หน่วยเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย
ไตรยางศ์ คือ การแบ่งพยัญชนะในภาษาไทยออกเป็น 3 กลุ่มตามคุณสมบัติการผันวรรณยุกต์ โดยจัดพยัญชนะที่ผันด้วยวรรณยุกต์ได้เหมือนกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน ดังนี้
ก. อักษรกลาง คือ กลุ่มพยัญชนะที่สามารถผันด้วยวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียงเมื่อเป็นคำเป็นและเป็นกลุ่มพยัญชนะที่สามารถผันด้วยวรรณยุกต์ได้มากเสียงที่สุดมี 9 ตัว คือ
" ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ "
หมายเหตุ เราอาจจะใช้การจำง่าย ๆ ว่า ไก่จิกเด็กตายเด็กตายบนปากโอ่ง (เอาเฉพาะตัวพยัญชนะ)
ข. อักษรสูง มี 11 ตัว คือ
" ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห "
หมายเหตุ เราอาจจะใช้วิธีจำง่าย ๆ ว่า
"ไข่ ฃวด ฉิ่ง ฐาน ถุง ผี เฝ้า 3 สอ หีบ" ก็ได้
ค. อักษรต่ำ มีทั้งหมด 24 ตัวแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ คือ
-อักษรต่ำเดียว คือกลุ่มอักษรต่ำที่ไม่สามารถผันด้วยวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง จะต้องใช้ตัว ห และ ตัว อ นำจึงจะสามารถผันด้วยวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียงมี 10 ตัว คือ
"ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล"
หมายเหตุ เราอาจจะใช้วิธีจำง่าย ๆ ว่า "งู ใหญ่ นอน อยู่ ณ ริม วัด โม ฬี โลก"
-อักษรต่ำคู่ คือ อักษรต่ำที่สามารถผันด้วยวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง โดยใช้อักษรสูงประสมในกลุ่มเสียงนั้นด้วย มี 14 ตัว คือ
"ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ท"
"ธ ฒ ฑ พ ภ ฟ ฮ"
1. คำเป็น เป็นคำที่สามารถผันด้วยวรรณยุกต์ได้หลายเสียงกว่า คำตาย คำเป็นมีลักษณะดังต่อไปนี้
ก. เป็นคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา (ไม่มีตัวสะกด) เช่น กา มา นี้ แก่ ยา เป็นต้น
ข. คำที่มีตัวสะกดในแม่ กง กน กม เกย และ เกอว เช่นการ กัน กาง กาม เจียม เดียว บ่าย เป็นต้น
ค. คำที่ประสมด้วยสระเกิน อำ ไอ ใอ และ เอา เช่น กำ น้ำ ใจ ไว้ เขา เรา เป็นต้น
2. คำตาย คือ คำที่ไม่สามารถผันด้วยวรรณยุกต์ได้มากเสียงเหมือนคำเป็น คำตายมีลักษณะดังต่อไปนี้
ก. คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา (หมายถึงคำที่ไม่มีตัวสะกด) เช่น จะ และ โต๊ะ เถอะ จุ เป็นต้น
ข. คำที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด และ กบ เช่น นก กาพย์ เลข ลาภ กับ เป็นต้น
ตารางการผันวรรณยุกต์
ขอบคุณที่มา
https://www.gotoknow.org/posts/467764
|