การเตรียมภาชนะและเครื่องใช้ก่อนการประกอบอาหาร
การประกอบอาหารทุกครั้ง จำเป็นต้องใช้ภาชนะ และเครื่องใช้หลายอย่างได้แก่ ภาชนะเครื่องใช้ สำหรับประกอบอาหาร การเตรียมเครื่องปรุง ภาชนะใส่อาหารคาวหวาน และเครื่องใช้อุ่นอาหารให้ร้อน ซึ่งเราควรจัดเตรียมไว้ให้พร้อม เพื่อความสะดวกในขณะที่ปรุงอาหาร
ภาชนะ และเครื่องใช้ที่ใช้ในการประกอบอาหาร ควรมีลักษณะที่แข็งแรง ไม่ชำรุด ไม่เป็นสนิม มีฝาปิดมิดชิด ป้องกันการปนเปื้อนได้ ทำความสะอาดง่าย และมีความปลอดภัยเวลาใช้งาน
1. อ่างล้างหรือที่ล้าง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ที่ใช้สำหรับล้างถ้วยชามหรือสิงต่างๆ อ่างล้างที่ดีควรเป็นอ่างเคลือบริมมนก้นสอบ เพราะทำความสะอาดง่าย ปัจจุบันอ่างล้างมีหลายชนิด เช่น อ่างสเตนเลส อ่างอะลูมิเนียม เป็นต้น
2. ที่คว่ำชาม เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บถ้วย ชาม เพื่อให้ถ้วยชามที่เก็บมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และให้ถ้วยชามแห้งเร็วขึ้น อาจทำจากเหล็กเคลือบพลาสติก หรือทำจากไม้
3. ตู้เก็บถ้วยชาม เป็นตู้กระจกหรือตู้ไม้มีฝาปิด เพื่อกันฝุ่นละออง หรือแมลง สัตว์มารบกวน ซึ่งจะทำให้ถ้วยชามสกปรก
4. ตู้เย็น เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บอาหารสด ไม่ให้เสียเร็ว หรือให้อยู่ในสภาพคงเดิม และรักษาความสดให้มีระยะเวลายาวนานขึ้น โดยอาศัยความเย็นหรืออุณหภูมิต่ำ
5. เตาหุงต้ม เตาหุงต้มมีทั้งเตาถ่าน เตาแก๊ส เตาน้ำมัน เตาไฟฟ้า ปัจจุบันนิยมใช้เตาแก๊สมากกว่าเตาชนิดอื่นๆ
6. อุปกรณ์ประเภทจำเป็นมาก หม้ออะลูมิเนียม กระทะเหล็ก ตะหลิว กาต้มน้ำ มีดปอก มีดหั่น มีดสับ ถาดเคลือบ ครก ช้อนตวง เครื่องเปิดกระป๋อง จานกระเบื้องก้นลึก ถ้วยน้ำจิ้ม หม้อเคลือบ ทัพพี กระชอน เขียง ช้อนอะลูมิเนียม จานกระเบื้องก้นตื้น ฝาชี
7. หม้อที่ใช้ในการหุงต้ม หม้อที่ใช้ในการหุงต้มควรเลือกชนิดที่ขัดง่าย เก็บง่าย ทนทาน ไม่ชำรุดเสียหายได้ง่าย
8. ตะแกรงหรือชามโปร่ง ใช้สำหรับพักอาหารให้สะเด็ดน้ำ
การใช้เตาหุงต้ม
1. อย่าให้เตาเปียกขณะเตากำลังร้อน
2. เมือใช้แล้วเขี่ยถ่านออก ดับให้สนิทในที่ๆ ปลอดภัย
3. ก่อนใช้เปิดวาลว์ที่ถังแก๊ส
4. แบบอัตโนมัติ ใช้วิธีกดปุ่มเปิดสวิตช์ เชื้อเพลิงจะลุกไหม้ เป็นสีน้ำเงินร้อนจัด
5. แบบจุดไม้ขีด ต้องจุดไม้ขีดเตรียมเอาไว้ก่อนจึงจะเปิดสวิตช์ที่เตา
6. หลังการใช้เตาทั้ง 2 แบบ ให้ปิดวาลว์ที่เตาแก๊ส ปิดสวิตช์ที่เตา เพื่อไล่แก๊สที่ยังเหลืออยู่ในท่อให้หมด
7. หลังการใช้ทุกครั้งต้องทำความสะอาดเช็ดด้วยองน้ำ องสบู่ ผงซักฟอกทุกครั้งแล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดให้แห้ง ไม่ควรใช้ฝอยขัด จะทำให้เตาเป็นรอยเกิดสนิมได้
สิ่งที่ควรปฏิบัติในการประกอบอาหาร
1. เตรียมเครื่องใช้ต่างๆ ให้ครบถ้วน
2. หยิบจับเครื่องใช้ให้มั่นคงไม่มีเสียงดัง
3. วางแผนในการเตรียมอาหารให้พร้อม ว่าจะทำสิ่งใดก่อนหลัง เพื่อให้เกิดความสะดวก ในขณะลงมือประกอบอาหาร
4. รักษาอนามัย ในการประกอบอาหารอย่างเคร่งครัด
5. รักษาความสะอาดครัวอยู่เสมอ โดยเฉพาะพื้นครัวต้องไม่มีน้ำหกเลอะเทอะ ถ้ามีต้องรีบเช็ดให้แห้งเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
6. ปิดฝาตู้และลิ้นชักทุกครั้งเมื่อเลิกใช้แล้ว
7. ปิดแก๊ส ปิดไฟ ดับถ่านทุกครั้งที่เลิกใช้
8. ทำความสะอาดภาชนะ ใส่เครื่องปรุงให้สะอาดหลังการใช้ เช่น ขวดน้ำปลา ขวดพริกไทย โดยการเช็ดภายนอก ปิดฝาเครื่องปรุงแล้วนำมาเก็บที่เดิม
9. การทำความสะอาดภาชนะเครื่องใช้ และบริเวณที่ประกอบอาหาร ควรทำเป็นประจำทุกครั้งหลังจากปรุงอาหาร และหลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้วทุกมื้อ
10. สมาชิกในครอบครัวควรจัดแบ่งหน้าที่กัน ช่วยกันเตรียมการประกอบอาหาร เพื่อผ่อนแรงและประหยัดเวลา
เทคนิคกระดูกหมู ทูอินวัน
เริ่มจากทำแกงจืด กระดูกหมูใส่ผัก
1. กระดูกหมูให้ใช้ซี่โครงอย่าใช้สันหลังที่เรียกว่า เอียวเล้ง ให้ร้านค้าสับเป็นท่อนๆแบบที่นำมาทำกระดูกหมูทอดกระเทียมพริกไทย ผักที่ใส่ คือมะระ หัวผักกาด(ไช้เท้า) ฟัก ผักกาดดอง ก็ได้
2. ไม่ต้องใส่ซุปก้อนเพราะเราจะได้ความหวานจากน้ำต้มกระดูกหมู จากนั้นต้มแกงจืดอย่างที่ทำกินทุกวัน ใส่เกลือ น้าปลา พริกไทยนิดหน่อยเวลาทาน ทานเฉพาะผักกับน้ำแกงจืดเหลือกระดูกเอาไว้อย่าทิ้ง
3. เอากระดูกหมูจากแกงจืดมาทอดใช้เวลาทอดแป๊บเดียว เพราะหมูสุกอยู่แล้ว (ประหยัดพลังงาน) เจียวกระเทียมโรย ใส่เกลือ ใส่น้ำปลานิดหน่อยให้มีกลิ่นหอม ใส่พริกไทย น้ำตาลเท่านี้เราก็จะได้กระดูกหมู
4. ทอดกระเทียมพริกไทยซึ่งกระดูกหมูนี้จะนุ่มมากเนื่องจากผ่านการเคี่ยวในแกงจืดมาแล้ว
5. เวลากินแทบไม่ต้องเคี้ยว เหมาะกับทุกเพศทุกวัย รสชาติของกระดูกหมูจากแกงจืดที่จืดชืด ก็ได้รสจากเครื่องปรุงทั้งเค็ม เผ็ด หวาน ปรุงแต่ง อร่อยไปอีกแบบ กระดูกหมูอย่างเดียวจึงกลายเป็นอาหารสองจาน ซึ่งเราไม่ต้องเหลือทิ้งทั้งประหยัดเงิน ประหยัดพลังงาน
http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201212/09/5109485bc.jpg
http://kruyingnp.wordpress.com/2012/01/30/หน่วยการเรียนรู้ที่-3/
http://webboard.serithai.net/topic/4416-เทคนิคทำอาหารประหยัดและอร่อ/
|