<< Go Back

        สระประสม เป็นการออกเสียงที่ใช้ลิ้นส่วนหน้า ลิ้นส่วนกลาง และลิ้นส่วนหลังทำหน้าที่ออกเสียงร่วมกัน เสียงที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็นเสียงประสม (คือ มีเสียงสระแท้ 2 เสียง) มีทั้งหมดจำนวน 6 เสียง ดังนี้

                เสียง   เอีย     เกิดจากเสียง             อี + อา           --->   เอีย

                เสียง   เอือ     เกิดจากเสียง             อือ + อา         --->   เอือ

                เสียง   อัว      เกิดจากเสียง             อู + อา           --->   อัว

        (ปัจจุบันสระประสม 3 เสียงข้างบนนี้ นักภาษาศาสตร์ไทยระบุให้เป็นหนึ่งเสียงสระไทยจากที่มีอยู่ทั้งหมด 21 เสียง)

                เสียง เอียะ เกิดจากเสียง อิ + อะ     --->   เอียะ

                เสียง เอือะ เกิดจากเสียง อึ + อะ     --->   เอือะ

                เสียง อัวะ เกิดจากเสียง อุ + อะ      --->   อัวะ

        (ปัจจุบันสระประสม 3 เสียงข้างบนนี้ นักภาษาศาสตร์ไทยไม่ได้ระบุให้เป็นเสียงสระไทยจากที่มีอยู่ทั้งหมด 21 เสียงแล้ว เนื่องจากไม่มีคำที่จะใช้หรือสามารถใช้สระประสมเสียงยาวแทนได้ เช่น คำว่า เลือก สามารถออกเสียงคำได้ทั้งเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ได้ โดยความหมายไม่เปลี่ยน)

                เสียง  เอีย       เช่นคำว่า  เสีย  เรียบ  เปลี้ย  เยี่ยม  เรียก  เสียด  เสียง  โรเนียวฯลฯ
                เสียง  เอือ      เช่นคำว่า  เนื้อ   เยือก   เลือด   เชื่อม  เพื่อน  เขมือบ  เรื่อง ฯลฯ
                เสียง  อัว        เช่นคำว่า  ตัว   ยั่ว   หัว   ปวด   รวด   ปวง   ห่วง   ปลวก  ฯลฯ

          https://krupiyarerk.wordpress.com/2011/09/23/สระประสม/

<< Go Back