การประยุกต์ใช้ข้อมูลในงานซ่อมแซม และงานบำรุงรักษาและติดตั้งประกอบอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้าน
ปัจจุบันมนุษย์ได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยี ทั้งที่เป็นเทคนิค วิธีการ กระบวนการผลิตมาโดยลำดับ เช่นเดียวกับงานช่างก็ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความสัมพันธ์กับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเน้นไม่ให้เกิดผลกระทบ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยในการทำงานและอุบัติภัยต่าง ๆ ซึ่งงานช่างในสาระการดำรงชีวิตและครอบครัวในหน่วยนี้จะกล่าวถึงงานช่างกับครอบครัว วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์งานช่าง การใช้พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ [1] และการอนุรักษ์พลังงานสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยในการทำงาน ผู้เรียนควรจะใช้ข้อมูลส่วนที่กล่าวถึงมาประยุกต์ใช้กับการบำรุงรักษา การซ่อมแซม การติดตั้งประกอบ ซึ่งมีรายละเอียดตามลำดับดังนี้
การบำรุงรักษา เป็นงานที่เน้นการดูแลและบำรุงรักษา ก่อนที่อุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องใช้ภายในบ้านจะเสียหายจนต้องเปลี่ยนหรือซ่อม ดังนั้น การบำรุงรักษาจะอาศัยหลักพื้นฐานเกี่ยวกับการทำงาน การดูแลรักษาสภาพของเครื่องมือเครื่องใช้ให้พร้อมใช้งาน มีอายุใช้งานนานตามสภาพ ซึ่งการบำรุงรักษาอาจจะดูแลเป็นประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือเป็นช่วง ด้วยการใช้สารหล่อลื่นทำความสะอาด ตรวจสภาพและทำการเปลี่ยนเมื่อถึงเวลากำหนด
การซ่อมแซม เป็นงานที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องใช้ภายในบ้านเกิดเหตุขัดข้องจากการทำงาน หรือมีความผิดปกติไม่พร้อมที่จะใช้งานหรือใช้งานต่อไป ซึ่งจะทำให้เสียหายทั้งด้านเวลา ตัวเครื่องจักร เงินงบประมาณ ผลผลิต และเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน การซ่อมแซมจะต้องใช้การวิเคราะห์หลักการและความชำนาญ ประสบการณ์ในการทำงาน
การติดตั้งประกอบ
การติดตั้งประกอบ เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถในการใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ชิ้นส่วน รวมทั้งทักษะการทำงานต่างๆ มาทำการติดตั้งประกอบอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านให้สามารถทำงานและใช้งาน เอื้ออำนวยประโยชน์อย่างสะดวกและปลอดภัย ซึ่งการติดตั้งประกอบนี้อาจเป็นการติดตั้งพวกอุปกรณ์เครื่องใช้ใหม่ที่ซื้อมาแล้วต้องประกอบติดตั้งตามคู่มือ หรือแบบที่ติดมากับเครื่องใช้หรือทำงานควบคู่กับการซ่อมแซมที่ได้เปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์ เพื่อให้สามารถทำงานได้ปกติ โดยการเปลี่ยนชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์แล้วเราติดตั้งประกอบเข้าที่ เช่น ตัวอย่างการติดตั้งประกอบตู้วางชั้นหนังสืออเนกประสงค์ชนิดน็อคดาวน์ ติดตั้งประกอบชุดวงจรไฟฟลูออเรสเซนต์ ติดตั้งประกอบตู้เสื้อผ้า เตียงนอน ประกอบติดตั้งเครื่องสูบน้ำ หรือติดตั้งประกอบเสื้อสูบมอเตอร์ไซค์ ติดตั้งประกอบพัดลมแบบแขวน เป็นต้น ซึ่งจะได้กล่าวถึงในรายละเอียดต่อไป
การทำงานช่างในงานซ่อมแซม งานบำรุงรักษาและติดตั้งประกอบอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ มีกระบวนการ 11 ขั้นตอน ดังนี้
1. ศึกษาคู่มือ คำแนะนำและอ่านแบบ
2. ศึกษาหลักความปลอดภัย
3. การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
4. การคำนวณค่าใช้จ่าย
5. การวางแผนปฏิบัติงาน
6. การเลือกใช้เทคโนโลยี
7. การเลือกเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์
8. การปฏิบัติงาน (ดำเนินการปฏิบัติงาน)
9. การตรวจสอบความเรียบร้อย
10. การแก้ไขและปรับปรุง
11. การจัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือ
ในขั้นตอนการซ่อมแซม การบำรุงรักษา และการติดตั้งประกอบ เราควรนำทักษะกระบวนการแก้ปัญหามาใช้แก้ปัญหาของงานซ่อมแซมและงานบำรุงรักษา ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องให้ผู้เรียนมีความคิด และใช้วิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนด้วย ขั้นตอนการสังเกต ขั้นตอนการวิเคราะห์ ขั้นตอนการสร้างทางเลือกและขั้นตอนการประเมินทางเลือก โดยจะสอดแทรกในกระบวนการ 11 ขั้นตอนดังกล่าว
กระบวนการของการบำรุงรักษา การซ่อมแซมและติดตั้งประกอบ
1. ศึกษาคู่มือ คำแนะนำและอ่านแบบ
การศึกษาคู่มือ คำแนะนำและอ่านแบบนี้ เป็นขั้นตอนแรกของการทำงานที่กล่าวถึงการวางแผนการปฏิบัติงาน เป็นการศึกษาข้อมูลและรายละเอียดในเรื่องของคู่มือ คำแนะนำ รูปแบบรายการของงาน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการทำงาน การบำรุงรักษา และซ่อมแซมวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องใช้ภายในบ้าน ผู้เรียนจะใช้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อศึกษาสังเกต ตรวจสอบวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องใช้ที่เกิดปัญหาจากการชำรุดบกพร่องในการทำงาน มีสิ่งที่บ่งบอกเกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งในขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนการสังเกตของทักษะกระบวนการแก้ปัญหา
ตัวอย่างของคู่มือ
2. ศึกษาหลักความปลอดภัย
การศึกษาถึงหลักความปลอดภัยและการปฏิบัติงานอย่างถูกวิธี โดยการใช้วัสดุเครื่องมือและอุปกรณ์ สถานที่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและสะดวกรวดเร็วของผู้ปฏิบัติงาน เช่น กรณีความปลอดภัยจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ระมัดระวังสายไฟและปลั๊ก ควรถอดออกจากแหล่งจ่ายไฟ (ปลั๊กไฟบ้าน) ก่อนทุกครั้งที่จะบำรุงรักษา
3. การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นการปลูกฝังให้ผู้ปฏิบัติงานมีสำนึกและเห็นความสำคัญของการใช้พลังงาน ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างรู้คุณค่า เช่น ไม่ควรเปิดก๊อกน้ำไหลทิ้งขณะล้างจาน จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำ หรือกดน้ำแต่พอดื่ม อย่ากดจนล้นแก้ว เป็นต้น
ส่วนการบำรุงรักษาล้างทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ จะช่วยให้เครื่องใช้ดังกล่าวสะอาด และช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย
4. คำนวณค่าใช้จ่าย
การคำนวณค่าใช้จ่ายเป็นการคิดคำนวณค่าวัสดุและอุปกรณ์ และค่าแรงที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งการประมาณราคาทำให้รู้ถึงค่าใช้จ่ายในการทำงาน การซ่อมแซมและดัดแปลง การบำรุงรักษา การประกอบและติดตั้งในงานนั้น ๆ
5. การวางแผนปฏิบัติงาน
การวางแผนปฏิบัติงานการบำรุงรักษา และการซ่อมแซมและดัดแปลง วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องใช้ภายในบ้าน เป็นการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานช่างว่า จะทำอะไร อย่างไร เมื่อใด ที่ไหน สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเท่าใด สิ่งที่จะทำเป็นประโยชน์อย่างไร ซึ่งทักษะกระบวนการแก้ปัญหาจะอยู่ในขั้นตอนการวิเคราะห์
การวางแผนการทำงานจะต้องเขียนลงในกระดาษอย่างชัดเจน โดยระบุข้อมูลตามขั้นตอนซึ่งสามารถทำตารางวิเคราะห์การทำงานอย่างง่าย ดังนี้

6. การเลือกใช้เทคโนโลยี
การเลือกใช้เทคโนโลยีควรเลือกให้เหมาะกับงาน เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น หรือสถานที่ทำงาน เพื่อให้การทำงานได้ผลสัมฤทธิ์ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่น เลือกใช้เทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ หรือซอฟต์แวร์ที่เป็นเทคนิควิธี หรือกระบวนการขั้นตอนการถอดประกอบ และการใช้เครื่องมือ เป็นต้น
7. การเลือกเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์
การเลือกเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ที่เหมาะสมถูกต้องกับการใช้งาน จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นควรคำนึงถึงความสะดวกในการบำรุงรักษา และความปลอดภัยจากการใช้เครื่องมือด้วย
8. การปฏิบัติงาน
การปฏิบัติงานในเรื่องการบำรุงรักษา การประกอบติดตั้ง การซ่อมแซมและดัดแปลง เป็นการปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่วางไว้ โดยการนำทักษะกระบวนการแก้ปัญหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เกิดความคิดหาวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีขั้นตอน ซึ่งในขั้นนี้จะเป็นขั้นตอนการสังเกต การวิเคราะห์ สร้างทางเลือกและการประเมินทางเลือก โดยเน้นลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน เช่น ความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ การร่วมมือ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความซื่อสัตย์ ความสามัคคี ความขยันอดทน และมีการตรวจสอบผลการทำงานของตนเองด้วย
9. การตรวจสอบความเรียบร้อย
การตรวจสอบความเรียบร้อยและการทดลองใช้งาน จะนำทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในขั้นการประเมินทางเลือก มีความเรียบร้อยสมบูรณ์ สวยงาม และสามารถใช้งานได้จริงตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ จะมีการปรับปรุงชิ้นงานอย่างไร เป็นต้น
10. การแก้ไขและปรับปรุง
การแก้ไขปรับปรุง เป็นวิธีการแก้ไขงานที่บกพร่องให้มีความถูกต้องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
11. การจัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือ
การจัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือ เป็นวิธีการสุดท้ายของการปฏิบัติงาน เมื่อทำงานเสร็จผู้ปฏิบัติงานต้องเก็บและบำรุงรักษา ทำความสะอาดเครื่องมือ จัดเก็บให้เป็นระเบียบ เพื่อให้เครื่องมือในงานช่างมีสภาพพร้อมใช้งานได้อยู่เสมอ
สรุป การประยุกต์ใช้ข้อมูลในงานซ่อมแซมและบำรุงรักษา และการติดตั้งประกอบ อุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้ จะได้นำกระบวนการทั้ง 11 ขั้นตอน มาประยุกต์ใช้ข้อมูลเป็นตัวอย่างในการนำเสนอให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เข้าใจงานซ่อมแซมและบำรุงรักษา ประเภทเครื่องมือ เช่น ค้อน ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น พัดลม หม้อหุงข้าว และเครื่องใช้ทั่วไป เช่น จักรยาน เป็นต้น
การติดตั้ง ประกอบ ซ่อมแซมเครื่องใช้เตาไมโครเวฟ
การดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกวันนี้ได้รับความสะดวกสบายต่าง ๆ มากมายจากเครื่องใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นเทคโนโลยี ได้แก่ ตู้เย็น โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า และเตาอบไมโครเวฟ เป็นต้น เมื่อมนุษย์ได้คิดพัฒนาเทคโนโลยี ทั้งที่เป็นเทคนิควิธีการ กระบวนการผลิตมาโดยลำดับ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์กับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเน้นไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีที่คุ้มค่ายั่งยืน เกิดประโยชน์สูงสุด ประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งพลังงานและทรัพยากร พร้อมทั้งมีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ทั้งการสังเกต การวิเคราะห์ การสร้างทางเลือกและการประเมินทางเลือก เพื่อตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผลและบรรลุเป้าหมาย
ดังนั้น เพื่อการจัดการในทักษะการทำงาน ทักษะกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงาน นักเรียนจะต้องการใช้ข้อมูลในการติดตั้ง ประกอบและการซ่อมแซม เพื่อให้เครื่องใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในบ้านและโรงเรียนใช้ได้นานขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดตามลำดับดังนี้
งานซ่อมแซม เป็นงานซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้านที่เกิดเหตุขัดข้องจากการทำงานหรือมีความผิดปกติ ไม่พร้อมที่จะใช้งาน หรือเมื่อใช้งานต่อไปจะทำให้เสียหายทั้งด้านเวลา ตัวเครื่องจักร เงินงบประมาณและเกิดอันตรายแก่ผลผลิตและผู้ใช้งาน การซ่อมแซมจะต้องใช้การวิเคราะห์หลักการ ความชำนาญ และประสบการณ์ในการทำงาน
งานประกอบติดตั้ง เป็นงานที่ละเอียดอ่อนเพราะต้องใช้ความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับหลักการทำงานของเครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้าน ต้องศึกษารายละเอียดของชิ้นส่วนเครื่องมือเครื่องใช้
นั้น ๆ เพื่อนำมาประกอบติดตั้งตามความเหมาะสม ซึ่งในงานซ่อมแซมและงานบำรุงรักษาจะมีงานประกอบติดตั้งเข้าไปเกี่ยวข้อง ตามรายละเอียดต่อไปนี้
กระบวนการทำงานช่างในงานซ่อมแซม บำรุงรักษา และประกอบติดตั้ง แบ่งเป็น 11 ขั้นตอน ดังนี้
1. ศึกษาคู่มือ คำแนะนำและอ่านแบบ
2. ศึกษาหลักความปลอดภัย
3. ศึกษาวิธีการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
4. คำนวณค่าใช้จ่าย
5. การวางแผนการปฏิบัติงาน
6. การเลือกใช้เทคโนโลยี
7. การเลือกเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์
8. การปฏิบัติงาน (ดำเนินการปฏิบัติงาน)
9. การตรวจสอบความเรียบร้อย
10. การแก้ไขและปรับปรุง
11. การจัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือ
1. การศึกษาข้อมูล คำแนะนำ การอ่านแบบ
ในการศึกษาคู่มือ คำแนะนำ และอ่านแบบที่ติดมากับเครื่องใช้ไฟฟ้าเตาไมโครเวฟ นักเรียนจะต้องศึกษารายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆ รู้จักการทำงานของเตาไมโครเวฟ คุณลักษณะบางประการพร้อมจะต้องเก็บรักษาคู่มือไว้เพื่อสามารถนำมาศึกษาในภายหลัง เพื่อจะได้ทำการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง
เตาไมโครเวฟ (Microwave Oven) คือ อุปกรณ์เครื่องครัวชนิดหนึ่งที่ใช้พลังงานจากคลื่นไมโครเวฟทำอาหารให้สุก โดยไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์เหมือนคลื่นวิทยุ เช่นเดียวกับการทำงานของโทรทัศน์ คลื่นจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานแม่เหล็ก และถูกส่งผ่านตัวอาหารทำให้โมเลกุลในตัวอาหารสั่นสะเทือนจนเกิดการเสียดสี เกิดความร้อนในตัวของมันและสุกด้วยตัวมันเอง โดยขณะที่ทำงานไมโครเวฟจะส่งคลื่นแต่ไม่ไปรบกวนเครื่องรับสัญญาณใด ๆ
ไมโครเวฟเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับแสงสว่าง โดยอยู่ในช่วงของคลื่นวิทยุความถี่สูง (High frequency radio wave) เมื่อรังสีมีความถี่สูงขึ้น ความยาวคลื่นจะลดลง คลื่นที่มีความถี่สูงมาก ความยาวคลื่นจึงสั้นมาก ดังนั้น คลื่นชนิดนี้จึงได้ชื่อว่าไมโครเวฟ ซึ่งแปลว่าคลื่นสั้นมาก ส่วนรังสีอินฟาเรด (Infrared) แสงอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) และรังสีเอกซ์ (X – ray) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกัน แต่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าไมโครเวฟ
คลื่นไมโครเวฟ มีลักษณะเด่น 3 ประการ ดังนี้
 |
1. สะท้อนกลับ (Refection) คลื่นไมโครเวฟเมื่อไปกระทบกับภาชนะที่เป็นโลหะ หรือมี ส่วนผสมของโลหะ คลื่นไมโครเวฟ ไม่สามารถ ทะลุผ่านภาชนะดังกล่าวได้ จะสะท้อนกลับ
หมด ดังนั้น อาหารที่ใส่ภาชนะดังกล่าวจะไม่สุก |
 |
2. การส่งผ่าน (Transmission) คลื่นไมโครเวฟสามารถทะลุผ่านภาชนะที่ทำด้วยแก้ว กระดาษ
ไม้ และพลาสติกได้ เพราะภาชนะดังกล่าวไม่มี ส่วนผสมของโลหะ จึงเป็นภาชนะที่ใช้ได้ดีใน เตาไมโครเวฟ |
 |
3. การดูดซึม (Absorption) ปกติอาหารโดยทั่ว ๆ ไปจะประกอบด้วยน้ำ โมเลกุลของน้ำในอาหารจะดูดซึมคลื่นไมโครเวฟ ทำให้อาหารร้อนอย่างรวดเร็ว และอีกนัยหนึ่ง เมื่อโมเลกุลดูดซึมคลื่นไมโครเวฟแล้วจะสลายตัวในทันทีไม่สะสมในอาหาร |
จากคุณสมบัติเด่นของคลื่นไมโครเวฟที่ทำให้อาหารสุกอย่างรวดเร็ว จึงเป็นการรักษาคุณค่าของอาหารไว้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการหุง ต้ม อบ นึ่ง ปิ้ง ย่าง ทอด และคุณสมบัติพิเศษที่มากกว่าการประกอบอาหารด้วยวิธีดั้งเดิม เช่น ความสะดวกรวดเร็ว ประหยัด ปลอดภัยและไร้เขม่าควันไฟ
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเตาไมโครเวฟ
 |
1. ประตูเตาอบ
2. ระบบล็อกประตู
3. มือจับประตูใช้สำหรับดึงเปิดประตูเตาอบ หากประตูถูกเปิดในระหว่างปรุงอาหาร เตาอบจะหยุดกระบวนการปรุงอาหาร แต่จะไม่ยกเลิกโปรแกรมการทำงานที่ตั้งไว้ ในขณะปรุงอาหาร ท่านสามารถเปิดประตูเตาอบได้ทุกเวลาโดยไม่เป็นอันตรายใดๆ และไม่เสี่ยงต่อการได้รับคลื่นไมโครเวฟสำหรับไฟในเตาอบจะเปิดสว่างในช่วงเวลาที่เตาอบทำงาน
4. แผงควบคุม
5. ถาดแก้ว (จานหมุน)
6. แหวนลูกกลิ้ง (ล้อรองจาน) ก.ควรเช็ดทำความสะอาดแหวนลูกกลิ้งเป็น ประจำ เพื่อป้องกันการเกิดเสียงดัง
ข. เวลาปรุงอาหาร ควรใช้แหวนลูกกลิ้งและ ถาดแก้วด้วยกันเสมอ
7. แผ่นป้าย แสดงรุ่น
8. ช่องระบายอากาศภายนอกเตาอบ
9. ปุ่มหมุนตั้งเวลาและน้ำหนัก
10. ปุ่มตั้งระบบความร้อน 11. แผ่นปิด (ห้ามเอาออก) ติดผนังตู้ภายใน |

แผงควบคุม
 |
1. จอหน้าปัด
2. ปุ่มละลายอาหารแช่แข็งแบบเทอร์โบ
3. ปุ่มปรุงอาหารอัตโนมัติ
4. ปุ่มตั้งระดับความร้อน
5. ปุ่มตั้งเวลา
6. ปุ่มหยุด/ยกเลิก
ก่อนการปรุงอาหาร: กด 1 ครั้ง เพื่อลบคำสั่งเก่าออก
ระหว่างปรุงอาหาร: กดหนึ่งครั้ง เตาอบจะหยุดปรุงอาหารชั่วคราว กดซ้ำอีกครั้งเตาอบจะยกเลิกรายการที่ตั้งเอาไว้ทั้งหมด และเครื่องหมาย : จะปรากฏบนหน้าปัด
7. ปุ่มเริ่มการทำงาน
กด 1 ครั้ง เครื่องจะเริ่มทำงาน ถ้าประตูปิดออกหรือกดปุ่ม หยุด/ยกเลิก 1 ครั้ง ระหว่างที่เตาอบทำงาน ต้องกดปุ่มเริ่มทำงานอีกครั้งเพื่อให้เตาอบเริ่มทำงานใหม่
เสียงสัญญาณ
เมื่อกดปุ่มคำสั่งต่าง ๆ จะมีเสียงสัญญาณดังขึ้น 1 ครั้ง ถ้าไม่มีเสียงสัญญาณแสดงว่าเครื่องยังไม่พร้อม หรือยังไม่สามารถรับคำสั่งได้ ระหว่างตั้งโปรแกรมทำงาน จะมีเสียงสัญญาณดังขึ้น 2 ครั้ง เมื่อสิ้นสุดขั้นตอนการปรุงอาหารจะมีเสียงสัญญาณดังขึ้น |

แหล่งที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=uJTPoIhc29I
ส่วนประกอบภายในของเตาไมโครเวฟ
เตาไมโครเวฟเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ทำความร้อน โดยประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ
ส่วนแรก เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เรียกว่า แมกนีตรอน(Magnetron) ทำหน้าที่เป็นตัวเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าผลิตให้เป็นคลื่นไมโครเวฟ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
ส่วนที่สอง เป็นท่อนำคลื่นหรืออาจเรียกว่า เวฟไกด์ (wave guide) มีลักษณะเป็นท่อสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีผนังเป็นโลหะ ทำหน้าที่นำคลื่นป้อนเข้าสู่ห้องอบที่เปลี่ยนแปลงสลับไปมา โดยสนามของพลังงานไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กอยู่ด้วยกัน สนามไฟฟ้าของไมโครเวฟจะเกิดการสั่นสะเทือนเป็นจำนวนล้าน ๆ ครั้ง ใน
1 วินาที จึงส่งผลให้โมเลกุลเหล่านี้หมุนกลับไปมาเกิดการเรียงตัวของโมเลกุล ทำให้เกิดความร้อน
อย่างรวดเร็ว โมเลกุลของอาหารประกอบด้วยน้ำ ไขมันและน้ำตาล ซึ่งมีอยู่ในอาหารจะดูดซับพลังงานของคลื่นผ่านเข้าไปเกิดความร้อนขึ้น ในกระบวนการที่เรียกว่า การเกิดความร้อนในสารไดอิเล็กตริก
(dielectric heating)] การให้ความร้อนด้วยคลื่นไมโครเวฟ [2] จะมีประสิทธิภาพการเกิดความร้อนสูงสุด ในการให้ความร้อนแก่น้ำ และจะให้ประสิทธิภาพต่ำเมื่อให้ความร้อนแก่ไขมัน น้ำตาล และน้ำแข็ง คลื่นของไมโครเวฟนี้เป็นคลื่นที่พุ่งผ่านแล้วมอบพลังงานของมันให้กับสิ่งที่มันพุ่งผ่านไป ทำให้อาหารสุกอย่างรวดเร็ว เมื่อพลังงานของมันหมดมันก็สลายไป จึงไม่มีรังสีตกค้างหรือปะปนในอาหาร ซึ่งการให้ความร้อนของเตาไมโครเวฟนี้มีลักษณะเดียวกับการที่เราใช้มือถูกันไปมาเร็ว ๆ ก็จะรู้สึกร้อนขึ้นทันที
การให้ความร้อน

ส่วนระบบการให้ความร้อนของเตาธรรมดาทั่วไป จะให้ความร้อนที่แผ่ความร้อนจากด้านล่างไปที่ตัวภาชนะรองอาหารโดยตรง และความร้อนจากภาชนะที่รองอาหารส่งความร้อนไปที่ตัวอาหาร ทำให้อาหารได้รับความร้อนอย่างช้าๆ จากภาชนะที่รองรอจนสุกทั่ว จึงทำให้อาหารสุกจากเตาธรรมดาช้ากว่าความร้อนของเตาไมโครเวฟ คลื่นไมโครเวฟเข้าสู่ห้องอบได้อย่างไร
คลื่นไมโครเวฟจะเคลื่อนที่ผ่านท่อนำคลื่นหรือเวฟไกด์ (wave guide) สู่ใบกวน (ใบกวนจะหมุน 60 ครั้งต่อนาที) ซึ่งใบกวนจะทำการสะท้อนคลื่นให้กระจายไปทั่วภายในของห้องอบ ลักษณะเดียวกันกับที่ใบของพัดลมซึ่งหมุนช้า ๆ ทำการสะท้อนลำของแสงนั้นเอง จากนั้นคลื่นที่เข้าสู่ห้องอบจะสะท้อนกับผนังภายในของห้องอบโดยรอบ ซึ่งจะมีผลทำให้คลื่นวิ่งเข้ากระทบอาหารที่อยู่ภายในเตาอบได้จากหลาย ๆ ทิศทาง จึงทำให้อาหารสุกได้โดยทั่วถึงกัน และด้วยเหตุที่ว่าโลหะสามารถสะท้อนคลื่นชนิดนี้ได้ ดังนั้นภาชนะที่จะใช้ในเตาอบไมโครเวฟต้องเป็นภาชนะที่ทำด้วยแก้ว หรือกระดาษ หรือวัสดุพรุน ที่มิใช่โลหะเท่านั้น
2. ศึกษาหลักความปลอดภัย
ไมโครเวฟมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมาก ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย แต่หากใช้โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยจะเป็นอันตรายต่อชีวิต เพราะพลังงานที่ใช้กับไมโครเวฟคือไฟฟ้า สิ่งควรระวังคือความชื้นและน้ำ เช่น ไม่เสียบปลั๊กไฟขณะมือเปียก ไม่ถอดปลั๊กโดยการดึงสายไฟกระตุก ควรจับที่ขั้วปลั๊ก และไม่ควรเสียบปลั๊กเตาไมโครเวฟทิ้งไว้ เพราะนอกจากเปลืองค่าไฟฟ้าแล้ว ยังไม่ประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติด้วย ดังนั้น การใช้เตาไมโครเวฟอย่างปลอดภัยควรปฏิบัติดังนี้
2.1 วงจรไฟฟ้า ควรต่อวงจรไฟฟ้าของเตาไมโครเวฟแยกต่างหากจากอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ จำนวนโวลต์ที่ใช้กับเตานี้จะต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้ ถ้าไม่ปฏิบัติตามอาจทำให้แผงฟิวส์ ร้อนจนหลอมละลายและอาจติดไฟได้ หรืออาจมีผลทำให้อาหารสุกช้า (อย่าเพิ่มเติมหรือดัดแปลงขนาดของฟิวส์บนแผงฟิวส์)

2.2 สายดิน เตาไมโครเวฟจำเป็นต้องต่อสายดิน เพราะหากเกิดไฟฟ้าลัดวงจร การต่อสายดินจะช่วยลดความเสี่ยงจากไฟฟ้าช็อต โดยจะเป็นตัวกลางให้ไฟฟ้าผ่านลงดิน ดังนั้น เตาไมโครเวฟควรติดตั้งอย่างเหมาะสมและมีสายดินอยู่ด้วย
คำเตือนในการใช้เตาไมโครเวฟ
- เมื่อจะต้มชาหรือกาแฟ ควรใส่ผงกาแฟหรือถุงชาลงไปในน้ำก่อนจะลงไปต้ม
- คนของเหลวหรือน้ำ ก่อนนำเข้าไปอุ่นหรือต้ม ระหว่างปรุงควรหยุดเวลาแล้วเปิดคนอาหาร เป็นระยะ ๆ เพื่อให้ความร้อนกระจายอุณหภูมิอาหารจะได้สมดุลกัน
- ห้ามใส่ภาชนะโลหะหรือภาชนะที่มีขอบเคลือบโลหะแวววาว เพราะอาจเกิดประกายไฟในเตาได้
- หลีกเลี่ยงภาชนะที่มีคอแคบ
- อย่าอุ่นหรือต้มอาหารในเตาไมโครเวฟนานเกินไป โดยเฉพาะของเหลวไม่ควรเกิน 2 นาที
- ห้ามใช้พลาสติกห่ออาหารปรุงในเตา ควรใช้พลาสติกที่ใช้เฉพาะกับเตาไมโครเวฟเท่านั้น ควร แกะพลาสติกให้ห่างจากใบหน้า หลังนำออกมาจากเตาแล้ว
- อาหารบางชนิด เช่น ไข่ทั้งฟอง เวลาจะปรุงควรเจาะไข่ให้เป็นรูเสียก่อน แล้วคลุมด้วย พลาสติกที่ใช้กับเตาไมโครเวฟ หลังปรุงเสร็จให้ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาที จึงแกะพลาสติกที่หุ้มออก
- ควรเจาะรูอาหารทุกชนิดที่มีเปลือกหุ้มหรือผิวไม่มีรู เพื่อให้ไอน้ำในอาหารระเหยง่าย ป้องกันการพองตัวและการระเบิดของอาหาร เช่น มันฝรั่ง ตับไก่ ไข่
- ห้ามอบหรืออุ่นสมุนไพรแห้งในเตา เนื่องจากอาจลุกติดไฟได้ง่าย
- ควรใช้ที่หมุนในเตาไมโครเวฟ เพื่อให้อาหารเหลวมีการเคลื่อนไหวและร้อนเร็วขึ้น
ข้อควรรู้เกี่ยวกับภาชนะที่ใช้กับเตาไมโครเวฟอย่างปลอดภัย มีดังนี้
- แก้วทนความร้อนสูงเหมาะที่ใช้กับเตาไมโครเวฟ
- กระเบื้องเคลือบดินเผาควรใช้แบบที่ไม่มีลวดลาย และโลหะมาตกแต่ง
- พลาสติกทนความร้อนเหมาะใช้กับเตาไมโครเวฟ
- พลาสติกที่ใช้ห่ออาหารควรเป็นพลาสติกที่ทำมา โดยเฉพาะใช้กับเตาไมโครเวฟ
- อะลูมิเนียมฟอยล์ใช้ห่ออาหารได้บางชนิด แต่ ไม่ควรใช้มากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดประกาย ไฟได้
- ควรใช้จานแก้วหมุนพร้อมตัวรองจาน
- ควรใช้ภาชนะที่ทำมาจากเม็ดพลาสติกหนา เช่น พวกคอร์นิ่งแวร์

ภาชนะที่ไม่ควรใช้กับเตาไมโครเวฟ ได้แก่
- ชุดแก้วที่มีขอบลวดลายเป็นโลหะ
- ชุดแก้วคริสตัล
- เครื่องครัวที่เป็นโลหะชนิดต่าง ๆ เช่น สแตนเลส อะลูมิเนียม สังกะสี

- ไม้
- ชั้นวางเพื่อย่าง
3. การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
ไมโครเวฟเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้ความสะดวกในการปรุงและอุ่นอาหาร การเลือกซื้อและการใช้เตาไมโครเวฟในห้องครัวให้เกิดความปลอดภัย และสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย อนุรักษ์พลังงาน
และสิ่งแวดล้อม ด้วยการเลือกซื้อเตาไมโครเวฟที่มีเครื่องหมายรับประกันคุณภาพ สามารถช่วยประหยัดพลังงาน และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
ภาชนะที่ใช้กับเตาไมโครเวฟที่แตกต่างกันจะมีความสามารถในการดูดซึมไมโครเวฟต่างกัน วัสดุกันน้ำจะดูดซับคลื่นไมโครเวฟได้ง่าย ไม่ทำให้อุณหภูมิโดยรอบสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น สภาพแวดล้อมในการทำงานจึงดี ตามสถิติแล้วการให้ความร้อนด้วยไมโครเวฟ จะให้ประสิทธิภาพในการอบแห้งได้ดีที่สุดและประหยัดที่สุด เมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ เช่น การให้ความร้อนด้วยไฟฟ้า และระบบอินฟาเรด ซึ่งง่ายต่อการควบคุม สะอาด ถูกสุขลักษณะ ให้ความร้อนที่เลือกได้และปลอดภัย
หากต้องการประหยัดพลังงาน ควรปฏิบัติตามเคล็ดลับง่าย ๆ ดังนี้
1) การเลือกซื้อและเลือกใช้เตาไมโครเวฟ สามารถลดกลิ่นในครัว เมื่อเทียบกับการทำอาหารทั่วไปที่ใช้เตาแก๊ส
2) การซื้อเตาไมโครเวฟที่มีคุณสมบัติสูงนั้น ไม่เพียงใช้อุ่นอาหารเท่านั้น แต่ยังสามารถอบ นึ่ง และย่างอาหารได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
3) กรณีที่ยังไม่เคยใช้เตาไมโครเวฟ ก่อนใช้ต้องอ่านและศึกษาคู่มือแนะนำการใช้งานให้เข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
4) การบำรุงรักษาทำความสะอาดจะช่วยยืดอายุการใช้งาน ไม่ให้อุปกรณ์ชิ้นส่วนหมดอายุหรือชำรุดก่อนเวลา เป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และไม่ก่อให้เกิดปัญหาทิ้งเศษวัสดุอุปกรณ์ให้เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม
5) ทุกครั้งที่เลิกใช้เตาไมโครเวฟ ให้ปิดสวิตช์เตาไมโครเวฟและถอดปลั๊กออกจากเต้ารับทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เตาไมโครเวฟชำรุดง่าย
6) อย่าพยายามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ด้วยตนเอง หรือโดยช่างที่ไม่มีความรู้ความชำนาญที่เพียงพอ เครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภทจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ตรวจสอบด้านความปลอดภัย เช่น เตาไมโครเวฟต้องมีการตรวจสอบการรั่วของคลื่นไมโครเวฟ ไม่ให้มีมากเกินอันตรายที่กำหนด หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสายดินต้องตรวจสอบความต่อเนื่อง และฉนวนของสายดินกับสายศูนย์ เป็นต้น
7) อย่าใช้เตาไมโครเวฟในห้องที่มีการปรับอากาศ
8) ขณะใช้เตาไมโครเวฟควรตั้งเวลาให้สอดคล้องกับชนิดและปริมาณอาหาร
9) อย่าให้เครื่องทำงานในขณะที่ไม่มีอาหาร เพราะเครื่องจะปล่อยคลื่นไมโครเวฟออกมา โดยไม่มีอาหารรองรับทำให้เครื่องชำรุดเสียหายได้
10) การใช้เตาไมโครเวฟเพื่ออุ่นอาหาร ต้มน้ำเดือดปริมาณน้อย อย่าใช้ละลายอาหารแช่แข็ง
11) การเลือกซื้อเตาไมโครเวฟที่มีความจุใกล้กัน ควรเลือกซื้อรุ่นที่มีกำลังไฟฟ้า (วัตต์) น้อยกว่า
4. คำนวณค่าใช้จ่าย
รายการ |
จำนวน |
ราคา |
1. ฟองน้ำ
2. ผ้าสะอาด
3. น้ำยาทำความสะอาด
4. อ่างใส่น้ำ |
1 ชิ้น
1 ชิ้น
1 ถุง
1 ใบ |
5 บาท
5 บาท
5 บาท
30 บาท |
5. การวางแผนการปฏิบัติงาน
การวางแผนการปฏิบัติงานในการบำรุงรักษาเตาไมโครเวฟ (การล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ชิ้นส่วน) ให้มีอายุการใช้งานนาน และทำงานได้เป็นปกติ ต้องวางแผนก่อนปฏิบัติงานดังนี้
1. ถอดปลั๊กไฟออกก่อนทำความสะอาดทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยจากไฟฟ้าและคลื่นไมโครเวฟ
2. เปิดฝาหรือประตูเตาไมโครเวฟ พร้อมนำถาดรองแก้วหรือจานหมุนออกล้าง
3. นำวงแหวนลูกกลิ้งทำความสะอาด
4. นำฝาครอบอาหารออกล้างทำความสะอาด
5. ทำความสะอาดภายใน (ฝาด้านใน) ที่มีเศษอาหารกระเด็นติด
6. ทำความสะอาดภายนอกประตู และตัวเครื่องเตาไมโครเวฟ
7. ทำความสะอาดมือจับ
8. ทำความสะอาดปุ่มตั้งเวลา / ปุ่มตั้งความร้อน
9. นำอุปกรณ์ภายในประกอบเข้าที่เดิมพร้อมใช้งาน
6. การเลือกใช้เทคโนโลยี
เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการบำรุงรักษาเตาไมโครเวฟ จะใช้การถอดชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในออกมา เป็นขั้นตอนที่ผู้ปฏิบัติต้องวางแผนนำอุปกรณ์ชิ้นส่วนออกมาล้างทำความสะอาด และประกอบเข้าที่เดิม (สิ่งที่ถอดก่อนใส่ทีหลัง สิ่งที่ถอดทีหลังใส่ก่อน) ในการทำความสะอาดและบำรุงรักษาเตาไมโครเวฟ ควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และตรวจเช็คตามจุดต่างๆ ตามที่คู่มือกำหนด ตลอดทั้งวิธีการทำความสะอาดและการเลือกใช้เทคโนโลยีในการกำจัดคราบน้ำมันที่เกาะผนังด้านในเตา และวงรัดแกนหมุน ซึ่งอาจจะเลือกใช้น้ำยาทำความสะอาด หรือน้ำยาล้างจานที่ไม่มีผลต่อการกัดกร่อนวัสดุ และไม่ควรใช้ผงซักฟอกทำความสะอาด
7. การเลือกเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์
 |
 |
 |
 |
1. น้ำยาทำความสะอาด |
2. อ่างน้ำ |
3. ฟองน้ำ |
4. ผ้าสะอาด (สำหรับเช็ด) |
8. การปฏิบัติงาน (ดำเนินการปฏิบัติงาน)
 |
1. การทำความสะอาดเตาไมโครเวฟทุกครั้ง ต้องถอดปลั๊กไฟของเตาไมโครเวฟออกจากเต้ารับ เพื่อความปลอดภัยจากไฟฟ้าและคลื่นไมโครเวฟ |
 |
2. เปิดประตูหรือฝาเตาไมโครเวฟ เพื่อนำถาดแก้วหรือจานหมุนไปทำความสะอาด |
 |
3. นำวงแหวนลูกกลิ้งหรือล้อรองจาน ออกมาล้างทำความสะอาดคราบน้ำมัน |
 |
4. นำฝาครอบอาหารมาล้างทำความสะอาด |
 |
5. ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ภายในเตาไมโครเวฟ เช่น จานรอง วงแหวนลูกกลิ้ง ฝาครอบอาหาร ด้วยน้ำยาทำความสะอาด หรือน้ำสบู่ในอ่างภาชนะใส่น้ำ |
 |
6. นำอุปกรณ์ภายในเตาไมโครเวฟที่ล้างทำความสะอาด แล้วนำไปผึ่งให้แห้ง |
 |
7. ทำความสะอาดภายในผนัง (ฝาด้านใน) ด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจาน โดยใช้ฟองน้ำเช็ด (ระวังอย่าให้น้ำหกภายในผนังด้านในของเตาไมโครเวฟ) |
 |
8. ทำความสะอาดภายนอกของเตาไมโครเวฟและมือจับ ด้วยน้ำยาล้างจานหรือน้ำสบู่ โดยใช้ฟองน้ำเช็ดให้สะอาด แล้วใช้น้ำสะอาดเช็ดล้างน้ำสบู่ออกให้หมด |
 |
9. ใช้ผ้าแห้งเช็ดเตาไมโครเวฟอีกครั้งจนแห้ง พร้อมนำอุปกรณ์ภายในเตาที่ผึ่งจนแห้ง มาเช็ดทำความสะอาดก่อนนำประกอบเข้าที่เดิม |
 |
10. นำอุปกรณ์วงแหวนลูกกลิ้งประกอบเข้าตำแหน่งเดิม |
 |
11. นำจานหมุนหรือถาดแก้วประกอบเข้าที่บนวงแหวนลูกกลิ้ง |
9. การตรวจสอบความเรียบร้อย
เมื่อทำความสะอาดเตาไมโครเวฟแล้วควรตรวจสอบความเรียบร้อยของเตาไมโครเวฟ ดังนี้
1. ควรวางเตาไมโครเวฟให้ด้านหลังของเตาห่างจากฝาผนัง หรือกำแพงอย่างน้อย 7.5เซนติเมตร |
 |
2. ตรวจสอบจุดต่อของช่องเสียบปลั๊กไฟบ้านให้แน่น เพื่อจะดำเนินการตรวจสอบการทำงานของเตาไมโครเวฟ |
 |
3. ตรวจสอบจานหมุน (ถาดแก้ว) วางอยู่บนวงล้อแกนหมุนหรือไม่ และวงล้อสามารถหมุนเคลื่อนที่ได้ปกติหรือไม่ |
|
4. ทดสอบการทำงาน โดยอาจนำน้ำใส่ถ้วยหรือนำอาหารมาปรุงหรืออุ่น เพื่อดูการ
ทำงานว่าปกติหรือไม่ และตรวจเช็คตัวตั้งเวลา (Timer) ว่าทำงานสอดคล้องกับชนิดและปริมาณอาหารหรือไม่ |
 |
5. ทดสอบการทำงานของเครื่อง ถ้าให้ความร้อนไม่สม่ำเสมอ อาหารสุกไม่ทั่ว อาจมา
จากการกระจายพลังงานของคลื่นในขณะอบไม่ สม่ำเสมอ หรือพัดลมตัวกวน (ใบกวน) มีปัญหา
อาจต้องส่งให้ช่างซ่อมแซม (ข้อระวัง: ในการนำอาหารที่ปรุงออกจากเตาอบ ควรใช้ผ้าหรือถุงมือหยิบจับออกมา) |
 |
10. การแก้ไขและปรับปรุง
ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงหลังจากตรวจสอบความเรียบร้อยแล้ว ถ้ามีข้อขัดข้องมาจากสาเหตุใด ให้ซ่อมแซมเปลี่ยนอุปกรณ์หรือแก้ไขตามข้อขัดข้องจนทำงานได้ปกติ เช่น
1. ปลั๊กไฟหลวมจะต้องปรับหรือเปลี่ยน
ไม่ว่าอาจมาจากเต้ารับ (ปลั๊กตัวเมียรูหลวม) หรือเต้าเสียบ (ปลั๊กตัวผู้ขาเสียบชำรุด) |
 |
2. ตรวจสอบจานหมุนว่าวางอยู่บนล้อรองจานหรือไม่ หรือวงล้อไม่เข้าตำแหน่งล็อกให้ตรวจเช็ค และปรับแก้ให้ถูกต้อง |
 |
3. เสียงสัญญาณเตือนไม่ทำงาน ต้อง
แก้ไข โดยการเปลี่ยน หรือนำไปให้ช่างซ่อมเปลี่ยนเสียงสัญญาณเตือนใหม่ |
 |
4. การแก้ไข ถ้าหากนักเรียนไม่สามารถ
ซ่อมแซมเบื้องต้นได้ หรือไม่เข้าใจ ควรปรึกษาช่างซ่อมแซมที่ชำนาญ |
11. การจัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือ

ทำความสะอาดบริเวณที่ทำงาน แล้วเก็บเครื่องมืออุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย ขณะเดียวกันจะต้องบำรุงรักษาอุปกรณ์ให้สามารถใช้ในครั้งต่อไปได้

[1] : การใช้พลังงานทดแทน : http://www.youtube.com/watch?v=y84lmphFnHI
[2] : คลื่นไมโครเวฟ : http://www.youtube.com/watch?v=lZM5Tg6GWUQ

|