<< Go Back

สระ

สระ หมายถึง เครื่องหมายใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา ตามหลักภาษา ถือว่าพยัญชนะจำเป็นต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้
รูปสระ สระในภาษาไทยนั้นเเปลกออกไปจากบาลี เเละสันสกฤต เเละภาษาอื่นๆ ที่ถ่ายเเบบมาด้วยกัน คือ ภาษาเหล่านั้นมีรูปสระเป็น 2 ชนิด ใช้ เขียนโดดๆ ชนิดหนึ่ง ใช้ประสมกับพยัญชนะอีกชนิดหนึ่ง เเต่ในภาษาไทยมีเเต่รูปสระ ที่ใช้ประสมกับพยัญชนะอย่างเดียว เมือ่ต้องการจะเขียนโดดๆก็เอาตัว อ ซึ่งจัดเป็นพยัญชนะมาประสมเข้า ออกเสียงเช่นเดียวกับสระเปล่า เช่น อา, อู, เอ, เป็นต้น เว้นเเต่สระ ฤ ฤา ฦ ฦา 4 ตัวนี้เขียนโดดๆก็ได้ ประสมกับพยัญชนะก็ได้ เช่นเดียวกับสระอังกฤษ เเละรูปสระนั้นบางทีก็ใช้ รูปเดียว เป็นสระหนึ่ง บางทีก็ใช้หลายรูปประสมกันเป็นสระหนึ่ง มีต่างๆกันเป็น 21 รูป

รูปสระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้แทนเสียงสระ

1
- ะ
เรียกว่า
วิสรรชนีย์ หรือ นมนางทั้งคู่
2
-ั
เรียกว่า
ไม้หันอากาศ, หางกังหัน หรือ ไม้ผัด
3
- ็
เรียกว่า
ไม้ไต่คู้ หรือ ไม้ตายคู้
4
- า
เรียกว่า
ลากข้าง
5
- ิ
เรียกว่า
พินทุ์อิ หรือ พินทุอิ
6
- ่
เรียกว่า
ฝนทอง
7
- ํ
เรียกว่า
นิคหิต, นฤคหิต หรือ หยาดน้ำค้าง
8
- "
เรียกว่า
ฟันหนู หรือ มูสิกทันต์
9
- ุ
เรียกว่า
ตีนเหยียด หรือ ลากตีน
10
- ู
เรียกว่า
ตีนคู้
11
- เ
เรียกว่า
ไม้หน้า
12
- ใ
เรียกว่า
ไม้ม้วน
13
- ไ
เรียกว่า
ไม้มลาย
14
- โ
เรียกว่า
ไม้โอ
15
- อ
เรียกว่า
ตัวออ
16
- ย
เรียกว่า
ตัวยอ
17
- ว
เรียกว่า
ตัววอ
18
- ฤ
เรียกว่า
ตัวรึ
19
- ฤๅ
เรียกว่า
ตัวรือ
20
- ฦ
เรียกว่า
ตัวลึ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
21
- ฦๅ
เรียกว่า
ตัวลือ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)

 

 

ขอบคุณที่มา

https://sornordon.wordpress.com/2012/02/23/สระมีกี่รูป-กี่เสียง-กี่/
https://pasathai.wordpress.com/สระ/

<< Go Back