<< Go Back

มาเลเซีย

           มาเลเซีย (มาเลย์: Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ มาเลเซียตะวันตก อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดประเทศไทยทาง รัฐกลันตัน  เประ ปะลิส และเกดะห์ และติดกับสิงคโปร์ทางรัฐยะโฮร์ ส่วนที่ 2 คือ มาเลเซียตะวันออก อยู่ทางตอนเหนือ ของเกาะบอร์เนียว  มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซียทุกส่วนของมาเลเซียตะวันออก แต่ล้อมรอบประเทศบรูไนดารุสซาลามด้วยรัฐซาราวักเพียงรัฐเดียว มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน

การเมือง

           ในปัจจุบันประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ ประกอบไปด้วย เปรัค ปาหัง สลังงอร์ ไทรบุรี เคดาห์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัค และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีการปกครองในรูปแบบ คล้ายอังกฤษ กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประมุขแห่งรัฐมีตำแหน่งเป็นพระราชาธิบดี

การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่รัฐในมาเลเซีย

           มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น13 รัฐ (states -negeri-negeri)และ 3 ดินแดนสหพันธ์* (federal territories - wilayah-wilayah persekutuan)เป็นดินแดนที่รัฐบาลกลางปกครอง เขตการปกครองต่าง ๆ และชื่อเมืองหลวง (ในวงเล็บ)

รัฐ

มาเลเซียตะวันตก (คาบสมุทรมลายู)

  • กลันตัน (โกตาบารู)
  • เกดะห์ (ไทรบุรี)(อลอร์สตาร์)
  • ตรังกานู (กัวลาตรังกานู)
  • เนกรีเซมบีลัน (สเรมบัน)
  • ปะหัง (กวนตัน)
  • ปะลิส (กางาร์)
  • ปีนัง (จอร์จทาวน์)
  • เประ (อีโปห์)
  • มะละกา (มะละกา)
  • ยะโฮร์ (ยะโฮร์บาห์รู)
  • สลังงอร์ (ชาห์อาลัม)

มาเลเซียตะวันออก (เกาะบอร์เนียวตอนเหนือ)

  • ซาบาห์ (โกตากินะบะลู)
  • ซาราวัก (กูจิง)

ดินแดนสหพันธ์

มาเลเซียตะวันตก

  • กัวลาลัมเปอร์ (กัวลาลัมเปอร์)
  • ปุตราจายา (ปุตราจายา)

มาเลเซียตะวันออก

  • ลาบวน (วิกตอเรีย)

เมืองใหญ่สุด

เมืองใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
จากการสำรวจสำมะโนครัวประชากรในปี พ.ศ. 2553

ที่ เมือง รัฐ ประชากร ที่ เมือง รัฐ ประชากร
กัวลาลัมเปอร์
กัวลาลัมเปอร์

ยะโฮร์บาห์รู
ยะโฮร์บาห์รู

1 กัวลาลัมเปอร์ ดินแดนสหพันธ์ 1,674,621 11 มะละกา รัฐมะละกา 503,127 กาจัง
กาจัง

อีโปห์
อีโปห์

2 ยะโฮร์บาห์รู รัฐยะโฮร์ 1,386,569 12 โกตาบารู รัฐกลันตัน 491,237
3 กาจัง รัฐสลังงอร์ 795,522 13 โกตากินะบะลู รัฐซาบาห์ 462,963
4 อีโปห์ รัฐเประ 767,794 14 กวนตัน รัฐปะหัง 461,906
5 กลัง รัฐสลังงอร์ 744,062 15 ซูไงปตานี รัฐเกดะห์ 456,605
6 ซูบังจายา รัฐสลังงอร์ 708,296 16 บาตูปาฮัต รัฐยะโฮร์ 417,458
7 กูชิง รัฐซาราวัก 617,887 17 ตาเวา รัฐซาบาห์ 412,375
8 ปตาลิงจายา รัฐสลังงอร์ 613,977 18 ซันดากัน รัฐซาบาห์ 409,056
9 สเรมบัน รัฐเนกรีเซมบีลัน 555,935 19 อลอร์สตาร์ รัฐเกดะห์ 366,787
10 จอร์จทาวน์ รัฐปีนัง 520,202 20 กัวลาตรังกานู รัฐตรังกานู 343,284

เศรษฐกิจ

  1. เกษตรกรรม ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน
  2. การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกแร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ
  3. การทำป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย
  4. อุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย (NICs)ประเทศมาเลเซียด้านเศรษฐกิจนั้นเชื่อว่า

มาเลเซียจะพาอาเซียนไปสู่ยุคเจริญรุ่งเรืองได้ไม่ยาก

ประชากร

           ประเทศมาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดสงครามกลางเมืองเนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ประเทศ มาเลเซียประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ 50.4 เป็นชาวภูมิบุตร (Bumiputra) คือบุตรแห่งแผ่นดิน รวมไปถึงชน ดั้งเดิมของประเทศอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่กลุ่มชนเผ่าในรัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์มีอยู่ร้อยละ 11 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียนั้น ชาวมลายูนั้นคือมุสลิม และอยู่ในกรอบวัฒนธรรมมลายู แต่ชาวภูมิบุตรที่ไม่ใช่ชาวมลายูนั้น มีจำนวนกว่าครึ่งของประชากร ในรัฐซาราวัก (ได้แก่ชาวอิบัน ร้อยละ 30) และร้อยละ 60 ของประชากรรัฐซาบาห์ (ได้แก่ชาวกาดาซัน-ดูซุน ร้อยละ 18 และ ชาวบาเจา ร้อยละ 17)  นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูอีกกลุ่มหนึ่ง คือ โอรัง อัสลี

           ประชากรกลุ่มใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวภูมิบุตรหรือชนดั้งเดิมเป็นพวกที่เข้ามาใหม่ โดยเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน มีอยู่ร้อยละ 23.7 ซึ่งมีประจายอยู่ทั่วประเทศ มีชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย อีกร้อยละ 7.1 ของประชากร[1] ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวทมิฬ  แต่ยังมีชาวอินเดียกลุ่มอื่น อย่างเกรละ, ปัญจาบ, คุชราต และปาร์ซี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย โดยอาศัยอยู่ในรัฐ ทางตอนเหนือของประเทศ มีคนเชื้อสายชวาและมีนังกาเบาในรัฐทางตอนใต้ของคาบสมุทรอย่าง รัฐยะโฮร์

           ชุมชนลูกครึ่งคริสตัง (โปรตุเกส-มลายู) ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และชุมชนลูกครึ่งอื่น ๆ อย่าง ฮอลันดาและอังกฤษ ส่วนมากอาศัยในรัฐมะละกา ส่วนลูกครึ่งเปอรานากัน หรือชาวจีนช่องแคบ (จีน-มลายู) ส่วนมากอาศัยอยู่ในรัฐ มะละกา และมีชุมชน อยู่ในรัฐปีนัง

วัฒนธรรม

           มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเซีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมะละกา ประชากรร้อยละ 61.3 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 19.8 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 9.2 นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 6.3 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือลัทธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า และความเชื่อดั้งเดิมอื่น ๆ ของจีน แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่าง มากเนื่องจากทางภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้อิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับ ถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนเรื่องค่าครองชีพตามนโยบายภูมิบุตรของรัฐบาล

มาเลเซีย
Malaysia; ?????? (มาเลย์)
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญ: Bersekutu Bertambah Mutu
("ความเป็นเอกภาพคือพลัง")
เพลงชาติ: เนการากู
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
กัวลาลัมเปอร์1
2°30′N 112°30′E
ภาษาทางการ ภาษามาเลย์
การปกครอง สหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
 -  พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ชาห์
 -  นายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซะก์
เอกราช
 -  จาก อังกฤษ (เฉพาะมลายา) 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 
 -  การสร้างชาติรวมซาบาห์ ซาราวัก และสิงคโปร์ 16 กันยายน พ.ศ. 2506 
พื้นที่
 -  รวม 329,847 ตร.กม. 
127,287 ตร.ไมล์ 
 -  แหล่งน้ำ (%) 0.3
ประชากร
 -  2555 (ประเมิน) 29,120,000 
 -  2549 (สำมะโน) 23,953,136 
 -  ความหนาแน่น 82 คน/ตร.กม. 
211 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2549 (ประมาณ)
 -  รวม 180.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ธนาคารโลก) 
 -  ต่อหัว 12,700 ดอลลาร์สหรัฐ 
HDI (2550) 0.829 (สูง) 
สกุลเงิน ริงกิต (RM) (MYR)
เขตเวลา MST (UTC+8)
 -  (DST) Not observed (UTC+8)
ระบบจราจร ซ้ายมือ
โดเมนบนสุด .my
รหัสโทรศัพท์ 602
1. ปุตราจายาเป็นที่ตั้งรัฐบาล
2. 020 เมื่อโทรฯ จาก สิงคโปร์

ที่มา - th.wikipedia.org/wiki/ประเทศมาเลเซีย

<< Go Back