<< Go Back

โครงการสำรวจพฤติกรรมการจัดการการเงินส่วนบุคคล (Money Watch) เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันรามจิตติและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมและทัศนคติในการจัดการการเงินส่วนบุคคล การออม และการลงทุนของประชาชน เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมลุทัศนคติด้านการจัดการการเงินส่วนบุคคล การออม และการลงทุนของประชาชนให้มีความเหมาะสม รวมทั้งเป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์พฤติกรรมด้านการจัดการการเงินของคนไทย วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยโดยใช้แบบสำรวจ เก็บข้อมูลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2549 ดำเนินการเก็บข้อมูลใน 7 ภาค ภาคละ 2 จังหวัด รวม 14 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก สุโขทัย พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท มหาสารคาม ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา ชลบุรี กรุงเทพฯ นนทบุรี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ในการหาค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สำคัญได้แก่ ระดับชั้น เพศ เป็นต้น

 

 

ที่มา : http://www.jiaacademy.com/content_promotion_detail.php?id=53

 

ในกลุ่มนักเรียนนิสิตนักศึกษา

ในด้านรายรับรายจ่ายผลการสำรวจพบว่า นักเรียนระดับประถมศึกษามีรายได้เฉลี่ย 30 บาท และมีรายจ่ายเฉลี่ย 27 บาทต่อวันในขณะที่นักเรียนระดับมัธยมศึกษามีรายได้เฉลี่ย 2,000บาทต่อเดือนและมีรายจ่ายเฉลี่ย 70 บาทต่อวันและนักศึกษาระดับอุดมศึกษามีรานได้เฉลี่ย 3,000 บาทต่อเดือนและมีรายจ่ายเฉลี่ย 100 บาทต่อวัน โดยนักเรียนนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีระดับรายจ่ายเฉลี่ยสูงกว่าทุกภาค

ในด้านการบริโภคมีข้อค้นพบที่น่าสนใ จคือการที่นักเรียนนิสิตนักศึกษามีพฤติกรรม การบริโภคที่ค่อนข้างฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น โดยพิจารณาจากการที่นักเรียนระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา ถึงร้อยละ 30 64 และ 90 ตามลำดับ มีโทรศัพท์มือถือใช้ และมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าโทรศัพท์มือถือเฉลี่ยถึง 300 300 และ 350 บาทต่อเดือน ตามลำดับ นอกจากนี้ มีนักเรียนประถม มัธยม และนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีโทรศัพท์มือถือใช้ถึงร้อยละ 20 31 และ 41 ตามลำดับ ที่คิดจะเปลี่ยนโทรศัพท์ภายใน 1 ปี ทั้งนี้โดยที่นักเรียนระดับมัธยมร้อยละ 33 และนักศึกษาระดับอุดมศึกษาร้อยละ 67 จ่ายค่าโทรศัพท์มือถือเอง นอกจากนี้ในส่วนของนิสัยการบริโภคนักเรียนประถมถึงร้อยละ 31 มัธยมร้อยละ 44 และอุดมศึกษาร้อยละ 20 มีลักษณะผู้บริโภคที่ใจร้อนใจเร็ว (Impulsive buyer) คืออยากซื้ออะไรมักซื้อเลย นักเรียนนักศึกษาระดับประถม มัธยมและอุดมศึกษา ร้อยละ 17 12 และ 11 ตามลำดับมักซื้อสินค้าตามอิทธิพลการโฆษณา ผลการสำรวจยังพบอีกว่านักเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาถึงร้อยละ 29 มีปัญหารายรับไม่พอรายจ่ายและต้องขอค่าขนมเพิ่มเป็นประจำจากผู้ปกครอง ในขณะที่นักศึกษาระดับอุดมศึกษาร้อยละ 15 มีปัญหาค่าใช้จ่าย และต้องยืมเงินเพื่อนเป็นประจำ และมีนักศึกษาถึงร้อยละ 30 ที่เล่นการพนัน ซึ่งส่วนหนึ่งเพื่อหวังเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ให้ตนเอง   ทั้งนี้โดยที่ไม่มีความแตกต่างมากนักใน เรื่องนิสัยและพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียน นิสิตนักศึกษาระหว่างเพศแต่ในแง่ของภาคภูมิศาสตร์พบว่านักเรียนนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลซึ่งทีค่าเฉลี่ยเกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรม การบริโภคสูงกว่าภาคอื่น ตามมาด้วยภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างตามลำดับ

 

 

ที่มา : http://thaiblogonline.com/tanakrit.blog?PostID=42910

 

ในส่วนนิสัยและและพฤติกรรมการออม  และพฤติกรรมเสี่ยงทางการเงินของนักเรียนนิสิตนักศึกษา

พบว่านักเรียนประถมและมัธยมร้อยละ 67 และ 55 ตามลำดับ ได้รับการสอนเรื่องความประหยัดและการออมจากที่บ้าน อย่างไรก็ตามมีนักเรียนประถม มัธยมและนักศึกษาระดับอุดมศึกษาเพียงร้อยละ 38 25 และ 34 ตามลำดับ ที่มีการออมเงินจริง โดยส่วนใหญ่มีการออมเงินเดือนละ 100 200 และ 500 บาท ตามลำดับ โดยร้อยละ 52 40 และ 30 ใช้วิธีหยอดกระปุกเก็บไว้ที่บ้าน ร้อยละ 21 18 และ 20 นำไปฝากธนาคาร นักเรียนประถมร้อยละ 13 มัธยมร้อยละ 21 และนักศึกษาร้อยละ 20 เอาเงินที่เหลือไปใช้เที่ยวเตร่ อย่างไรก็ตามมีนักเรียนประถมถึงร้อยละ 36 มัธยมร้อยละ 55 และนักศึกษาร้อยละ 68 ที่อยากทำงานหารายได้พิเศษ เฉพาะในส่วนของนิสิตนักศึกษามีถึงร้อยละ 40 ที่อยากมีธุรกิจส่วนตัวในอนาคต นักเรียน นิสิต นักศึกษา ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักและไม่สนใจที่จะใช้บริการห้องสมุด/เว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ไม่มีความแตกต่างมากนักในระหว่างเพศ และภาคภูมิศาสตร์ในเรื่องนิสัยและพฤติกรรมการออม

 

 

ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/health/20100322/106006/

5-วิธีรับมือภาวะอ่อนล้าของสาววัยทำงาน.html

 

ในกลุ่มคนวัยทำงาน

กลุ่มตัวอย่างซึ่งกระจายในทุกกลุ่มอาชีพใกล้เคียงกัน (เกษตรกรรม อุตสาหกรรม บริการ ราชการ และธุรกิจส่วนตัว) ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 40 ปี และมีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน โดยมีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 32 ที่มีรายได้ 10,000 - 20,000 บาท และร้อยละ 23 มีงานหรืออาชีพเสริมรายได้ ในส่วนของรายจ่ายผลการสำรวจพบว่ารายจ่ายร้อยละ 54 รายจ่ายประจำ (ค่าน้ำ-ไฟ ค่าเช่า ฯลฯ) ในขณะที่ร้อยละ 24 เป็นรายจ่ายไม่ประจำ (ซื้อของ เที่ยวเตร่ ฯลฯ) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 44 มีการออมเงิน โดยสัดส่วนการออมส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 20 ของรายได้ โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 90 ใช้การนำเงินไปฝากธนาคาร ร้อยละ 46 ลงทุนในการซื้อสินทรัพย์ ร้อยละ 33 ลงทุนในกองทุน ร้อยละ 14 ลงทุนพันธบัตร และมีเพียงร้อยละ 2 ที่ลงทุนในหุ้น โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรมีการออมเงินน้อย สุดในขณะที่กลุ่มตัวอย่างในภาคบริการมีการออมเงิน สูงสุดในส่วนของนิสัยและพฤติกรรม การออมและพฤติกรรมเสี่ยงทางการเงิน ผลการสำรวจพบว่ากลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 56คิดว่ายังไม่ถึงเวลาต้องออมเงิน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 37 มีลักษณะเป็นผู้บริโภคที่ใจร้านใจเร็ว (Impulsive buyer) โดยร้อยละ 13 มักซื้อสินค้าตามอิทธิพลของการโฆษณาร้อยละ 37 มีปัญหาการชำระบัตรเครดิตร้อยละ 16 เล่นการพนันและกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70 ไม่รู้จักห้องสมุด/เว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และไม่สนใจที่จะลงทุนในตลาดหลักทรัพย์

 

 

ที่มา : http://www.thaiblogonline.com/chat_665.blog?PostID=19054

 

ในกลุ่มคนวัยเกษียณ

ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน โดยมีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 24 ที่มีรายได้ 10,000 - 20,000 บาท และร้อยละ 23 มีรายได้ 20,000 - 30,000 บาทต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างมีแหล่งรายได้มาจากเงินบำนาญร้อยละ 48 จากงานเสริมร้อยละ 25 จากดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคารร้อยละ 32 และจากบุตรหลานร้อยละ 41 ในส่วนของรายจ่ายพบว่า รายจ่ายของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น รายจ่ายประจำ (ค่าน้ำ-ไฟ ค่าเช่า ฯลฯ)  โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 กับเป็นรายจ่ายไม่ประจำ (ซื้อของ เที่ยวเตร่ ฯลฯ) อีกร้อยละ 20 ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 43 มีการออมเงิน ส่วนใหญ่ออมเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 50 ของรายได้ โดยร้อยละ 75 ใช้วิธีนำเงินไปฝากธนาคาร ร้อยละ 31 ลงทุตนในพันธบัตร ร้อยละ 30 ลงทุนโดยซื้อเป็นสินทรัพย์ ร้อยละ 28 ลงทุนในกองทุน และมีเพียงร้อยละ 3 ที่ลงทุนในหุ้น ทั้งนี้ ผู้เกษียณอายุในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลมีสัดส่วนการออมเงินมากที่สุด ในขณะที่ภาคเหนือมีสัดส่วนการออมต่ำสุด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 47 มีการเก็บเงินสะสมไว้ตั้งแต่ทำงานและคิดว่าพอเพียงในปัจจุบัน ร้อยละ52 ไม่มีหนี้สิน ร้อยละ 28 เล่นการพนัน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 80 ไม่รู้จักห้องสมุด/เว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและไม่สนใจการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์

 

 

ที่มา : http://www.arayanewspaper.com/content-

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย-3-1442-30592-1.html

 

ในส่วนของข้อเสนอแนะจากการวิจัย

ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดย TSI ควรมีการสานต่อการพัฒนาสื่อการเรียน เงินทองของมีค่าไปสู่การส่งเสริมและพัฒนาสระวิชาและกระบวนการเรียนการสอนเรื่อง เงินศึกษา” (Money Study) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทักษะชีวิต เพื่อให้เด็กมีความรู้เรื่องเงิน การออม การจัดการการเงิน และการลงทุนให้กว้างขวางและเพียงพอต่อ การมีชีวิตทางการเงินที่มั่นคงยิ่งขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ยังควรมีการร่วมมือ กับเครือข่ายคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ เพื่อพัฒนาครูรุ่นใหม่ให้มีทักษะการสอน เงินศึกษาการส่งเสริมการพัฒนาทักษะการเป็นผู้บริโภคที่ชาญฉลาด และการรณรงค์เรื่องการบริโภคอย่างพอเพียง และการออมเงินโดยเฉพาะกับวัยรุ่นระดับมัธยม การส่งเสริมและเปิดพื้นที่ทำงานหารายได้พิเศษให้แก่เยาวชนทุกระดับ ตลอดจนการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ งานภาคสังคม และการศึกษาของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างต่อเนื่อง

 

ขอบคุณเว็บไซต์ : http://www.ramajitti.com/research_project_money.php

 

<< Go Back