก็เป็นเรื่องยากดังนั้นเมื่อได้มาก็ต้องรู้จักประหยัดรู้จักออมเพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งของปัจจัยในการดำรงชีพต่อไป
2) ด้านสังคม ในกระบวนการออมถ้ารวมกลุ่มการออมตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน
หมู่บ้าน ตำบล ถึงจังหวัด ที่ปฏิบัติกันอยู่ขณะนี้เห็นได้ชัดว่า มีผลดีด้านสังคม
คือ เป็นกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันให้คนคิดถึงกันเอื้ออาทรต่อกันหรือรักกันมากขึ้น
อย่างกรณีการออมสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เป็นเครื่องมือให้คนที่เป็นสมาชิกคิด เอื้ออาทรต่อเพื่อนสมาชิก
ต่อผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการช่วยตัวเองไม่ได้และได้มีส่วนช่วยเพื่อนตั้งแต่วันลืมตามาดูโลกจนถึงวันตาย
ถ้าได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังก็จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชนได้ทางหนึ่ง
3) ด้านวัฒนธรรม กิจกรรมที่คนส่วนใหญ่ถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายมีสาระทั้งที่เป็นความรู้ ความคิด
การปฏิบัติที่มีแบบแผนแน่นอนและทำอย่างต่อเนื่องและให้ผลเป็นความดีแก่ผู้ปฏิบัติเราจัดว่าเป็นวัฒนธรรม
พฤติกรรมการออม กิจกรรมการออม ผลการออมมีลักษณะเช่นว่านี้
จึงจัดว่าเป็นวัฒนธรรมสำคัญของชุมชนได้อย่างหนึ่งถ้าได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังตลอดไป
เพราะเนื้อในของการออม นั้นมีองค์ประกอบของความเป็นวัฒนธรรมครบถ้วน คือ
มีทั้งองค์ความรู้
วิธีปฏิบัติและผลการปฏิบัติที่ชัดเจนให้ประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติดีได้ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านกาย ด้านสังคม
ด้านใจและด้านจิตวิญญาณ
4) ด้านการศึกษา ภาพรวมทางกระบวนการการออมเป็นเรื่องของการเรียนรู้
การฝึกตนเองผู้ทำการออมหรือเป็นสมาชิกกลุ่มเพื่อออมเพราะต้องรู้หลักคิด
หลักการและหลักปฏิบัติ
ตลอดถึงผลลัพธ์ที่พึงได้พึงมีการที่ทุกคนเดินเข้าสู่กระบวนการนี้ได้ชื่อว่า
เดินเข้าสู่กระบวนการทางการศึกษา เพื่อพัฒนาตนเอง
ดังได้กล่าวแล้วในตอนต้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมนี้อย่างตั้งใจจะเรียนรู้ก็จะได้รับประโยชน์ส่วนนี้อย่างครบถ้วน
โดยไม่รู้ตัวและจะพบว่าตนเองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นทั้งด้านการรู้ การคิด
การพูด และการทำ
5) ด้านทรัพยากรธรรมชาติแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า เขา สัตว์ พืชที่เราได้เห็น อยู่รอบ ๆ ตัวเรา
บ้านเรา ชุมชนเรา คือ ชีวิตเรา เพราะว่า เราต้องอาศัยดิน น้ำ ป่า เขา พืช
สัตว์เหล่านั้นจึงมีชีวิตอยู่ได้ ดินหด น้ำแห้ง ฝนแล้ง ป่าถูกเผา ภูเขาพัง
สัตว์ล้มตายด้วยโรคบางชนิดภาวะเช่นนี้ คือ สัญญาณเตือนภัยอันใหญ่หลวงได้เกิดขึ้นแก่มนุษย์แล้วเพราะเราเป็นอยู่ได้พัฒนาได้ก็โดยอาศัยสิ่งเหล่านี้
การพูดถึงการออมทรัพย์สินหรือทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นเรื่องใหญ่ยิ่งเท่ากับออมชีวิตเงินทองจะมีความหมายก็
เมื่อมีสิ่งนี้เมื่อไม่มีสิ่งนี้เงินทองก็หมดความหมายกลายเป็นเศษกระดาษ เศษโลหะที่กินไม่ได้ช่วยชีวิตมนุษย์ไม่ได้เลยการใช้เงินเพื่อจัดการทรัพยากรให้คงอยู่ในภาวะปกติจึงเป็นเรื่องต้องคิดต้องทำ
6) ด้านการพัฒนาชีวิต การออมเป็นเรื่องการรู้
การคิดและการทำการออมที่เริ่มด้วยการเรียนรู้เรื่องสัจจะ คือ ความจริงที่รู้
ที่คิด ที่พูด ที่ทำ ของตนเอง ว่าจะต้องพูดจริง ทำจริง คิดจริงและรู้จริงนั้นนับเป็นการเรียนรู้เพื่อรู้จักตนเอง รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างคนกับผู้คนในครอบครัว
ในชุมชน เป็นต้น โดยเฉพาะคนในครอบครัวมีภรรยาหรือสามีและลูก ๆ รวมปู่ยาตายายถ้าคนในครอบครัวรู้จักสัจจะ
คือ ความซื่อสัตย์ ซื่อตรง จริงใจ จริงวาจา จริงการทำต่อกันรู้จักข่มใจในบางโอกาสบางกรณี
รู้จักอดทนอดกลั้น รู้จักสละสิ่งของให้แก่กันและรู้จักสลัดอารมณ์มัวหมอง เป็นต้น
ก็มีคุณต่อชีวิตของคนในครอบครัวอย่างมากมายแล้วยิ่งไปกว่านั้น
ถ้าได้ศึกษาให้ลึกลงไปในสัจจะของชีวิตทั้งที่ตนเอง ผู้อื่น สิ่งอื่น รอบ ๆ
ตัวอีกด้วยแล้วก็จะยังเพิ่มคุณประโยชน์ให้อีกมากมาย จนถึงขั้นเข้าใจสัจธรรมทั้งที่ตนเองผู้อื่น และสิ่งอื่นก็ถือว่าถึงขั้นสุดยอดของการพัฒนาชีวิตแล้ว
ที่มา : http://sakanya.wikispaces.com/
ขอบคุณเว็บไซต์ : http://sakanya.wikispaces.com/
|