อวัจนภาษา (non-verbal language) หมายถึง เป็นการสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ ทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียน เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน โดยใช้อากัปกิริยา ท่าทาง น้ำเสียง สายตาหรือ ใช้วัตถุ การใช้สัญญาณ และ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ หรือแสดงออกทางด้านอื่นที่สามารถรับรู้กันได้ สามารถแปลความหมายได้และทำความเข้าใจต่อกันได้
อวัจนภาษา เป็นสัญลักษณ์ที่มีแหล่งแสดงออกด้วยอากัปกิริยา หรือที่เกิดการแสดงออก ในหลายแหล่งด้วยกัน ได้แก่
1. สัญลักษณ์ที่แสดงออกด้วยอากัปกิริยา
1.1 เกิดขึ้นตามธรรมดาวิสัย เช่น การยิ้ม การโบกมือ การส่ายหน้า การปัดเมื่อแมลง ไต่ตอม เป็นต้น
1.2 เกิดจากอารมณ์แรงเป็นเครื่องเร้า เช่น เวลาที่มีอารมณ์โกรธเลือดจะสูบฉีด จนหน้าแดง มือเกร็ง กำหมัด เป็นต้น
2. สัญลักษณ์แสดงออกที่ร่างกาย เป็นการใช้วัตถุประกอบกับร่างกายแล้วบ่งบอกความหมาย ได้โดยไม่ได้ แสดงกิริยาอาการ
เช่น การแต่งกาย เครื่องประดับ ทรงผม เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายทั้งสิ้น
3. สัญลักษณ์แสดงออกด้วยวัตถุที่แวดล้อม เป็นสิ่งที่บุคคลให้ความหมายหรือตกลงให้ สิ่งนั้นมีความหมายหนึ่ง ๆ
เช่น ลักษณะและขนาดของบ้านเรือนสามารถบอกรสนิยม ฐานะ หรือเชื้อชาติได้ สัญลักษณ์บางอย่างต้องการให้รู้ทั่วกัน
เช่น ลูกศรบอกทาง สี แสง เสียง เป็นต้น
4. สัญลักษณ์แสดงออกด้วยพฤติกรรมแวดล้อม ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุหรือคนที่แวดล้อมที่แสดงพฤติกรรมต่างๆ เกี่ยวข้องกับเรา
ทำให้เราต้องแสดงพฤติกรรม ตอบสนอง เช่น การปฏิบัติตามประเพณีต่าง ๆ การชื่นชมศิลปกรรม
ซึ่งล้วนแล้วแต่สื่ออารมณ์และวัฒนธรรมได้
1. สายตา (เนตรภาษา)
การแสดงออกทางสายตา เช่น การสบตากันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารก็มีส่วนช่วยในการตีความหมาย เช่น การสบตาแสดงออกถึงความจริงใจ การรี่ตาแสดงออกถึงความสงสัย ความไม่แน่ใจ ฯลฯ การแสดงออกทางสายตาจะต้องสอดคล้องกับการแสดงออกทางสีหน้า การแสดงออกทางสีหน้าและสายตาจะช่วยเสริมวัจนภาษาให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น และใช้แทนวัจนภาษาได้อย่างดี
2. กิริยาท่าทาง (อาการภาษา)
การแสดงกิริยาท่าทางของบุคคล สามารถสื่อความหมายได้โดยไม่ต้องใช้คำพูด หรือใช้เสริมคำพูดให้มีน้ำหนักมากขึ้นได้ ได้แก่ กิริยาท่าทาง การเคลื่อนไหวร่างกายและอากัปกิริยาท่าทางต่าง ๆ สามารถสื่อความหมายได้มากมาย เช่น การเคลื่อนไหวมือ การโบกมือ การส่ายหน้า การพยักหน้า การยกไหล่ การยิ้มประกอบ การพูด การยักไหล่ การยักคิ้ว อาการนิ่ง ฯลฯ
3. น้ำเสียง (ปริภาษา)
เป็นอวัจนภาษาที่แฝงอยู่ในภาษาพูด ได้แก่ สำเนียงของผู้พูด ระดับเสียงสูงต่ำ การเปล่งเสียง จังหวะการพูด ความดังความค่อยของเสียงพูด การตะโกน การกระซิบ น้ำเสียงช่วยบอกอารมณ์และความรู้สึก นอกจากนี้ยังช่วยแปลความหมายของคำพูด เช่น การใช้เสียงเน้นหนักเบา การเว้นจังหวะ การทอดเสียง สิ่งเหล่านี้ทำให้คำพูดเด่นชัดขึ้น การพูดเร็ว ๆ รัว ๆ การพูดที่หยุดเป็นช่วง ๆ แสดงให้เห็นถึงอารมณ์กลัว หรือตื่นเต้นของผู้พูด เป็นต้น
4. สิ่งของหรือวัตถุ (วัตถุภาษา)
สิ่งของหรือวัตถุต่าง ๆ ที่บุคคลเลือกใช้ เช่น ของใช้เครื่องประดับ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า นาฬิกา ปากกา แว่นตา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นอวัจนภาษาที่สื่อความหมายได้ทั้งสิ้น
5. เนื้อที่หรือช่องว่าง (เทศภาษา)
ช่องว่างของสถานที่หรือระยะใกล้ไกลที่บุคคลสื่อสารกัน เป็นอวัจนภาษาที่สื่อสารให้เข้าใจได้ เช่น ระยะห่างของหญิงชาย พระกับสตรี คนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คนสองคนนั่งชิดกันบนม้านั่งตัวเดียวกัน ย่อมสื่อสารให้เข้าใจได้ว่า ทั้งสองคนมีความสนิทสนมเป็นพิเศษ เป็นต้น
6. กาลเวลา (กาลภาษา)
หมายถึง การสื่อความหมายโดยให้เวลามีบทบาทสำคัญ เวลาแต่ละช่วงมีความหมายในตัว คนแต่ละคน และคนต่างวัฒนธรรมจะมีความคิดและความหมายเกี่ยวกับเวลาแตกต่างกัน เช่น การตรงต่อเวลาวัฒนธรรมตะวันตกถือว่ามีความสำคัญมาก การไม่ตรงต่อเวลานัดหมายเป็นการแสดงความดูถูก เป็นต้น
7. การสัมผัส (สัมผัสภาษา)
หมายถึง อวัจนภาษาที่แสดงออกโดยการสัมผ้สเพื่อสื่อความรู้สึก อารมณ์ ความปรารถนาในใจของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร เช่น การจับมือ การ แลบลิ้น การลูบศีรษะ การโอบกอด การตบไหล่ ซึ่งสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของแต่ละสังคม เช่นคนไทยถือมิให้เด็กสัมผัสส่วนหัวของผู้ใหญ่ เป็นต้น
1. ความชัดเจนและถูกต้อง
กล่าวคือ ต้องเป็นภาษาที่เข้าใจตรงกัน ทั้งผู้รับสาร และ ผู้ส่งสาร และถูกต้องตามกฎเกณฑ์และเหมาะสมกับวัฒนธรรมในการใช้ภาษาไทย ดังนี้
1.1 ลักษณะของคำ หน้าที่ของคำ ตำแหน่งของคำ และความหมายของคำ ซึ่งความหมายของคำมีทั้งความหมายตรง และความหมายแฝง
1.2 การเขียนและการออกเสียงคำ ในการเขียนผู้ส่งสารต้องระมัดระวังเรื่องสะกดการันต์ ในการพูดต้องระมัดระวังเรื่องการออกเสียง
ต้องเขียนและออกเสียงถูกต้อง
1.3 การเรียบเรียงประโยค ผู้ส่งสารจำเป็นต้องศึกษาโครงสร้างของประโยคเพื่อวางตำแหน่งของคำในประโยคให้ถูกต้อง ถูกที่ ไม่สับสน
2. ความเหมาะสมกับบริบทของภาษา เพื่อให้การสื่อสารบรรลุเป้าหมาย ผู้ส่งสารต้องคำนึงถึง
2.1 ใช้ภาษาให้เหมาะกับลักษณะการสื่อสาร เหมาะกับเวลาและสถานที่ โอกาส และบุคคล ผู้ส่งสารต้องพิจารณาว่าสื่อสารกับบุคคล
กลุ่มบุคคล มวลชน เพราะขนาดของกลุ่มมีผลต่อการเลือกใช้ภาษา
2.2 ใช้ภาษาให้เหมาะกับลักษณะงาน เช่น งานประชาสัมพันธ์ งานโฆษณา งานประชุม ฯลฯ
2.3 ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับสื่อ ผู้ส่งสารจะต้องรู้จักความต่างของสื่อและความต่าง ของภาษาที่ใช้กับแต่ละสื่อ
ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับ
ผู้รับสารเป้าหมาย ผู้รับสารเป้าหมายได้แก่ กลุ่มผู้รับสารเฉพาะที่ผู้ส่งสารคาดหวังไว้ ผู้ส่งสารต้องวิเคราะห์ผู้รับสาร
ที่เป็นเป้าหมาย
ของการสื่อสาร และเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้รับสารนั้น ๆ
ที่มาของรูปภาพ : https://hilight.kapook.com/view/85839
http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter2-3.html
|