<< Go Back

การเลี้ยงปศุสัตว์

         ปศุสัตว์ หมายถึง สัตว์เศรษฐกิจที่มนุษย์นำมาเลี้ยง เพื่อผลประโยชน์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น เพื่อใช้งาน และเป็นอาหาร เป็นต้น สัตว์เศรษฐกิจมีทั้งสัตว์สี่เท้า เช่น โค กระบือ ม้า แพะ แกะ สุกร และ สัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ ห่าน ไก่งวง เป็นต้น
การเลี้ยงสัตว์นับว่าเป็นอาชีพที่ดีอย่างหนึ่งของเกษตรกร สามารถ เลี้ยงเป็นจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นอาชีพหลัก หรือเลี้ยงจำนวนไม่มาก เพื่อเป็น อาชีพเสริมก็ได้
          ในโครงการพระราชดำริเกือบทุกโครงการทั่วประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดให้นำโครงการปศุสัตว์เข้าร่วมด้วย เพราะ ได้ทรงพิจารณาเห็นว่า การเลี้ยงสัตว์จะมีส่วนสนับสนุนที่สำคัญในการทำให้ เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้น โดยเฉพาะเป็นหลักประกันให้เกษตรกรมีรายได้ สำหรับใช้จ่ายในครอบครัว หากทำการเพาะปลูกแล้วไม่ได้ผล หรือได้รับ ความเสียหายจากภาวะฝนแล้งหรือน้ำท่วม และแม้ว่าจะไม่เป็นรายได้มากนัก แต่ก็ยังพอบรรเทาความเดือดร้อนลงได้ อย่างน้อยก็มีไว้บริโภคในครอบครัว และถ้าเลี้ยงไว้จำนวนมาก ก็จะมีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ นอกจากนี้ เกษตรกร ยังได้รับความเพลิดเพลินจากการเจริญเติบโต การให้ลูก และการให้ผลิตผล ของสัตว์เลี้ยง เช่น ในส่วนของผู้ที่ทำการเพาะปลูกหรือทำไร่ทำนา จะได้ มูลสัตว์มาใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดิน ทำให้ได้รับผลิตผลจากการเพาะปลูกมากขึ้น โดยไม่ต้องเสียเงินไปซื้อปุ๋ยวิทยาศาสตร์มาใช้.....

ชนิดของสัตว์
สัตว์เลี้ยงที่ถือว่ามีความสำคัญและสามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกร คือ

สัตว์เคี้ยวเอื้อง
ได้แก่สัตว์เลี้ยงพวกโค กระบือ แพะ และแกะ ซึ่งเป็นสัตว์สี่กระเพาะ เมื่อกินอาหารเข้าไปแล้วจะคายออกมาเคี้ยวเอื้องอีกครั้งก่อน จะถูกนำไปใช้เป็น ประโยชน์
สัตว์เคี้ยวเอื้องอาจแบ่งแยกประเภทออกได้ตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ของการเลี้ยงดังนี้คือ
             1.1 โคเนื้อ โคที่เลี้ยงในบ้านเรา เป็นโคขนาดเล็ก มีการเจริญ เติบโตช้า ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้ใช้งาน เช่น ไถนา ทำไร่ และเทียมเกวียน หรือ ล้อเพื่อใช้ในการขนส่งระยะสั้น ๆ หลังจากเลิกใช้งานแล้วก็ส่งเข้าโรงฆ่า ชำแหละ เนื้อออกมาเป็นเนื้อวัวสำหรับบริโภค.....
           1.2 โคนม โคพื้นเมืองของไทยให้นมน้อยประมาณวันละ 2-3 ลิตร ทางราชการจึงได้ทดลองนำโคพันธุ์จากต่างประเทศ เข้ามาเลี้ยงหลายพันธุ์ด้วยกัน และพบว่าโคพันธุ์แท้ ที่นำเข้ามาทดลองเลี้ยงในบ้านเรา ยังไม่มีความเหมาะสมกับ บ้านเรา.....
               1.3 กระบืองานหรือกระบือปลัก กระบือบ้านเราเรียกทั่ว ๆ ไปว่า กระบือปลักหรือกระบือที่เลี้ยงไว้เพื่อใช้งานเป็นหลัก ให้น้ำนมน้อยประมาณวันละ 1-2 ลิตร และเมื่อเลิกใช้งานแล้วก็ส่งเข้าโรงฆ่าเอาเนื้อมาบริโภค
      1.4 กระบือนมหรือกระบือแม่น้ำ กระบือชนิดนี้เป็นกระบือที่นำเข้า มาจากต่างประเทศเพื่อเลี้ยงเอาไว้รีดนมโดยเฉพาะ ที่เรียกว่ากระบือแม่น้ำ เป็นการเรียกตามชาวต่างประเทศที่เรียกว่า ริเวอร์บัฟฟาโล (River buffalo).....
               1.5 แพะ แพะพื้นเมืองของบ้านเรามีเลี้ยงกันมากในภาคใต้ ตัวค่อน ข้างเล็ก หนักประมาณ 10-18 กิโลกรัม และมีนมน้อย .....
               1.6 แกะ แกะพื้นเมืองเลี้ยงกันมากในภาคใต้เช่นเดียวกับแพะ ตัวมีขนาดเล็กมากประมาณ 8-12 กิโลกรัมแต่มีความทนทานต่อโรคดี.....

สัตว์กระเพาะเดียว
          สัตว์กระเพาะเดียวที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศคือ สุกร ซึ่งมีการเลี้ยงกันมากทั่วประเทศ
สุกรพื้นเมืองเดิมมีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น พวง แรด และอื่น ๆ มีลำตัวค่อนข้างเล็ก แต่ให้ลูกดกและมีความทนทานต่อโรคต่าง ๆ ได้ดี ซึ่งไม่ เหมาะสมจะใช้เลี้ยงเพื่อธุรกิจการค้า
ต่อมาจึงได้มีการนำสุกรพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาทดลองเลี้ยงใน บ้านเราหลายพันธุ์ด้วยกัน และพบว่าสุกรพันธุ์แท้บางพันธุ์สามารถเลี้ยงได้ดีใน บ้านเรา ซึ่งได้แก่สุกรพันธุ์ต่อไปนี้
           (1) ดูร็อกเจอร์ซี
           (2) ลาร์จไวต์
           (3) แลนด์เรซ

สัตว์ปีก
สัตว์ปีกที่มีการเลี้ยงกันในแง่การค้า คือ
          ไก่ ไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงในบ้านเรา เป็นไก่ที่เจริญเติบโตช้า ให้ไข่น้อย และมีลำตัวค่อนข้างเล็ก แต่มีความทนทานต่อโรคต่าง ๆ ได้ดี
ปัจจุบันมีผู้นำไก่จากต่างประเทศ มาเลี้ยงในรูปการค้ากันมาก จนถึงกับมีการส่งเนื้อไก่ ออกไปขายต่างประเทศมี 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ
           1. ไก่เนื้อ
           2. ไก่ไข่
         เป็ดเป็ดพื้นเมืองของเรามีเลี้ยงมากที่นครปฐม สมุทรปราการ และชลบุรี จึงมักเรียกชื่อเป็ดพื้นเมืองตามแหล่งที่เลี้ยงเป็ดว่า เป็ดนครปฐม เป็ดปากน้ำ และเป็ดชลบุรีเป็นต้น
เป็ดที่นำเข้ามาเลี้ยงในบ้านเราแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ
           1. เป็ดไข่
           2. เป็ดเนื้อ
         ห่านห่านที่เลี้ยงในบ้านเราส่วนใหญ่เป็นห่านจีน มีทั้งชนิดตัวสี ขาวและสีน้ำตาล ห่านกินอาหารได้ทุกชนิดทั้งหญ้า ผัก เมล็ดพืชปลา หรือ อาหารผสม แต่เนื่องจากคนไทยยังไม่ค่อยนิยมบริโภคจึงมีการเลี้ยงค่อนข้าง กำจัด
ไก่งวง ไก่งวงสามารถกินอาหารต่าง ๆ ได้คล้ายกับห่าน เกษตรกรมักจะเลี้ยงปล่อยให้หาอาหารกินเอง
ไก่งวงที่เลี้ยงในบ้านเรามีทั้งชนิดสีขาวและสีเทาปนน้ำตาล แต่ ไม่ค่อยแพร่หลายนัก ยกเว้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างมากกว่าภาค อื่น ๆ เพราะคนไทยยังไม่นิยมบริโภคไก่งวงมากนัก
นกกระทา นกกระทาที่เลี้ยงในบ้านเราส่วนใหญ่นำมาจาก ประเทศญี่ปุ่น และเลี้ยงเพื่อเอาไข่เป็นหลัก มีการเลี้ยงกันบ้างในภาคกลาง แต่ก็ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร

หลัการเลี้ยงสัตว์
ในการเลี้ยงสัตว์มีปัจจัยที่สำคัญ 4 ประการด้วยกัร คือ

พันธุ์สัตว์
    เกษตรกรไทยยังไม่ให้ความสำคัญต่อพันธุ์สัตว์ที่นำมา ใช้เลี้ยงมากนัก จึงมิได้ให้ความสำคัญต่อคุณภาพทางพันธุกรรมของสัตว์ที่นำมา ใช้เลี้ยง โดยเฉพาะในโคและกระบือ
ปัจจุบันเกษตรกรไทยเริ่มให้ความสำคัญต่อการเลือกซื้อหาสัตว์ ที่มีคุณภาพดีมาเลี้ยงมากขึ้น โดยเฉพาะในไก่ เป็ด และสุกร
เกษตรกรจำนวนมากนิยมตอนโค และกระบือที่มีขนาดใหญ่และ รูปร่างดีเพื่อนำไปใช้งาน คงปล่อยให้โคกระบือตัวผู้ขนาดเล็กไว้คุมฝูง จึงทำ ให้ลูกโคและกระบือที่คลอดออกมาระยะหลัง ๆ มีขนาดเล็กลง
ดังนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ จึงควรที่จะได้เลือกหาซื้อสัตว์พันธุ์ดี มาเลี้ยง ไม่ใช่สัตว์อะไรก็ได้ และควรจะได้สงวนสัตว์ที่ดีมีรูปร่างใหญ่ให้ นมมาก ให้เนื้อมาก ให้ลูกดก ให้ลูกบ่อย มีความทนทานต่อโรคเก็บไว้เลี้ยง ทำพันธุ์ โดยเฉพาะควรจะเปลี่ยนวิธีตอนสัตว์เสียใหม่โดยให้ตอนตัวเล็ก ๆ ให้หมด และเก็บตัวใหญ่เอาไว้ทำพันธุ์

อาหารสัตว์
           เกษตรกรจำนวนมากยังไม่ให้ความสนใจต่อการ ให้อาหารโคและกระบือเท่ากับผู้เลี้ยงสุกร ไก่ และเป็ด โดยคิดเอาว่าโค และกระบือหาอาหารกินได้ ไม่จำเป็นต้องจัดหาอาหารให้ แม้แต่สุกร ไก่ และเป็ดเอง แม้รู้ว่าต้องจัดหาอาหารให้ก็ยังไม่รู้ว่าระยะใดสัตว์ต้องการ อาหารชนิดใด มากน้อยเท่าใดจึงจะเหมาะสม
เกษตรกรที่ทำการเลี้ยงสัตว์จึงจำเป็นต้องศึกษาเรื่องการให้อาหาร สัตว์ และจัดหาอาหารมาให้สัตว์กินให้ถูกต้องกับความต้องการ จึงจะทำให้สัตว์ นั้นเจริญเติบโตได้ดี ให้นมมาก ให้ลูกทุกปี หรือให้ลูกดก และไม่เป็นโรคต่าง ๆ เนื่องจากการขาดอาหาร
อาหารหลักที่สำคัญ ๆ ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ควรจะได้ให้ความ สนใจ คือ
           1. อาหารโปรตีน
           2. อาหารพลังงาน
           3. อาหารแร่ธาตุ
           4. วิตามิน
           5. น้ำ

การจัดการดูแล
สัตว์เลี้ยงก็เช่นเดียวกับคนที่ต้องการให้เจ้าของดูแล จึงจะสามารถเจริญเติบโตและผลิตผลหรือการสืบพันธุ์ที่ดีได้ สิ่งสำคัญที่ต้อง ให้ความดูแลให้แก่สัตว์ก็คือ
           1. เรือนโรง
           2. การให้อาหารและน้ำ
           3. การจัดการเกี่ยวกับการผสมพันธุ์
           4. การรีดนมและการจัดการอื่น ๆ

โรคสัตว์
แนวทางในการป้องกันโรคในหลักการใหญ่ ๆ ที่ยึดถือปฏิบัติกันก็คือ
           1. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคสัตว์ล่วงหน้า
           2. การป้องกันโรคทางอื่น
           3. การคัดเลือกผสมพันธุ์สัตว์ให้มีความต้านทานโรค

 

ที่มาของภาพ : http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK12/chapter5/t12-5-l1.htm

 

<< Go Back