หนึ่งในงานบ้านที่เป็นเรื่องยุ่งยากของหลายๆ คนก็คือ "งานรีดผ้า" เพราะต้องใช้ทั้งแรงงาน และเวลา เพื่อให้ผ้าเรียบเวลาสวมใส่เสื้อผ้าชุดนั้น จะได้เกิดความมั่นใจการรีดผ้าให้เรียบนั้น หากเรารู้เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ไม่ว่าจะรีดผ้า เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันหรือรีดผ้า เพื่อให้บริการลูกค้า สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจซักอบรีดก็ จะช่วยประหยัดแรงงาน และเวลาได้เยอะทีเดียว และเวลาว่างที่เหลืออยู่ ยังเป็นโอกาสให้เราได้พักผ่อน หรือคิดสร้างสรรค์หาช่องทางเพิ่มรายได้ ให้กับตนเองได้อีกด้วย เทคนิคง่ายๆ ในการรีดผ้าให้เรียบ
ที่มา : http://www.cmprice.com/e-shop/?p_id=616
• เสื้อผ้าฝ้ายไทยสี มักซีดง่าย เวลารีดให้รีดด้านในผ้าฝ้ายที่มีลายจิก หรือสอดไหมให้ลายเรียบจากนั้นวางผ้า สีขาวทับข้างบนโดยพรมน้ำบนผ้าสีขาวก่อนแล้วจึงรีดผ้าตามปกติ ผ้าจะได้ไม่เป็นขน
• ผ้าลูกไม้ที่ แสนจะบอบบาง และต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เวลารีดผ้าลูกไม้ไม่ควรใช้ไฟแรง ควรใช้ผ้าหนาๆ วางทับไว้ด้านบนผ้าลูกไม้อีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันการเกิดรอยไหม้ และรอยย่นบนผ้าลูกไม้
• การรีดผ้าอัดกลีบ ให้วางและจัดผ้าอัดกลีบให้เข้าที่ ฉีดน้ำพรมนิดหน่อย แล้วเอาผ้าสีขาวประเภทผ้ามัสลิน ซึ่งบาง และแห้งง่ายปูทับลงไป แล้วใช้เตารีดระดับไฟร้อนสักนิด รีดกลับไปกลับมาหลายๆ ครั้ง จนผ้าสีขาวข้างบนแห้ง วิธีนี้จะทำให้กลีบผ้าคมตามที่ต้องการ แต่ถ้าเป็นผ้าจอร์เจียอัดกลีบก็ไม่ควรใช้ไฟแรงนัก
• ผ้าไหมที่ยับมาก ให้พรมน้ำหรือฉีดน้ำยาหมาดๆ แล้วพับใส่ถุงพลาสติกให้เรียบร้อย จากนั้นนำไปวางไว้ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นประมาณ 10 นาที แล้วจึงนำผ้าไหมออกมารีด จะทำให้รีดผ้าไหมได้เรียบและรีดได้ง่ายขึ้น ซึ่งการรีดผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าใยสังเคราะห์ ควรรีดด้านในของผ้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยวาวหรือรอยด่างบนผ้า • กางเกงที่มีรอยยับที่ขอบกางเกง ถ้าต้องการให้เรียบ และอยู่คงทน ให้ใช้เศษสบู่ถูที่รอยพับด้านในเล็กน้อย ก่อนทำการรีด จะทำให้กางเกงเรียบสวย
• เนคไทของคุณผู้ชาย ถ้าต้องการรีดให้เรียบ เวลาผูกแล้วเนี๊ยบดูดี ให้ตัดกระดาษแข็งขนาดเล็กกว่าเนคไทเล็กน้อย พอสอดเข้าไปในเนคไทได้ จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาดๆ คลุมเนคไทไว้ แล้วรีดเนคไทตามปกติด้วยความร้อนปานกลาง
ที่มา : http://cha3ashop.blogspot.com/2009/11/sale.html
• การรีดกระโปรงจีบรอบตัว ให้ใช้กิ๊บดำหนีบรอยจีบแต่ละรอยไว้ แล้วจึงรีดผ้า กิ๊บดำที่หนีบ 1ไว้จะช่วยให้แนวจีบของกระโปรงชัดเจน และรีดได้ตรงแนวเดิม • การรีดเสื้อแขนยาวหรือเสื้อมีปก ให้รีดผ้าที่ส่วนแขน และปกก่อน จากนั้นจึงรีดตัวเสื้อ
• เสื้อเชิ้ต เป็นเสื้อที่เวลาสวมใส่ส่วนใหญ่ จะเก็บชายเสื้อไว้ในกางเกง ดังนั้น เวลารีดเสื้อเชิ้ต จึงไม่ต้องรีดเน้นส่วนชายเสื้อมากนัก เพื่อจะได้ไม่เปลืองแรงในการรีดผ้า
ข้อพิจารณาในการปรับใช้
เทคนิค ง่ายๆ อย่างนี้ทำได้ไม่ยาก หมั่นทำบ่อยๆ ก็จะชำนาญไปเอง สำหรับการรีดผ้านั้นหากไม่ทราบประเภทของเนื้อผ้า ให้ทดลองรีดผ้าในส่วนที่พ้นจากสายตาเมื่อสวมใส่ เช่น ชายเสื้อ เวลารีดผ้าให้เริ่มรีดจากผ้าเนื้อบางด้วยความร้อนต่ำเรื่อยไปจนถึงผ้าเนื้อหนา โดยเพิ่มความร้อนขึ้น เมื่อรีดผ้าใกล้เสร็จให้ดึงปลั๊กเตารีดออกแล้วใช้ความร้อนที่สะสมไว้ในเตารีดรีดผ้าต่อไป แต่ไม่ควรรีดผ้าโดยใช้ความร้อนสูงเกินไป เพราะอาจทำให้สีผ้าซีดเหลือง เนื่องจากรอยไหม้ของความร้อนได้ ร้านซักอบรีดส่วนใหญ่ จะใช้เตารีดไอน้ำช่วยในการรีดผ้า เพราะทำให้รีดผ้าได้ง่ายขึ้น และยังช่วยถนอมเนื้อผ้าได้ดีกว่าเตารีดธรรมดา และทุกครั้งก่อนทำการรีดผ้าควรฉีดน้ำพรมผ้าทิ้งไว้หลายๆ ชั่วโมงจะทำให้รีดผ้าได้เรียบขึ้น หากต้องการให้การรีดผ้าง่ายยิ่งขึ้นไปอีกเวลาตากผ้า ต้องสะบัดผ้าแรงๆ เพื่อให้ผ้าเรียบตึง และมีรอยยับน้อยที่สุดสำหรับเสื้อเชิ้ตหรือเสื้อมีจีบ มีระบาย ควรตากโดยใช้ไม้แขวน และพยายามจัดให้เข้ารูปเข้ารอยมากที่สุด เวลาผ้าแห้งจะได้เกิดรอยยับยู่ยี่น้อยที่สุด เมื่อนำผ้ามารีดอีกครั้ง ก็จะทำให้ผ้าเรียบดียิ่งขึ้น
การรีดผ้า
ผ้าที่ซักน้ำ พรมน้ำ ฉีดน้ำยารีดผ้าเรียบกับผ้าที่ชื้น พักไว้ก่อนนำไปรีด ผ้าที่ซักน้ำมัน ห้ามพรมน้ำ เพราะมีน้ำมันเคลือบอยู่ให้ฉีดน้ำยารีดผ้าเรียบได้เลย ถ้าไม่พักผ้าทิ้งไว้ผ้าจะไม่ดูดน้ำยาเข้าสู่เนื้อผ้า เมื่อนำไปรีดทันทีน้ำยาจะไปติดที่หน้าเตารีดแทน หรืออาจใช้การกดด้วยผ้าเช็ดตัว หรือใช้มือลูบเบา ๆ เพื่อให้น้ำยาซึมลงไปตามร่องของเนื้อผ้า และเป็นการป้องกันหน้าเตารีดสกปรกด้วย
ผ้าไหม แม้จะเกิดการตกสีทุกครั้ง หลังการซักแต่ไม่ทำให้ผ้าสีซีดลงการซัก พยายามบีบไล่น้ำมันออกจากผ้าให้มากที่สุด เพื่อประหยัดน้ำมัน นำไปซับด้วย
ผ้าเช็ดตัว ลูบ หรือเช็ดให้เรียบก่อนนำไปตากถ้าน้ำมันซักแห้งที่ผ่าน การใช้งานแล้วมีสีม่วงหรือมีสิ่งสกปรกตกค้างมากจะไม่นำมาใช้อีก การเก็บควรเก็บให้พ้นมือเด็กตั้งในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และห่างจากไฟเพราะเป็นสารไวไฟผ้าที่ซักน้ำมันอย่านำมารีด เมื่อผ้ายังเปียกชื้น เพราะจะทำให้เกิดการเสียดสี ซึ่งอาจทำให้เกิดประกายไฟขึ้นได้ควรทิ้งผ้าให้แห้งก่อน นำมาพรมน้ำยารีดผ้าเรียบแล้ว จึงรีดผ้าที่ควรนำมาซักด้วยน้ำมัน ควรเป็นผ้าที่มีความหมองของเส้นใย มีหลายสีและเป็นเส้นใยธรรมชาติ นอกจากนี้ผ้าที่ลงน้ำมันไม่ควรใช้เตารีดไอน้ำแต่ใช้เตารีดแบบแห้ง จะเหมาะกว่าผ้าใยสังเคราะห์ใช้เตารีดไอน้ำได้ ส่วนผ้าใยธรรมชาติมีความชื้นมากอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใช้ไอน้ำอีกใช้เตารีดแบบแห้งได้เลย
ที่มา : http://www.learners.in.th/blogs/posts/527859
การรีดผ้าแล้วผ้าเกิดการคืนตัวเพราะความชื้นในผ้าไม่พอความร้อนของตารีดไม่เหมาะสม หรือกดเตารีดไม่ทั่วถึง และรีบเก็บเข้าตู้ทันทีหลังการรีดทำให้ไม่มีที่ระบายอากาศ (หลังการรีดควรแขวนผ้าทิ้งไว้สักครู่ บางครั้งอาจนำผ้าที่รีดแล้วไปตากหรือผึ่งให้แห้งก่อนนำเข้าตู้หรือเก็บใส่ถุง) การแขวนเสื้อผ้าในตู้เสื้อผ้า ไม่ควรแขวนแน่นเกินไปจนไม่มีที่ระบายอากาศ ควรเว้นที่ว่างในตู้ไว้บ้าง
การตากผ้าก่อนผ้าแห้งควรสะบัดผ้าสัก 2-3 ครั้ง เพื่อให้เนื้อผ้านุ่ม เรียบและรีดง่ายขึ้นอาจใช้น้ำยาล้างจาน แชมพูสระผม แทนการใช้น้ำยาซักผ้า ใช้เกลือประมาณ 1 ช้อน ต่อน้ำ 1 กะละมัง แทนการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม (ใช้เกลือละลายน้ำ แล้วนำผ้าลงแช่ เกลือเป็นสารประจุบวกเหมือนกับน้ำยาปรับผ้านุ่ม)
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการรีดผ้า คือ
1. การเลือกเครื่องรีดผ้า ควรดูว่ารีดกับเส้นใยชนิดใด เส้นใยธรรมชาติต้องการเครื่องรีดผ้าที่มีน้ำหนักมาก
2. วิธีการผลิตผ้า โครงสร้างผ้า เช่น ผ้าทอ ผ้าถัก เลือกใช้เครื่องรีดต่างกัน
3. รูปร่างของผ้าที่จะรีด เช่น ผ้าปูโต๊ะ ผ้าปูที่นอน ไม่ควรใช้เตารีดธรรมดาเพราะพื้นที่หน้าเตารีดแคบทำ ให้ใช้เวลานานในการรีด ควรใช้เตารีดแบบลูกกลิ้งจะประหยัดเวลากว่า
4. แรงกดและน้ำหนักผ้า ถ้าต้องการน้ำหนักกดบนผ้าที่คงที่อาจใช้ระบบไฮดรอลิคช่วย
ปัจจัยการรีดผ้าที่ดี
1. แรงกด ได้มาจากเครื่องรีดแต่ละชนิด เช่น แผ่นรีด เตารีด ควรเลือกให้เหมาะสมกับผ้าแต่ละชนิด
2. ความชื้น ได้มาจากการพรมน้ำอย่างทั่วถึง ผ้าบางชนิดไม่ต้องการความชื้น เช่น เส้นใยสังเคราะห์ แม้จะพรมน้ำก็ไม่มีประโยชน์เพราะผ้าดูดซึมน้ำได้น้อย ผ้าบางชนิด เช่น ผ้าไหมจีนเส้นเล็ก ต้องรีดตอนหมาด ผ้าตัดเสื้อสตรีทั่วไปต้องพรมน้ำก่อน ทิ้งไว้สักครู่ เพื่อให้น้ำยาปรับผ้านุ่มหรือเคมีที่ตกค้างหลุดออกบางส่วน และทำให้น้ำยาที่ใช้ในการรีดผ้าซึมเข้าเนื้อผ้าได้
3. อุณหภูมิ ทดลองรีดที่ผ้ารองรีดหรือผ้าอื่นก่อน เพื่อทดสอบความร้อนของเครื่องรีดว่าเหมาะสมกับเนื้อผ้าหรือไม่ ควรปรับระดับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับชนิดของผ้า เตารีดไอน้ำต้องการการปรับอุณหภูมิเพื่อป้องกันจารบีที่ปุ่มปรับระดับเกิดการยึดตัว
4. เคมีที่ใช้ในการรีดผ้าเรียบ เช่น น้ำยารีดผ้าเรียบ น้ำยาอัดกลีบ อย่าใช้ความเข้มข้นมากเกินไป หากต้องการผ้าที่มีความแข็ง อยู่ตัว อาจใช้การลงแป้งแทนการใช้น้ำยาจีบ คือ ผ้าที่หักแล้วไม่สามารถรีดคืนได้
ที่มา : http://www.furnituretohome.com/index.php?mo=30&cid=154571
5. โต๊ะรีดผ้าและอุปกรณ์ช่วยรีด ควรมีความมั่นคง แข็งแรง ปรับระดับความสูงของโต๊ะรีดผ้าให้เหมาะสมกับความสูงของผู้รีด การนั่งรีดผ้าทำให้รีดผ้าไม่เรียบ ควรใส่รองเท้าแตะแทนการถอดรองเท้าในขณะรีดผ้าเพื่อป้องกันไฟดูด
เครื่องรีดผ้า แบ่งออกเป็น
1. เตารีดแบบแห้ง / แบบด้าน เป็นการให้ความร้อนจากแผ่นความร้อนโดยตรง ควบคุมอุณหภูมิได้ด้วยมือ หรืออัตโนมัติ ควรเลือกแบบที่มีน้ำหนักมาก ข้อดีคือให้ความร้อนสูง
2. เตารีดแบบไอน้ำ ให้ความร้อนด้วยไอน้ำ ไม่ได้เอาไอน้ำออกมารีด แต่ใช้การให้ไอน้ำวิ่งวนไปมาภายในท่อร้อยสาย และสายยางที่ร้อยไว้ด้านในเตารีด ให้ความร้อนอุ่น ร้อนน้อยกว่าเตารีดแบบแห้ง ใช้รีดผ้าที่บอบบาง เช่น ขนสัตว์ การใช้งานต้องมีถังต้มน้ำอีก 1 ใบ ซึ่งสามารถต่อหัวเตาได้หลายหัว
3. เครื่องรีดด้วยไอน้ำ ใช้ไอน้ำในการรีดผ้า เพราะผ้าบางชนิดไม่ต้องการการกดทับ แต่ใช้ไอน้ำวิ่งผ่านผ้า ทำให้คลายตัวจากรอยยับ ไอน้ำที่ใช้มีทั้งแบบมีแรงดัน และไม่มีแรงดัน และเป็นไอน้ำแบบเปียก (wet steam) หรือแบบแห้ง (dry steam) ก็ได้ เหมาะสำหรับผ้าบอบบาง เช่น ผ้าขนสัตว์ผ้าถัก ผ้ากำมะหยี่ ผ้าสักหลาด หลังการรีดด้วยไอน้ำให้แปรงซ้ำเพื่อให้ผ้าเรียบมากยิ่งขึ้น
4. เครื่องรีดด้วยไอน้ำและเตารีดแบบแห้ง เป็นเครื่องรีดที่รวมเอาการรีดทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน เพื่อความสะดวกในการใช้งาน จะใช้แบบไอน้ำ หรือแบบแห้งก็ได้
5. เครื่องรีดแบบกดทับ บางครั้งการใช้เตารีดรีดแบบไถไปมาอาจทำให้เส้นใยขึ้นขน การใช้เครื่องรีดแบบกดทับจะทำให้ผ้าเรียบกว่า บางครั้งอาจใช้ไฮโดรลิคช่วยในการกดทับ มักมีที่รีดเฉพาะส่วน เช่น แขน ปก ทำให้รีดได้อย่างรวดเร็ว
6. หุ่นรีดผ้า (form finishing) ใช้กับเสื้อผ้าที่ไม่สามารถถูกเตารีดได้ เป็นหุ่นสำเร็จ ใส่เสื้อผ้าที่ต้องการรีด เหยียบเพื่อดันไอน้ำเข้าไปในตัวหุ่น เมื่อดูดไอน้ำออกผ้าจะเรียบ
7. ลูกกลิ้งรีดผ้า (flat work) เหมาะกับการรีดผ้าที่แบน เช่น ผ้าผืน ผ้าปูที่นอน คล้ายเครื่องพิมพ์ทั่วไป รีดได้หน้ากว้าง 1.20 เมตร จนถึงผ้าคลุมเตียงขนาด king size อาจส่งผ้าเป็นผืนเข้าไปแล้วให้เครื่องพับออกมาเพื่อการจัดเก็บเลยก็ได้
เครื่องมือช่วยรีด
1. ที่พรมน้ำ ต้องกดฉีดอย่างแรง ๆ เพื่อให้ละอองน้ำเป็นฝอย มีทั้งแบบกระบอกฉีด แบบอัดลม (หาซื้อได้ตามร้านขายต้นไม้) และแบบละอองน้ำที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะไม่มีการหยดของน้ำแต่จะให้ละอองน้ำที่เป็นฝอย
2. โต๊ะรีดผ้า เทคนิคการรรีดอยู่ที่การวางผ้าให้เรียบจะทำให้การรีดเรียบขึ้น มีทั้งแบบโต๊ะธรรมดาและโต๊ะดูดลม
3. เกจ์รีดผ้า หรือแก่รีดผ้า เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการรีดเฉพาะส่วน เช่น แขน
4. หมอนแต่งผ้า ใช้หลังการรีดเพื่อช่วยแต่งให้เสื้อผ้านูน โค้ง มน ได้ส่วนสัดตามรูปร่างเช่น หัวแขน สะโพก
5. น้ำยารีดผ้าเรียบ มีทั้งชนิดที่ทำจากแป้ง และพลาสติกพีวีซี การใช้งานให้ผสมน้ำ ถ้าชนิดทำมาจากแป้งควรใช้ให้หมดภายในวันเดียวหลังการผสมน้ำแล้วเพื่อป้องกันการบูด หากผสมน้ำสุกอาจใช้ได้ 1-2 วัน เมื่อฉีดลงบนผ้าจะทำให้ผ้าแข็ง กระด้าง ส่วนชนิดที่ทำมาจากพลาสติกพีวีซีจะทำให้ผ้านิ่ม
ผ้าปูโต๊ะอาหารควรซักทุกวัน เพื่อป้องกันการอุดตันของสิ่งสกปรกในเนื้อผ้า ซึ่งจะทำให้รีดผ้าไม่เรียบ การรีดผ้า ควรรีดจากผ้าเนื้อบางเบา ใช้ไฟอ่อน ๆ ก่อนการรีดเสื้อเชิ้ตควรพรมผ้าด้วยความชื้นให้ทั่ว พับหลวม ๆ แล้วหมักทิ้งไว้สักครู่ การหมักอาจหมักในตู้เย็นเพราะมีความชื้นสม่ำเสมอแต่ควรแยกประเภทผ้าสีออกจากกัน เพื่อป้องกันสีตกใส่กัน หรืออาจหมักในถุงพลาสติก หรือใช้ผ้าเช็ดตัวคลุมไว้ก็ได้ ส่วนเสื้อสตรีมีหลายแบบทำให้ยากแก่การจัดวางขณะรีด แต่การรีดควรเร่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อนเพื่อการกลับหรือพลิกผ้าขณะรีดจะได้ไม่ยับมาก การรีดเสื้อเชิ้ตควรใช้เตารีดแบบแห้งรีดที่ผ้ารองรีดก่อน 2-3 ครั้งเพื่อป้องกันความร้อนที่มากเกินไป เริ่มรีดจาก
- ปกด้านหลัง ปกด้านหน้า การถอยเตารีดเดินหน้า ถอยหลังอาจทำให้ปกเกิดรอยย่น แก้ไขโดยการรีดจากมุมปกเข้าไป
- บ่า ให้รีดกับมุมของโต๊ะรองรีด ไม่ต้องรีดพับจีบตรงไหล่ เพราะอาจเป็นจุดบกพร่องของแต่ละคน
- สาบเสื้อ รีดทางด้านในของตัวเสื้อ จับตรงคอหรือปก กดไว้ ดึงเล็กน้อย รีด
- แขนเสื้อ ถ้าเป็นตะเข็บคู่ให้เอาตะเข็บไว้ทางด้านหลัง
- อกเสื้อด้านบนและด้านหน้า รีดออกนอกตัว เพื่อป้องกันความชื้นตกใส่เสื้อและป้องกันการยับ
- ใต้ท้องแขน ตะเข็บข้าง
- แผ่นหลัง จีบหลังไม่ต้องตีจีบยาว ตีลงมาประมาณครึ่งวงแขนเสื้อ (เสื้อที่มีจีบหลังสองจีบเหมาะกับคนที่มีเนื้อตรงบ่ามาก) การรีดจีบกลางหลังให้ใช้หัวเตารีดจิกหรือกดไว้ แล้วจึงรีดจีบลงมา
การรีดเสื้อเชิ้ตแขนยาว เริ่มจากการรีดปกด้านหลัง ปกด้านหน้า ไหล่ สาบหน้า รีดวงแขนโดยวางเข้ากับมุมโต๊ะรองรีด รีดข้อมือให้โค้งมนอย่าพับ
การรีดกางเกงขายาว ใช้เตารีดแบบไอน้ำรีดจากด้านในก่อน รีดด้านบนส่วนเอว อาจใช้หมอนลูกฟักช่วยรีดตรงช่วงกระเป๋าเพื่อไม่ให้เกิดรอยยับ รีดสะโพก กระเป๋าหลัง (ให้ล้วงกระเป๋าออกมาด้านนอกก่อนเพื่อป้องกันการขึ้นมัน) จับปลายขาและหัวกางเกงวางนรีดทีละขา พลิกกลับอีกด้าน จีบหลังไม่ต้องรีดจีบโค้งถึงเอวแต่รีดถึงแนวสะโพกบน หรือต่ำกว่ากระเป๋าบนลงมา 1 ฝ่ามือ จีบด้านหน้าห่างจากแนวเกล็ดหรือแนวจีบออกมาด้านเป้าประมาณ 1 เซนติเมตร หรือครึ่งนิ้ว
การพรมน้ำ ควรพรมห่างจากเสื้อผ้าประมาณ 1 ฟุต พรมให้ทั่ว พับผ้าแบบหลวม ๆ แทนการขยำ วางหมักไว้ประมาณ 20 นาที เพื่อให้ผ้านุ่มและมีความชื้นทั่วถึงการแขวนเสื้อเชิ้ตที่รีดเสร็จแล้ว ให้แขวนโดยหันไม้แขวนเสื้อไปด้านขวามือ ติดกระดุมที่ปก คอ และกระดุมหน้าเม็ดที่ 2 แขวนทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ก่อนนำเก็บในตู้เสื้อผ้า
การรีดเนคไท ให้ใช้เตารีดแบบไอน้ำ เป่าไอน้ำแห้งเข้าไปด้านในเนคไท และด้านริมทั้งสองด้านไม่ใช้การวางเตารีดทับลงบนเนคไทโดยตรงเพราะจะทำให้แบน การเก็บสอดปลายเนคไทเข้าไปในห่วง เก็บใส่ถุง พับปลายถุงเป็นรูปสามเหลี่ยมให้เรียบร้อยการใช้เตารีดแบบไอน้ำทำให้ผ้านุ่ม ฟู ฆ่าเชื้อโรคได้ สิ่งสกปรกที่อุดตันในผ้าหลุดออกหมด และไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีผ้า
โต๊ะรองรีด ถ้าไม่ได้ใช้งานแล้วควรเปิดผ้าคลุม ฟองน้ำ ทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้ง เพื่อป้องกันการขึ้นราและการเกิดสนิม
การรีดเสื้อสูทให้รีดด้วยเตารีดแบบไอน้ำแต่ไม่ต้องกดทับเพราะจะทำให้เกิดรอย การรีดด้านในก่อน รีดปกหน้า ไหล่ แขน ตัวเสื้อด้านหน้า (ด้านบน ตัวเสื้อ) ตะเข็บข้าง ตัวเสื้อด้านหลัง
ผ้าไหม ใช้เตารีดแบบแห้ง ฉีดน้ำยา easy-on เฉพาะส่วนที่ต้องการรีด ไม่ต้องฉีดน้ำเพราะผ้ามีความชื้นอยู่แล้ว
ผ้ายืด ผ้าชีฟอง ไม่ต้องฉีดน้ำยาอีก
อุดเตา "เตารีดรุ่นคุณยาย"
ที่มา : http://board.postjung.com/631498.html
"อุดเตา" เป็นภาษาจีนถ้าเป็นแต้จิ๋วก็จะออกเสียงเป็น "อุดเต้า" ใช้เรียกเครื่องใช้ที่ปัจจุบันเราเรียกว่า "เตารีด" และเป็นเตารีดที่ใช้กันในสมัยก่อนเมื่อประมาณ 150 ปี มาแล้วบ้างก็ว่าใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแต่ที่เป็นการเผยแพร่มากที่สุดก็ในยุค รัชกาลที่ 4 และ 5 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ได้รับมอบจาก ดร.วินิจ วินิจนัยภาค เมื่อปีพุทธศักราช 2533 ปัจจุบันได้ทำการอนุรักษ์และเก็บรักษา ณ อาคารคลังกลาง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก จังหวัดปทุมธานี
ที่มา : http://board.postjung.com/631498.html
"อุดเตา" แบบที่ 1 ทำด้วยเหล็กและทองเหลือง บางอันมีการตกแต่งสลักบนฝาด้านบนเป็นรูปตัวไก่ และบางอันตกแต่งหูจับเป็นลวดลายอ่อนโค้ง งดงาม ตามจินตนาการของช่างทำอุดเตา
อุดเตากลุ่มนี้ทำด้วยเหล็กหรือทองเหลืองทั้งอันบางอันมีขนาดใหญ่กว่าเตารีดไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันประมาณ 2-3 เท่า มีน้ำหนักมากเด็กๆ ยกคนเดียวแทบจะไม่ไหว การที่ทำให้มีน้ำหนักมากๆ นั้นเพื่อให้น้ำหนักของตัวอุดเตากดทับลงบนผืนผ้าที่จะรีดให้เกิดความเรียบ ผนังเตาทั้งสองข้างมีลักษณะโอบเข้าไปเป็นหัวรูปทรงแหลมๆ ตอนบนบริเวณริมหรือขอบทำเป็นลายหยักรูปฟันปลาไปตลอดแนวสูงประมาณ 3 นิ้ว เพื่อระบายความร้อนจากถ่านก้อนกลมๆ ที่เผาไฟจนร้อนซึ่งบรรจุอยู่ภายในอุดเตาความร้อนจากถ่านเผาไฟจะทำให้ผ้าเรียบ เช่นเดียวกับความร้อนจากขดลวดไฟฟ้าที่อยู่ภายในเตารีดไฟฟ้าในปัจจุบัน
ที่มา : http://board.postjung.com/631498.html
ฝาด้านบนนั้นความกว้าง ยาว แหลม ท้ายตัดเท่าตัวอุดเตา บริเวณท้ายตัดจะมีบานพับอันเล็กๆ ติดอยู่มีหูขนาดค่อนข้างยาวและสูงไว้สำหรับเปิดปิดฝาได้ ยามเมื่อต้องการเติมถ่านเวลาถ่านยุบไปหลังจากรีดไปแล้วนานๆ บริเวณหูจับจะหุ้มด้วยไม้ที่เหลาจนกลมกลึงมีขนาดพอเหมาะกับมือ เพื่อเป็นฉนวนป้องกันความร้อนจากเหล็กที่แผ่ขึ้นมาขณะรีดผ้า และจะสังเกตเห็นว่าพื้นด้านในเตารีดมีแผ่นรองถ่าน เพื่อให้ขี่เถ้าของถ่านตกลงไปด้านล่างเมื่อเวลาจะรีดผ้า โดยใช้อุดเตาจะต้องมีเตาอั้งโล่เผาก้อนถ่านให้ลุกแดงตลอดเวลาตั้งอยู่ข้างๆ ไว้สำหรับคีบใส่ภายในอุดเตา และที่สำคัญต้องมีใบตองไว้ก่อนรีดเนื้อผ้าให้นำเตารีดมาถูที่ใบตองก่อน เพื่อให้เกิดความลื่น
ถ่านที่ใช้สำหรับรีดผ้านั้นมีความแตกต่างกับถ่านหุงข้าวที่ใช้กับเตาอั้งโล่ หรือเตาเชิงกรานทั่วๆ ไปถ่านที่ใช้หุงข้าวจะมีลักษณะเป็นท่อนยาวๆ เมื่อนำมาเผาไฟมักจะแตกเป็นลูกไฟเล็กๆ กระเด็นออกมารวมทั้ง เมื่อมอดแล้วมีขี้เถ้ามากแต่สำหรับถ่านรีดผ้าจะมีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ เวลานำมาเผาไฟลูกไฟจะไม่แตกกระจาย ตลอดจนมีขี้เถ้าน้อยกว่าถ่านหุงข้าวมาก ถ่านรีดผ้าส่วนมากมักทำจากไม้โกงกาง ซึ่งเป็นพืชที่ขึ้นเจริญเติบโตบริเวณป่าชายเลนนิยมนำมาเผาทำถ่านเพราะจะได้ถ่านที่มีคุณภาพดี
ที่มา : http://board.postjung.com/631498.html
"อุดเตา" แบบที่ 2 มีพวยระบายความร้อนอยู่ด้านบนของหัวเตา อุดเตาแบบนี้จะไม่มีช่องระบายความร้อนเป็นช่องฟันปลาเหมือนกับแบบแรก
วิธีรีดผ้าโดยใช้อุดเตานั้น เริ่มแรกก็จะติดไฟถ่านที่เตาอั้งโล่เมื่อถ่านระอุเป็นไฟสีแดงดีแล้วใช้คีมเหล็กคีบออกมาใส่ภายในอุดเตาจนเต็มแล้วปิดฝาขัดสลักให้ติดกับตัวอุดเตา ทิ้งให้ร้อนสักครู่จึงรีด เมื่ออุดเตาเริ่มร้อนจัดให้นำมานาบกับใบตองที่พับซ้อนกันไว้หลายๆ ชั้นเพื่อให้เกิดความชื้น และคลายความร้อนลงทำเช่นนี้สลับกันไป ระหว่างที่รีดไปนานๆ เมื่อถ่านมอดลงเป็นขี้เถ้าให้นำอุดเตาออกมาในบริเวณที่โล่งนอกบ้านใช้พัดใบลาน หรือที่เรียกกันว่า "พัดเตา" พัดให้ขี้เถ้ากระจายฟุ้งออกไปตามช่องหยักฟันปลาบริเวณริมผนังอุดเตาตอนบนดังที่กล่าวมาแล้ว ถ้ารีดต่อไปอีกนานๆ แล้วเห็นว่าถ่านในอุดเตาคลายความร้อน และยุบลงไปก็เปิดฝาด้านบนเติมถ่านเผาไฟในเตาอั้งโล่เติมเข้าไปใหม่ให้เต็ม
อุดเตา มีทั้งที่ทำด้วยทองเหลือง และทำด้วยเหล็ก แต่ที่ทำด้วยเหล็กเป็นอุดเตารุ่นหลัง และมีขนาดเล็กลงกว่าอุดเตาทองเหลืองเกือบครึ่งหนึ่ง และเปลี่ยนคำเรียกขานจาก "อุดเตา" เป็น "เตารีด" ใช้กันทั่วไปทุกครัวเรือนเป็นเวลาอยู่หลายสิบปี
จากนั้น จึงเกิดมีเตารีดไฟฟ้าขึ้นเตารีดเหล็กที่ใช้ถ่าน ก็เสื่อมความนิยมลงไปเพราะการใช้เตารีดไฟฟ้ารีดผ้า มีความสะดวกยิ่งกว่า แต่ก็ยังมีหลงเหลือใช้กันอยู่บ้างตามชนบท ที่ห่างไกลยังไม่มีโรงไฟฟ้าไปตั้ง
ที่มา : http://board.postjung.com/631498.html
"อุดเตา" แบบที่ 3 มีลักษณะเป็นแผ่นเหล็กหนาและหนัก ตามแบบที่กาญจนาคพันธุ์ ได้กล่าวถึงไว้ว่ามีใช้อยู่ที่ร้านซักรีดแถวตึกแถวท่าโรงยาเก่าของคู่ผัวเมียชาวญี่ปุ่น เมื่อกว่า 60 ปีมาแล้ว
อุดเตาหรือเตารีดทองเหลืองนี้ แต่เดิมนิยมใช้กันในร้านตัดเสื้อและร้านที่รับซักรีดในกรุงเทพฯ หรือเมืองพระนครในสมัยนั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนหรือชาวญี่ปุ่น ดังความที่กาญจนาคพันธุ์ (สง่า กาญจนาคพันธุ์) หรือขุนวิจิตรมาตราได้เล่าไว้ถึงเรื่องราวความทรงจำในวัยเด็กของท่านได้อย่างน่าสนใจและเห็นภาพลักษณ์ชัดเจน ดังนี้
เมื่อราว 60 ปีมาแล้ว ที่ตึกแถวที่โรงยาเก่าแถวนั้นมีท่าอยู่สี่ท่า คือ "ท่าปากคลองตลาด" เป็นแหล่งค้าขายใหญ่ ถัดมาเป็นท่าเรียกว่า "ท่ากลาง" เงียบสงัดไม่มีผู้คนเดินนอกจากผู้ที่อยู่ตึกแถวสองข้าง ถัดมาเป็น "ท่าโรงยาเก่า" ถนนท่านี้เป็นส่วนหนึ่งของถนนบ้านหม้อ ถนนเฟื่องนคร ถนนเฟื่องนครจดวัดบวรนิเวศ ผู้คนคึกคักมากหน่อย ถัดไปเป็น "ท่าวัดเลียบ" ไม่มีผู้คนเลยก็ว่าได้ที่ตึกแถวท่าโรงยาเก่านี้ตอนกลางๆ มีญี่ปุ่นที่ตั้งร้านซักรีดดูเหมือนอยู่กันสองคนผัวเมียเท่านั้นเตารีดผ้าที่ร้านนั้น เป็นเหล็กหนาทั้งแท่ง หัวแหลม ท้ายตัดโตขนาดอุดเตาทองเหลืองทำเกลี้ยงๆ คือต่อจากแผ่นเหล็กหนาขึ้นไปเป็นสองขามีเหล็กพาดที่มุมสองขาสำหรับเป็นหูจับเท่านั้นเอง
เตารีด (ซึ่งที่จริงไม่เป็นเตา แต่เป็นแผ่นเหล็กหนา) นี้มีสามสี่อันในร้านตั้งเตายาวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในเตาใส่ถ่านไว้ราวครึ่งหนึ่งข้างบนเตามีเหล็กพาดเป็นตาราง เวลารีดเขาติดถ่านไฟลุกแดงตลอด เอาเตารีดวางบนตารางเรียงกันไปทั้งสี่อันเผา ให้เหล็กนั้นร้อนแล้วก็จับหูยกมารีดเสื้อผ้า พอเหล็กจะเย็นลงหน่อยก็เอาไปวางบนตารางที่เตาเอาอันที่ 2 มารีดเปลี่ยนกันไปเป็นลำดับอย่างนี้เรื่อยจนกระทั่งหมดเวลาวันหนึ่งๆ ก็ดับถ่านที่เตาถึงรุ่งเช้าก็ติดถ่านเผาเตารีดไปใหม่จนหมดเวลาทุกวัน
สมัยนั้นอยู่ที่ตึกสูงสามชั้นหัวมุมส่วนมากหญิงญี่ปุ่นที่เป็นเมียเป็นคนรีดมีคนแถวนั้น และที่อื่นนำเสื้อผ้ามารีดมาก เขาชมกันว่ารีดดีนักค่ารีดเสื้อ และของอื่นชิ้นละเท่าไรก็ลืมแต่คงราวสัก 25 สตางค์ สมัยนั้นเงินยังแพงนักเงินบาทหนึ่งใช้ตามธรรมดาๆ อย่างสบายเจ็ดวันก็ยังไม่หมดค่ารีด 25 สตางค์นับว่าแพงมากแต่เขารีดดีมีคนมาให้รีดมาก และดูเหมือนเป็นญี่ปุ่นตั้งร้านซักรีดแห่งนี้แห่งเดียวเท่านั้น นอกนั้นเป็นจีนตั้งร้านซักรีดมากหลายแห่งคนไทย ไม่มีร้านซักรีดก็รีดแต่เสื้อชั้นนอกที่เป็นผ้าลินินขาวเท่านั้น กางเกงไม่มี เพราะคนไทยนุ่งผ้าโจงกระเบน
ที่มา : http://board.postjung.com/631498.html
"อุดเตา" แบบที่ 3 มีลักษณะเป็นแผ่นเหล็กหนาและหนัก ตามแบบที่กาญจนาคพันธุ์ได้กล่าวถึง ไว้ว่ามีใช้อยู่ที่ร้านซักรีดแถวตึก แถวท่าโรงยาเก่าของคู่ผัวเมียชาวญี่ปุ่น เมื่อกว่า 60 ปีมาแล้ว
จวบจนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2475 เป็นปีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น นับแต่นั้นเป็นต้นมาคนไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงการแต่งกายเลิกนุ่งผ้าโจงกระเบน หันมาแต่งชุดสากลนิยมตามการรณรงค์ของผู้นำบ้านเมืองในยุค "มาลานำไทย" ชุดสากลที่นิยมแต่งกันนั้น ตัดเย็บด้วยผ้าฝรั่งหรือผ้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ไม่ใช้ผ้าลินินสีขาวเช่นเดียว กับเสื้อราชปะแตนซึ่งซักรีดยาก เสื้อผ้าชุดสากลสามารถซัก และรีดเองที่บ้านได้ร้านซักรีดแบบดั้งเดิมจึงค่อยๆ หมดความนิยมไปยังคงมีแต่ร้านซักแห้ง ซึ่งรับซักรีดเฉพาะเสื้อผ้าที่ต้องการความประณีต และทนุถนอมเป็นพิเศษเท่านั้น
ผ้าที่รีดด้วยอุดเตา มักเป็นผ้าที่ไม่มีสีหรือเป็นเสื้อผ้าสีขาว เช่น เสื้อกุยเฮงของผู้ชาย ผ้าปูที่นอนหรือไม่เช่นนั้นก็เป็นผ้าที่มีสีเข้ม สีทึมๆ เช่น เสื้อนอกของผู้ชาย เสื้อมิสกรีชั้นในเป็นต้น โดยเวลารีดนั้นจะนำผ้าขาววางซ้อนไว้ด้านบนอีกชั้นหนึ่งแล้ว จึงรีดเพื่อป้องกันสีของผ้าซีด สำหรับเครื่องนุ่งห่มของสตรี เช่น ผ้าสไบแพร ผ้าแถบหรือผ้านุ่งที่เป็นผ้าดอก ผ้าลาย สีสันต่างๆ นั้นจะไม่รีดด้วยอุดเตาเพราะความร้อนจากอุดเตา จะทำให้ความสดใสของสีผ้าลดลง
จริงๆ แล้วอุดเตายังมีรูปแบบอีกหลายแบบ แต่ละแบบก็วิวัฒนาการตามยุคสมัย แต่วิธีการใช้งานก็คล้ายๆ กัน
http://หาดใหญ่ซักรีด.com/เคล็ดลับซักอบรีด-รีดผ้าอย่างไรให้เรียบ.html
http://board.postjung.com/631498.html
http://board.postjung.com/631498.html
http://board.postjung.com/631498.html
http://board.postjung.com/631498.html
|