<< Go Back

หน่วยเสียงวรรณยุกต์

เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย

เสียงวรรณยุกต์นั้น มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "เสียงดนตรี" ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ในภาษาไทย เพราะภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งภาษาส่วนใหญ่ในโลกนี้ ภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์นั้นมีอยู่ไม่กี่ภาษาทั่วโลก

เสียงวรรณยุกต์นั้นมี 4 รูป 5 เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ (ไม่มีรูป) , เสียงเอก  (   ่  ) , เสียงโท (   ้  ) , เสียงตรี (    ๊  ) และเสียงจัตวา (   ๋ )

ลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี มีดังนี้
1. เป็นเสียงที่มีระดับเสียงสูงเสียงต่ำ เหมือนเสียงดนตรี
2. เสียงวรรณยุกต์ทำให้ความหมายของคำแตกต่างกันออกไป เช่น ปา ป่า ป้า , เสือ เสื่อ เสื้อ , มุง มุ่ง มุ้ง เป็นต้น
3. เสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงก้อง เพราะเกิดจาการสั่นสะเทือนของเส้นเสียง ถ้าเส้นเสียงสั่นสะเทือนมากจะมีเสียงสูง แต่ถ้าเส้นเสียงสั่นสะเทือนน้อยจะมีเสียงต่ำ
4. เสียงวรรณยุกต์มี 5 เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา โดยมี 4 รูป

***หมายเหตุ***
1. คำที่ใช้ในภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์เสมอแม้จะไม่มีรูปวรรณยุกต์กำกับก็ตาม เช่น วัด – งัด – เละ (เสียงตรี) , ปราชญ์ – ฉัตร – หูด (เสียงเอก) , ขา – แหวน – หาย (เสียงจัตวา)
2. คำที่เราทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ บางทีเราออกเสียงวรรณยุกต์ไม่ตรงกับรูปเขียน เช่น เมตร (เม้ด) , คอมพิวเตอร์ (คอมพิ้วเตอร์) เป็นต้น
3. หากพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำ เสียงวรรณยุกต์จะสูงกว่ารูปวรรณยุกต์ที่กำกับอยู่ 1 ขั้นเสียง หรือเรียกอีกอย่างว่า "เสียงเกินรูป" โดยปกตินั้นเวลาเจอข้อสอบ ถ้าวรรณยุกต์ไม่ตรงกับรูปก็เกินรูปแค่นั้น เช่น ฟ้า (รูปโท เสียงตรี) , ค่ำ (รูปเอก เสียงโท) , ล่อง (รูปเอก เสียงโท) เป็นต้น

 

 

ขอบคุณที่มา

https://krusuriyapasathai.wordpress.com/category/หน่วยเสียงในภาษาไทย/

<< Go Back