<< Go Back

หน่วยเสียงสระ

หน่วยเสียงสระ หมายถึงหน่วยเสียงที่ในเวลาออกเสียงอวัยวะทำเสียงชุดล่างและชุดบนไม่กระทบกัน หน่วยเสียงสระตำราหลักภาษาไทยเก่า ๆ เรียกว่า เสียงแท้ เพราะกระแสลมไม่ถูกดัดแปลงด้วยอวัยวะทำเสียงชุดใดชุดหนึ่งที่อยู่ในช่องปากเลย
หน่วยเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. หน่วยเสียงสระแท้ ได้แก่หน่วยเสียงสระที่ใช้อวัยวะทำเสียงส่วนเดียวในการออกเสียง
2. หน่วยเสียงสระประสม ได้แก่หน่วยเสียงสระที่ใช้อวัยวะสองส่วนในการทำเสียง

3. หน่วยเสียงสระเกิน

รูปสระ และเสียงสระ

รูปสระ เป็นอักษรหรือเครื่องหมายที่เขียนขึ้นเพื่อแทนเสียงสระ โดยใช้เขียนโดดๆ หรือใช้เขียนประสมกับรูปสระอื่นเพื่อให้เกิดสระใหม่ มี 21 รูปดังนี้

ด้านหน้าพยัญชนะ         -เ   -แ
ด้านหลังพยัญชนะ          -ะ   -า
ด้านบนพยัญชนะ            -ิ  -ี  -ึ  -ื  -ั  -็  -่
ด้านล่างพยัญชนะ           -ุ  -ู

 

1. หน่วยเสียงสระแท้ ได้แก่หน่วยเสียงสระที่ใช้อวัยวะทำเสียงส่วนเดียวในการออกเสียงมี 18 หน่วยเสียงพร้อมทั้งรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ

1.1 หน่วยเสียงสระ อะ
1.2 หน่วยเสียงสระ อา
1.3 หน่วยเสียงสระ อิ
1.4 หน่วยเสียงสระ อี
1.5 หน่วยเสียงสระ อึ
1.7 หน่วยเสียงสระ อุ
1.8 หน่วยเสียงสระ อู
1.9 หน่วยเสียงสระ เอะ
1.10 หน่วยเสียงสระ เอ
1.11 หน่วยเสียงสระ แอะ
1.12 หน่วยเสียงสระ แอ

๒. สระประสม คือสระที่ใช้ส่วนของลิ้นสองส่วนในการออกเสียง สระประสมในภาษาไทยมี 3 หน่วยเสียง คือ

2.1 หน่วยเสียงสระ เอียะ
2.2 หน่วยเสียงสระ เอีย
2.3 หน่วยเสียงสระ เอือะ
2.4 หน่วยเสียงสระ เอือ
2.5 หน่วยเสียงสระ อัวะ
2.6 หน่วยเสียงสระ อัว

3. สระเกิน ได้แก่ สระที่มีเสียงซ้ำกับสระแท้แต่มีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ มี 8 เสียง คือ

ข้อสังเกตเกี่ยวกับสระ
1. เสียงสระกับรูปสระไม่ตรงกัน เช่น เป็น รูป เอ แต่เป็นเสียง เอะ เป็นต้น
2. ไม่มีรูปแต่อ่านออกเสียง เช่น คน (สระ โอะ) พร (สระออ) สรณะ (สระ อะ) เป็นต้น
3. ในบางคำการอ่านหรือพูดในในบางประโยคมีเสียงยาวสั้นไม่เท่ากัน เช่น ต้อง ถ้าอ่านธรรมดาจะออกเสียงเป็น สระ ออ ซึ่งเป็นสระยาว แต่ในบางประโยค เข่น เขาต้องมา อาจจะออกเสียงสระ เอาะได้ จองหอง ก็เช่นเดียวกัน
4. สระ อำ ไอ ใอ เอา มีในรูปสระ แต่ไม่มีในหน่วยเสียงสระเพราะอ่านออกเสียงสระ อะ หรือสระ อา ตามสถานการณ์ เช่น
จำ อ่านว่า จัม ออกเสียงหน่วยเสียงสระ อะ
น้ำ อ่านว่า น้าม ออกเสียงหน่วยเสียงสระ อา
ใน อ่านว่า นัย ออกเสียงหน่วยเสียงสระ อะ
ได้ อ่านว่า ด้าย ออกเสียงหน่วยเสียงสระ อา
เขา อ่านว่า ข อะ ว ออกเสียงหน่วยเสียงสระ อะ
เจ้า อ่านว่า จ้าว ออกเสียงหน่วยเสียงสระ อา
5. รูปสระบางรูปไม่ออกเสียง เช่น ขัดสมาธิ (อ่าน ขัด – สะ – หมาด) ไม่ออกเสียงสระอิ
6. เสียงสระอาจไม่ตรงกับรูปสระ บางคำรูปสระเสียงสั้น แต่เมื่ออยู่ในบริบทต้องออกเีสียงยาว บางรูปออกเสียงยาว แต่เมื่ออยู่ในบริบทต้องออกเสียงสั้น เช่น น้ำ : สีน้ำเงิน (อ่าน น้ำ เสียงสั้น) น้ำดื่ม (อ่าน น้าม เสียงยาว)
7. เสียงสระสั้น สระยาวของเสียงสระแท้ สามารถแยกความหมายของคำให้แตกต่างกันได้ เช่น กับ – กาบ, มิด – มีด, อึด – อืด เป็นต้น
8. ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ อำ ใอ ไอ เอา เป็นสระเกิน คือ สระที่มีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ด้วย ดังนั้นสระเกินเหล่านี้จึงไม่สามารถมีตัวสะกดได้

 

 

ขอบคุณที่มา

http://www.thaigoodview.com/node/144890
https://krusuriyapasathai.wordpress.com/category/หน่วยเสียงในภาษาไทย/

<< Go Back