แผนผังอินทรวิเชียรฉันท์11
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ จะมีแบบแผนเหมือนกับ กาพย์ยานี ๑๑ แต่เพิ่ม ครุ, ลหุ เข้าไป อินทรวิเชียร แปลว่า เพชรพระอินทร์ หมายถึง ฉันท์ที่มีลีลาอย่างเพชรของพระอินทร์ นิยมใช้แต่งข้อความที่เป็นบทชมหรือบทคร่ำครวญนอกจากนี้ยังแต่งเป็นบทสวด หรือพากย์โขนด้วย
คำครุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น กา ตี งู กับคำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นหรือยาวก็ได้ที่มีตัวสะกด เช่น นก บิน จาก รัง นอน และคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา ซึ่งถึอว่าเป็นเสียงมีตัวสะกด
คำลหุ
หมายถึง คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น จะ ติ มุ เตะ และคำที่ใช้พยัญชนะคำเดียว เช่น ก็ บ่ ณ ธ นอกจากนี้คำที่ประสมด้วย สระอำ บางทีก็อนุโลมให้เป็นคำลหุได้ เช่น ลำ คำลหุ เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ใช้เครื่องหมายเหมือนสระอุ แทน
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (1) |
เสนอโทษะเกียจคร้าน |
กิจการนิรันดร |
โดยอรรถะตรัสสอน |
กลหกประการแถลง |
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (2) |
ราชาพระมิ่งขวัญ |
สุนิรันดร์ประเสริฐศรี |
ไพร่ฟ้าประดามี |
มนชื่นสราญใจ |
ทรงเป็นบิดรราษฎร์ |
กิติชาติขจรไกล |
กอปรบารมีชัย |
ชุติโชติเชวงเวียง |
ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ (3) |
พวกราชมัลโดย |
พลโบยมืใช่เบา |
สุดหัตถแห่งเขา |
ขณะหวดสิพึงกลัว |
บงเนื้อก็เนื้อเต้น |
พิศเส้นสรีระรัว |
ทั่วร่างและทั้งตัว |
ก็ระริกระรัวไหล |
https://suchadam5651.wordpress.com/ประเภทของบทกลอน/อินทรวิเชียรฉันท์๑๑/
|