<< Go Back

วิธีการแสดงเหตุผล แบ่งได้ ๒ วิธี คือ
1. วิธีนิรนัย หมายถึง การแสดงเหตุผลจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย มีผลลัพธ์ "แน่นอน" มักจะเป็นเรื่องจริง
หรือสัจธรรม เช่น คนเราเกิดมาก็ต้องตาย
2. วิธีอุปนัย หมายถึง การแสดงเหตุผลจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวมแบบที่ผลลัพธ์ไม่จ าเป็นต้องเป็นอย่างนั้นเลย
(ไม่แน่ใจ) เช่น รุ่นพี่เราสอบติดกันเยอะมาก รุ่นเราคงจะเป็นอย่างนั้น
การอนุมานเหตุและผลที่สัมพันธ์กัน มี ๓ ประเภท คือ
1. การอนุมานจากเหตุไปหาผล
2. การอนุมานจากผลไปหาเหตุ
3. การอนุมานจากผลไปหาผล
1. การอนุมานจากเหตุไปหาผล ใช้ความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่หาข้อสรุปว่าเหตุที่ปรากฏนั้นจะท าให้เกิดผลลัพธ์อะไร
ตามมา โดยแยกออกมาก่อนว่าส่วนใดเป็นเหตุ (เรารู้เหตุแล้ว) ส่วนใดเป็นผล (ส่วนที่เราคาด) ตัวอย่าง ถ้านักเรียน
เห็นว่าเพื่อนสนิทของนักเรียนตั้งใจเรียนและขยันอ่านหนังสือทุกวัน นักเรียนก็อนุมานเป็นข้อสรุปได้ว่า เพื่อนสนิท
ของนักเรียนคงสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้แน่นอน
ตั้งใจเรียนและขยันอ่านหนังสือ(เหตุ)-------การอนุมาน---------สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้(ผล)
2. การอนุมานจากผลไปหาเหตุ ใช้ความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่หาข้อสรุปหาเหตุที่ปรากฏนั้น ดังตัวอย่าง ภาคเรียนที่ ๑
นักเรียนชายได้ผลการเรียนพอใช้ทุกคน เราก็อาจอนุมานข้อสรุปอันเป็นเหตุได้ว่า นักเรียนชายคงตั้งอยู่ในความ
ประมาท ไม่เอาใจใส่ในการเรียนเท่าที่ควร ทั้งๆที่ข้อสอบก็ไม่ยาก
นักเรียนชายได้ผลการเรียนพอใช้(ผล)-------การอนุมาน---------ไม่เอาใจใส่ในการเรียน(เหตุ)
3. การอนุมานจากผลไปหาผล เป็นการพิจารณาเหตุการณ์อย่างหนึ่งว่าเป็นผลของเหตุใดเหตุหนึ่ง แล้วพิจารณา
ต่อไปว่าเหตุนั้นอาจจะก่อให้เกิดผลอื่นใดได้อีกบ้าง ตัวอย่าง นักเรียนส่วนใหญ่สอบวิชาคณิตศาสตร์ตก
ปรากฏการณ์นี้เราอาจอนุมานได้ว่า มีเหตุมาจากนักเรียนขาดความรู้ ความเข้าใจ ไม่เอาใจใส่ในการเรียนคณิตศาสตร์
ให้เพียงพอ การไม่เข้าใจคณิตศาสตร์เพียงพอนี้เองเป็นเหตุให้นักเรียนพลอยสอบวิชาฟิสิกส์ตกไปด้วย การสรุปว่า
นักเรียนจะสอบวิชาฟิสิกส์ตก โดยอาศัยผลจากการที่นักเรียนสอบคณิตศาสตร์ตกเช่นนี้ เรียกว่า เป็นการอนุมานจาก
ผลไปหาผล
ไม่เข้าใจคณิตศาสตร์(เหตุ)
ตกคณิตศาสตร์(ผล)-----การอนุมาน----------ตกฟิสิกส์(ผล)



 


http://www.mwit.ac.th/~saktong/learn6/86.pdf

<< Go Back