<< Go Back

      การปรุงอาหารไทย ไม่ใช่ศาสตร์ที่ยากเกินไปสำหรับทุกคน รสชาติของอาหารไทยเกิดจากการปรุงรสอย่างกลมกล่อมของเครื่องปรุง และวัตถุดิบหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสมุนไพรต่าง ๆ (ใบกะเพราพริกผักชีขิงกะทิ,กระเทียมหอมแดงใบมะกรูดน้ำปลา และซิอิ๊ว เป็นต้น) ในการปรุงอาหารไทย มักจะใช้น้ำมันในการทำอาหารในปริมาณที่น้อย และผ่านการปรุงอย่างรวดเร็ว เพื่อคงไว้ถึงรสชาติดั้งเดิมของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุง ซึ่งวิธีการปรุงอาหารไทยหลักๆ มีรายละเอียดดังนี้
    
1. การปรุงอาหารด้วยวิธีการผัด ( 
STIR-FRYING )
     วิธีนี้ เป็นวิธีปรุงอาหารที่ง่ายไม่ยุ่งยาก ถ้าคุณไม่มีกระทะหลุมแบบที่ใช้กันโดยทั่วไป กระทะแบนสำหรับทอดก็สามารถใช้แทนกันได้ ก่อนการผัดทุกครั้ง จะต้องตั้งไฟจนกระทะร้อนได้ที่ ก่อนจะใส่วัตถุดิบ (เนื้อสัตว์ หรือ ผัก) ลงไปในกระทะในการผัดนั้น นิยมใช้ตะหลิว (ทั้งที่ทำจากโลหะหรือไม้) เพื่อกลับอาหารในกระทะอย่างรวดเร็ว เมื่ออาหารสุกรีบปรุงรส และนำออกจากกระทะ และเสิรฟขณะที่อาหารยังร้อนๆ เนื่องจากขั้นตอนการผัดนั้น มักจะใช้เวลาสั้นวัตถุดิบต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการประกอบอาหารประเภทนั้น จะต้องถูกเตรียมให้พร้อมก่อนเริ่มการผัด ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อทำการผัดอาหารแล้ว จะได้อาหารที่สุกพอดีไม่ไหม้จากการที่ต้องเสียเวลาเตรียมวัตถุดิบอื่นๆ ขณะที่ผัดอาหาร เคล็ดลับที่สำคัญในการผัดอาหารทะเลนั้น เวลาผัดจะต้องใช้ไฟสูงและผัดอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผิวด้านนอกของอาหารทะเลสุก ขณะที่ภายในยังนุ่ม (ปรุงงเกือบสุก - จะได้รสชาติดีที่สุด) อาหารทะเลที่ปรุงสุกเกินไป จะรสชาติไม่อร่อย ผิวแข็ง และกระด้าง

http://i868.photobucket.com/albums/ab245/Supavinee/namplik%20kapi/SAM_3460.jpg

http://f.ptcdn.info/084/024/000/1412319849-DSC05856co-o.jpg


2. การปรุงอาหารด้วยวิธีการตุ๋น ( 
STEWING )
       การตุ๋นจะช่วยรักษาคุณประโยชน์ของสารอาหาร ไว้ได้เกือบครบถ้วน โดยสารอาหารที่สำคัญจากเนื้อสัตว์ ผักและสมุนไพรต่างๆ จะยังคงอยู่ในน้ำที่ตุ๋นอาหาร เนื้อสัตว์ที่หยาบกระด้างเมื่อผ่านการตุ๋นแล้ว จะทำให้เนื้อนุ่มน่ารับประทานในการตุ๋นอาหารโดยทั่วไป เนื้อสัตว์มักจะถูกหั่นเป็นชิ้นๆ ขนาดใกล้เคียงกัน และเติมน้ำลงไปพอท่วมเนื้อ และใส่ในหม้อต้มปิดด้วยฝาที่สนิท ตั้งไฟอ่อนๆ เพื่อค่อยๆตุ๋นให้วัตถุดิบภายในสุกอย่างช้าๆ น้ำที่ได้จากการตุ๋น สามารถใช้เสิรฟกับอาหารในลักษณะน้ำราดได้อีกด้วย

http://www.chingcancook.com/head_photo/2_20120702152731_257.jpg

 

3. การปรุงอาหารด้วยวิธีการนึ่ง ( STEAMING )
     ในการปรุงอาหารด้วยวิธีนึ่งนั้น อาหารจะถูกปรุงให้สุก โดยใช้ไอน้ำที่เกิดจากการต้มน้ำภายใต้อาหารนั้น ทั้งนี้ทั้งนั้นอาหารจะไม่มีการสัมผัสโดยตรง กับน้ำที่ต้ม ซึ่งจะส่งผลให้คุณค่าของสารอาหาร ยังคงอยู่กับอาหารอย่างครบถ้วน และที่สำคัญในการนึ่งนั้น แทบจะไม่ต้องเติมน้ำมันลงไปในการนึ่งเลย ทำให้การนึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการปรุงอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก เคล็ดลับที่สำคัญสำหรับการนึ่งอาหารให้รสชาติดีนั้น วัตถุดิบที่ใช้จะต้องสดมากๆการนึ่งอาหาร โดยทั่วไปจะต้องมีจานที่สามารถทนความร้อน (ทำจากเซรามิก,แก้ว,กระเบื้องก็ได้ ไม่แนะนำให้ใช้จานที่ทำจากพลาสติก หรือเมลามีน) และต้องมีซึ้ง (Steamer) โดยใส่น้ำต้มให้เดือด และนำอาหารที่ต้องการนึ่งวางบนจานทนความร้อน และใส่เข้าไปในซึ้งและปิดฝาให้สนิท

 

http://pirun.ku.ac.th/~b521060245/01179334/pic/housework/4%20นึ่ง.jpg

http://p3.isanook.com/bl/0/wo/up/2014/06/02.jpg

4. การปรุงอาหารด้วยวิธีการทอด ( DEEP FRYING ) :
     วิธีการทอดนั้น จะทำให้อาหารสุกโดยการใส่เนื้อสัตว์ หรือผักลงไปในน้ำมันที่ตั้งจนร้อนปริมาณน้ำมันที่ใส่ จะต้องมากพอที่จะท่วมอาหารที่จะนำไปทอด การทอดนั้นนิยมทอดในกระทะแบบหลุม หรือกระทะชนิดแบนก็ได้ อุณหภูมิของน้ำมันที่ใช้ในการทอด เป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการปรุงอาหารถ้าน้ำมันไม่ร้อน เมื่อใส่อาหารลงไปทอดจะส่งผลให้อาหารอมน้ำมัน และไม่น่ารับประทาน ขณะเดียวกันถ้าอุณหภูมิน้ำมันสูงเกินไป อาหารที่นำไปทอดก็จะไหม้อุณหภูมิน้ำมัน ที่เหมาะสำหรับการทอดอยู่ที่ 180 องศาเซลเซียส (หรือประมาณ 350 องศาฟาเรนไฮต์) เมื่อทอดเสร็จแล้วควรสะเด็ดน้ำมันออกจากอาหาร ที่ทอดตะแกรงลวดโลหะเป็นที่นิยมใช้ในการสะเด็ดน้ำมัน      นอกจากนั้นกระดาษซับน้ำมัน ก็สามารถใช้ดูดซับน้ำมันออกจากอาหารที่ทอดได้ อาหารที่ผ่านการสะเด็ดน้ำมันเป็นอย่างดี จะช่วยคงความกรอบให้ยาวนานขึ้นอีกด้วย 

 

http://image.dek-d.com/25/825116/111023560

 

http://www.esanguide.com/cms/data/news/thumbnail/l/7064-1.jpg

 

5. การปรุงอาหารด้วยวิธีการย่าง ( GRILLING )
      การปรุงอาหารด้วยวิธีการย่างนั้น จะนำอาหารที่ต้องการปรุงให้สุกวางไว้บนไฟ หรือความร้อน ซึ่งอาจเป็นเตาถ่านเตาไฟฟ้า บางครั้งอาจใช้เตาอบ หรือตั้งกระทะไว้บนไฟในการย่างอาหารก็ได้ในการย่างอาหารไทยนั้น อาหารอาจถูกย่างโดยตรงกับไฟ หรืออาจห่อด้วยใบไม้หรือฟลอยส์อลูมิเนียมสำหรับใบไม ้ที่นิยมใช้นั้นก็มีใบตองและใบเตย ซึ่งอาหารที่ห่อและนำไปย่าง จะมีกลิ่นหอมชวนน่ารับประทาน การย่างที่ถูกต้องนั้น จะต้องมีการกระจายความร้อนให้ทั่วอาหาร เพื่อไม่ให้อาหารไหม้ ดังนั้นการกลับหน้าอาหารจึงมีความจำเป็น เคล็ดลับการย่างเนื้อสัตว์ให้อร่อยต้องย่างให้ผิวภายนอกให้สุก และพยายามให้เนื้อภายในเกือบสุก ด้วยวิธีนี้จะได้เนื้อที่นุ่มไม่หยาบกระด้าง และน่าทานเป็นอย่างมาก    

 

http://images.thaiza.com/26/26_201006011449591..jpg

 

6. การปรุงอาหารด้วยวิธีการยำ ( SALADS )
      อาหารที่ปรุงด้วยวิธีการยำนั้น จำเป็นต้องเน้นรสชาติที่จัดและเน้นเครื่องปรุงวัตถุดิบที่สดมากๆ รสชาติอาหารยำจะเป็นการผสมผสานกันของรสเปรี้ยว
รสเค็มและรสเผ็ดร้อนของพริกขณะที่การเพิ่มรสหวานนิดหน่อย จะช่วยทำให้รสชาติอร่อยยิ่งขึ้น สำหรับรสชาติของอาหารยำนั้น สามารถปรับได้ตามประเภทของอาหารในขั้นตอนการยำ วัตถุดิบต่างๆจะถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ และนำไปลวกน้ำร้อนอย่างรวดเร็วในการคลุกวัตถุดิบ และเครื่องปรุงเข้าด้วยกันต้องทำอย่างระมัดระวังไม่เช่นนั้น อาหารจะเละไม่น่ารับประทาน เมื่อยำอาหารเสร็จแล้ว ต้องรีบเสิรฟทันที อาหารที่ยำเสร็จแล้วปล่อยทิ้งๆไว้นานๆ รสชาติของอาหารจะไม่อร่อย  เนื่องจากวัตถุดิบที่อยู่ในอาหารจะดูดน้ำยำไปจนหมด ทำให้เสียรสชาติเดิมที่ยำเสร็จใหม่ๆ

http://www.foodietaste.com/storages/Forum/682553171656.jpg

 

http://www.the-than.com/saranalu/KP/a19.jpg

 

 

วิธีทำกุ้งสด ให้กลายเป็น กุ้งเด้ง ได้ง่ายๆ
      วิธีการทำให้เนื้อกุ้งกลายเป็นกุ้งเด้ง นั้นมีข้อแม้อยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น คือ กุ้ง ที่จะทำนั้น ต้องเป็นกุ้งสดเท่านั้น แต่ก็ไม่ถึงกับต้องมาเป็นตัวเป็นๆ เพียงแต่ว่าดูแล้วสดตัวไม่ซีดก็พอ

 

 

ที่มา : http://food.mthai.com/food-recipe/61081.html

 

กุ้งเด้ง คือ เนื้อกุ้ง จากปกติที่เราทานนั่นเองถ้าเป็นเนื้อกุ้งสดเนื้อของกุ้งจะนุ่มและมีความหวานของเนื้อกุ้งอยู่ แต่ถ้ากุ้งนั้นไม่สดก็จะทำให้เวลานำเนื้อกุ้งไปประกอบอาหารนั้นเนื้อกุ้งจะยุ่ยๆ เล็กน้อยและไม่มีความหวานของเนื้อกุ้งมากนัก แต่ถ้าเราทำเป็นกุ้งเด้งแล้วเนื้อกุ้งที่ประกอบอาหารแล้วจะมีลักษณะออกมาขาวใส เมื่อกัดเข้าไปแล้วจะมีความรู้สึกว่าเนื้อกุ้งมีความเด้งและกรุบกรอบหรือจะพูดให้เห็นภาพก็คือ กุ้งฟรีซหรือกุ้งแช่แข็งนั้นเอง

 

  

ที่มา : http://food.mthai.com/food-recipe/61081.html

 

ซึ่งการทำกุ้งเด้งนั้นก็คือ การถนอมอาหารอย่างหนึ่งเพราะว่าเมื่อเราทำเสร็จแล้วสามารถนำไปเก็บแช่ไว้ในช่องแช่แข็งหรือช่องฟรีซตู้เย็น เท่านั้นเนื้อกุ้งก็สามารถเก็บไว้ได้เป็นเดือนๆ เลยทีเดียว

วิธีทำ

สิ่งที่ต้องเตรียมคือ กุ้งสด เกลือ และน้ำแข็ง

 

 

ที่มา : http://food.mthai.com/food-recipe/61081.html

 

1. ทำการแกะเปลือกกุ้งและเด็ดหัวกุ้งหรือถุงขี้กุ้งออก (ถุงดำๆ บนหัวกุ้ง) เพราะในส่วนหัวของกุ้งจะมีถุงขี้กุ้งอยู่ ซึ่งจะทำให้ตัวเอ็นไซม์กุ้งออกมาย่อยสลายเนื้อกุ้งโดยธรรมชาติของมัน ซึ่งถ้าเราซื้อกุ้งสดมาถ้ายังไม่ได้นำไปประกอบอาหารอะไรควรเด็ดหัวกุ้งหรือถุงขี้กุ้งออกเสียก่อนเพื่อให้กุ้งยังคงความสดอยู่ได้เพิ่มขึ้นจากปกติ

 

 

ที่มา : http://food.mthai.com/food-recipe/61081.html

 

2. นำกุ้งไปคลุกเคล้ากับเกลือให้เข้ากันและล้างออกด้วยน้ำเย็นจากนั้นนำไปคลุกเกลืออีกรอบเพราะจะทำให้กุ้งเก็บน้ำไว้ในตัวได้ดียิ่งขึ้นนั้นเอง เนื่องจากถ้ากุ้งเก็บน้ำไว้ในตัวน้อยเท่าไรก็จะทำให้เนื้อกุ้งยิ่งแห้งมากขึ้นเท่านั้น

 

  

ที่มา : http://food.mthai.com/food-recipe/61081.html

 

3. นำกุ้งที่ล้างน้ำแล้วมาแช่ไว้ในน้ำที่ใส่เกลือผสมอยู่ (ใส่น้ำให้พอมิดตัวกุ้ง) แล้วนำน้ำแข็งมาโปะไว้ด้านบนรอจนน้ำแข็งละลายเพียงเท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อย ถ้าใครยังไม่ต้องการนำไปประกอบอาหารในตอนนี้ก็นำไปใส่ถุงแล้วนำไปแช่ในช่องแช่แข็งหรือช่องฟรีซตู้เย็นได้เลย เมื่อต้องการนำมาประกอบอาหารก็แช่กุ้งเด้งไว้ในน้ำ เมื่อน้ำแข็งจากกุ้งละลายก็นำมาประกอบอาหารได้เลย การนำกุ้งเด้งนี้ไปประกอบอาหารมีข้อแม้ว่าควรจะผ่านการปรุงสุกในระยะเวลาอันสั้นจะดีที่สุดค่ะ

 

 

ที่มา : http://food.mthai.com/food-recipe/61081.html

 

<< Go Back