โคลงสี่สุภาพ
ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ 1 บทหนึ่งมี 4 บรรทัด 2 วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี 5 พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ 1 - 3 มี 2 พยางค์ บรรทัดที่ 4 มี 4 พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้ ห้า -สอง (สร้อย 2 พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ) ห้า- สอง ห้า - สอง (สร้อย 1 พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ) ห้า - สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา)3. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก 7 โท 4 ตามตำแหน่งในแผนผัง
5. กรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ให้ใช้ เอกโทษ และโทโทษ คำเอกคำโทหมายถึง พยางค์ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก และรูปวรรณยุต์โท กำกับ อยู่ในคำนั้น โดยมีลักษณะบังคับไว้ดังนี้ คำตาย คือ คำโท ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์โทบังคับ ไม่ว่าจะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ข้า ล้ม เศร้า ค้าน คำเอก คำโท ใช้ในการแต่งคำประพันธ์ประเภท "โคลง" และ "ร่าย"และถือว่าเป็นข้อบังคับของฉันทลักษณ์ที่สำคัญมาก ถึงกับยอมให้เอาคำที่ไม่เคยใช้รูปเอก รูปโท แปลงมาใช้ เอก และ โท ได้ เช่น เล่น นำมาเขียนใช้เป็น เหล้น ได้ เรียกว่า "โทโทษ" ห้าม ข้อน นำมาเขียนเป็น ฮ่าม ค่อน เรียกว่า "เอกโทษ" เอกโทษและโทโทษ นำมาใช้แก้ปัญหาได้ แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เอกโทษและโทโทษ หากแต่งโคลงสี่สุภาพ ตามกระทู้หรือตามหัวข้อเรื่อง จะเรียกโคลงนั้นว่าโคลงกระทู้ โดยผู้แต่งจะเขียนกระทู้แยกออกมาด้านข้าง หากแยกออกมา 1 พยางค์ เรียกว่า
ขอบคุณที่มา http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/21 |