<< Go Back

วรรณยุกต์ (อังกฤษ: tone) หรือ วรรณยุต หมายถึง ระดับเสียง หรือเครื่องหมายแทนระดับเสียง ที่กำกับพยางค์ของคำในภาษา เสียงวรรณยุกต์หนึ่งอาจมีระดับเสียงต่ำ เสียงสูง เพียงอย่างเดียว หรือเป็นการทอดเสียงจากระดับเสียงหนึ่ง ไปยังอีกระดับเสียงหนึ่ง ก็ได้ ภาษาในโลกนี้มีทั้งที่ใช้วรรณยุกต์ และไม่ใช้วรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์หนึ่งๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการประสมคำหรือเปลี่ยนตำแหน่งการเน้นเสียง

ภาษาที่มีวรรณยุกต์
ภาษาจีน-ทิเบต
ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic) ภาษาเวียดนาม และภาษาอื่นที่มีความใกล้ชิดกัน เป็นภาษามีวรรณยุกต์ชัดเจน แต่ภาษาอื่นๆ เช่น มอญ เขมร มุนดา เป็นภาษาไม่มีวรรณยุกต์
ตระกูลภาษาไท-กะได ที่พูดในจีน เวียดนาม ไทย และลาว เช่น ภาษาไทย ภาษาลาว
ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ทั้งหมด
ภาษาแอฟริกาเอเชีย จำนวนมาก
กลุ่มภาษาไนเจอร์คองโก
ภาษาไนล์-ซาฮารา แทบทั้งหมด
ภาษา Khoisan ทั้งหมดในแอฟริกาตอนใต้
ภาษาอินเดีย-ยุโรปแทบทั้งหมด ไม่มีวรรณยุกต์ เว้นแต่บางภาษาเช่น ภาษาปัญจาบ
ภาษาฮังการี

ระบบวรรณยุกต์

ในภาษาที่มีวรรณยุกต์ หรือ "ภาษาวรรณยุกต์" ทุกพยางค์จะมีละดับเสียงที่กำหนดไว้แล้ว ดังนั้น พยางค์สองพยางค์สามารถมีพยัญชนะทีเหมือนกัน และ สระทีเหมือนกัน แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถมีวรรณยุกต์ที่ไม่เหมือนกันได้
กลุ่มภาษาไท
ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยมาตรฐานมีวรรณยุกต์ 5 เสียง คือ
1. คา ([kʰaa˧])
2. ข่า ([kʰaa˨˩])
3. ข้า/ค่า ([kʰaa˥˩])
4. ค้า ([kʰaa˦˥])
5. ขา ([kʰaa˨˦])
ทุกคำที่กล่าวข้างบน ล้วนแต่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะเดียวกัน คือ [kʰ] (มิใช่รูปพยัญชนะ คือ ข ค) และเสียงสระเดียวกัน คือ [aa] แต่มีเสียงวรรณยุกต์ซึ่งไม่เหมือนกัน (มิใช่รูปพยัญชนะ เช่น ไม้เอก ไม้โท)

ภาษาลาวถิ่นเวียงจันทน์
ภาษาลาวถิ่นเวียงจันทน์ส่วนใหญ่มีวรรณยุกต์ 6 เสียง คือ
1. กา (ກາ) ([kaa˨˩])
2. ขา (ຂາ) ([kʰaa˨˦])
3. ข่า/ค่า (ຂ່າ/ຄ່າ) ([kʰaa˧])
4. ข้า (ຂ້າ) ([kʰaa˧˩])
5. คา (ຄາ) ([kʰaa˧˥])
6. ค้า (ຄ້າ) ([kʰaa˥˩])
7. ดั่งภาษาไทย ทุกคำที่กล่าวข้างบน ยกเว้น กา ล้วนแต่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะเดียวกัน คือ [kʰ] (มิใช่รูปพยัญชนะ คือ ข ค) และเสียงสระเดียวกัน คือ [aa] แต่มีเสียงวรรณยุกต์ซึ่งไม่เหมือนกัน (มิใช่รูปพยัญชนะ เช่น ไม้เอก ไม้โท)

ภาษาไทยถิ่นเชียงใหม่
คำเมืองถิ่นเชียงใหม่ส่วนใหญ่มีวรรณยุกต์ 6 เสียง คือ
1. กา /ka:˦˦/
2. ก่า /ka:˨˨/
3. ก้า /ka:˦˩/
4. ก้า (โทพิเศษ) /ka:˥˧/
5. ก๊า /ka:˦˥˦/
6. ก๋า /ka:˩˦/
ทุกคำที่กล่าวข้างบน ล้วนแต่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะเดียวกัน คือและเสียงสระเดียวกัน คือ แต่มีเสียงวรรณยุกต์ซึ่งไม่เหมือนกัน และไม่มีในภาษาไทย

ภาษาจีนกลาง
ภาษาจีนกลางมีวรรณยุกต์ 5 เสียง คือ
1. mā (媽/妈) "แม่"
2. má (麻/麻) "กัญชา"
3. mǎ (馬/马) "ม้า"
4. mà (罵/骂) "ด่า"
5. ma (嗎/吗) (คำลงท้ายใช้ถามคำถาม)




https://th.wikipedia.org/wiki/วรรณยุกต์

<< Go Back