<< Go Back

ไวยากรณ์

คำว่า ไวยากรณ์ พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตฯ ท่านแปลว่า "วิชาภาษาว่าด้วยรูปคําและระเบียบในการประกอบรูปคําให้เป็น ประโยค"

ไวยากรณ์  
ไวยากรณ์ มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า วฺยากรณ (อ่าน วฺยา-กะ -ระ -นะ) มี ๒ ความหมาย ความหมายแรก แปลว่า การทำนาย ซึ่งภาษาไทยใช้ว่า พยากรณ์ อีกความหมายหนึ่งแปลว่า การจำแนกแจกแจง การอธิบาย และระเบียบการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อบอกเพศ พจน์ กาล มาลา วาจก ของคำซึ่งต้องสัมพันธ์กันในประโยค ภาษาไทยใช้ว่า ไวยากรณ์ เช่น ไวยากรณ์บาลี ไวยากรณ์อังกฤษ. ไวยากรณ์ มีความหมายแคบกว้างต่างกัน สุดแท้แต่ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ บางทฤษฎีแบ่งไวยากรณ์ออกเป็น ๔ ระบบใหญ่ ๆ คือ ระบบเสียง ระบบคำ ระบบวากยสัมพันธ์ และระบบความหมายของภาษา บางทฤษฎีไม่นับระบบเสียงรวมอยู่ในไวยากรณ์

ไวยกรณ์ (เวยยกรณ) หมายถึง ระบบโครงสร้างของภาษา ทุกๆภาษาต่างก็มีระบบไวยกรณ์ทั้งสิ้น แต่จะแตกต่ากัน หนังสือไวยกรณ์ไทยที่ดี ก็มี เช่น หลักภาษาไทย ของ พระยาอุปกิตฯ แต่เป็นระบบไวยกรณ์แนวเดิม (Traditional grammar) ซึ่งการวิเคราะห์ไวยกรณ์ของแต่ละชาติย่อมมีลักษณะที่แตกต่างกัน การวิเคาระห์มีหลายรูปแบบ เช่น Structural , tagmemics , functional , transformational , case , lexi-case และอื่นๆ อีกมากมาย

 

ขอบคุณที่มา

http://www.e4thai.com/e4e/index.php?option=com_content&view=article&id=1443:4-english-grammar&catid=73&Itemid=107/
http://oknation.nationtv.tv/blog/ThaiTeacher/2010/12/03/entry-1
http://www.vcharkarn.com/vcafe/8382

<< Go Back