โดยยึดหลักของ"PDCA"
เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางและแพร่หลายถึงวงจรคุณภาพ
คือ วงจร P D C A เป็นวงจรพัฒนาคุณภาพงาน
โดยเป็นวงจรพัฒนาพื้นฐานหลักของการพัฒนาคุณภาพทั้งระบบ (Total Qaulity Management : TQM) ผู้ที่คิดค้นกระบวนการหรือวงจรพัฒนาคุณภาพ PDCA คือ shewhart นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันแต่ Deming ได้นำไปเผยแพร่ที่ประเทศญี่ปุ่นจนประสบผลสำเร็จ
จนผลักดันให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกคนทั่วไปจึงรู้จักวงจร PDCA จากการเผยแพร่ของ Deming จึงเรียกว่า "วงจร Deming" หรือ วงจร PDCA ประกอบด้วย 4
ขั้นตอนแบบอธิบายสั้นๆ ดังต่อไปนี้
ที่มา :
http://admonsis.info/site/wp-content/uploads/2014/07/PCDA-Anglais.jpg
การวางแผน Plan = P
การทำงานใดต้องมีขั้นการวางแผน
เพราะทำให้มีความมั่นใจว่าทำงานได้สำเร็จ การจัดอันดับความสำคัญของ เป้าหมาย
กำหนดการดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน
กำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ดำเนินการและกำหนดงบประมาณที่จะใช้
การเขียนแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของลักษณะ การดำเนินงาน
การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตและช่วยลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้
การปฏิบัติ DO = D
เป็นการลงมือปฏิบัติงาน ตาม แผนที่เราวางไว้
การดำเนินการตามแผน อาจประกอบด้วย การมีโครงสร้างานรองรับ มีวิธีการ ดำเนินการ มีผู้รับผิดชอบงานและ มีผลของการดำเนินการ
การตรวจสอบ Check= C
เป็นขั้นตอนของการประเมินการทำงานว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่
หรือมีเรื่องอะไรปฏิบัติได้ตามแผนมีเรื่องอะไรไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผนหรือปฏิบัติแล้วไม่ได้ผล
การตรวจสอบนี้จะทำให้การดำเนินการประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้ การประเมินแผน
อาจประกอบด้วยการประเมินโครงสร้างที่รองรับ การดำเนินการ
การประเมินขั้นตอนการดำเนินงานและการประเมินผลของ การดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้
การปรับปรุงแก้ไข Action
= A
เมื่อเรา Check แล้ว
พบว่า มีปัญหาหรือความบกพร่องแล้วลงมือแก้ไข
ซึ่งในขั้นนี้อาจพบว่าประสบความสำเร็จหรืออาจพบว่ามีข้อบกพร่องอีกด้วย
ต้องตรวจสอบเนื้อของงาน เพื่อหาทางแก้ไข และประเมินวิเคราะห์ว่ามีโครงสร้าง
หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดที่ควรแก้ไข
ปรับปรุงอีกหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีกจึงเป็นการทำไปเรื่อยๆ
ไม่มีการหยุดเป็นการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เทคนิคการวางแผน การวางแผนที่ดีควรตอบคำถามต่อไปนี้ได้
เช่น
• มีอะไรบ้างที่ต้องทำ
• ใครทำ
• มีอะไรต้องใช้บ้าง
• ระยะเวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอนเป็นเท่าใด
• ลำดับการทำงานเป็นอย่างไร ควรทำอะไรก่อน อะไรหลัง
• เป้าหมายในการกระทำครั้งนี้คืออะไร
เป้าหมายที่ดีควรยึดหลัก SMARTER
• S (specific) ชัดเจน
เจาะจง
• M (easurable) วัดได้ ประเมินผลได้
• A (acceptable) ผู้ปฏิบัติยอมรับและเต็มใจทำ
• R (realistic) อยู่บนพื้นฐานความจริง
ไม่เพ้อฝัน
• T (time frame) มีกรอบระยะเวลา
• E (extending) เป็นเป้าหมายที่ท้าทายความสามารถ
ไม่ใช่ว่าเคยทำได้ 10 ก็ตั้งเป้าหมายไว้แค่ 8 หรือแค่ 10 แต่ควรตั้งไว้อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ควรต่ำกว่า
11
• R (rewarding) คุ้มกับการปฏิบัติ
หมายถึงเป้าหมายที่ทำไปแล้วเกิดประโยชน์ คุ้มค่ากับการลงแรงลงเวลาและทรัพยากร
เทคนิคขั้นตอนการปฏิบัติ
• ทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรกจะได้ไม่ต้องแก้ไขหรือรับผลเสียจากการกระทำที่ผิดพลาด
• ตรวจสอบทุกขั้นตอนหากพบข้อบกพร่องให้รีบแก้ไขก่อนที่ความเสียหายจะขยายเป็นวงกว้าง
เทคนิคขั้นตอนตรวจสอบ
• ตรวจสอบวิธีการและระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติจริงว่าทำได้ตามแผนหรือไม่
• ตรวจสอบผล ที่ได้ว่าได้ตามเป้าหมายหรือไม่
เทคนิคขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสม
• หลังจากตรวจสอบแล้วถ้าเราทำได้ตามเป้าหมายให้รักษาความดีนี้ไว้
• หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีข้อผิดพลาดไม่ว่าในขั้นตอนใดๆ ก็ตาม ให้หาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุ
• หาทางปรับปรุงเพื่อให้การปฏิบัติครั้งต่อไปดีขึ้นกว่าเดิม
|