ทำนองเสนาะน คือ วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน.
กานอ่านทำนองเสนาะ ๑. ความหมายของ "การอ่านทำนองเสนาะ" การอ่านทำนองเสนาะคือวิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองแต่ละ ประเภทหรือหมายถึง การอ่านตามทำนอง (ทำนอง = ระบบเสียงสูงต่ำ ซึ่งมีจังหวะสั้นยาว) เพื่อให้ เกิดความเสนาะ (เสนาะ, น่าฟัง, เพราะ, วังเวงใจ) ๒. วัตถุประสงค์ในการอ่านทำนองเสนาะ การอ่านทำนองเสนาะเป็นการอ่านให้คนอื่นฟัง ฉะนั้นทำนองเสนาะต้องอ่านออกเสียง เสียงทำ ให้เกิดความรู้สึก-ทำให้เห็นความงาม-เห็นความไพเราะ-เห็นภาพพจน์ ผู้ฟังสัมผัสด้วยเสียงจึงจะเข้า ถึงรสและความงามของบทร้อยกรองที่เรียกว่าอ่านแล้วฟังพริ้งเพราะเสนาะโสต การอ่านทำนอง เสนาะจึงมุ่งให้ผู้ฟังเข้าถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรอง ๓. รสที่ใช้ในการอ่านทำนองเสนาะ ๓.๑ รสถ้อย (คำพูด) แต่ละคำมีรสในคำของตัวเอง ผู้อ่านจะต้องอ่านให้เกิดรสถ้อย ตัวอย่าง
๓.๒ รสความ (เรื่องราวที่อ่าน) ข้อความที่อ่านมีเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น โศกเศร้า
สนุกสนาน ตื่นเต้น โกรธ รัก เวลาอ่านต้องอ่านให้มีลีลาไปตามลักษณะของเนื้อเรื่องนั้นๆ
๓.๓ รสทำนอง (ระบบเสียงสูงต่ำซึ่งมีจังหวะสั้นยาว) ในบทร้อยกรองไทยจะประกอบด้วย ทำนองต่างๆ เช่น ทำนองโคลง ทำนองฉันท์ ทำนองกาพย์ ทำนองกลอนและทำนองร่าย เป็นต้น
๓.๔ รสคล้องจอง ในบทร้อยกรองต้องมีคำคล้องจอง ในคำคล้องจองนั้นต้องให้ออกเสียง ต่อเนื่องกันโดยเน้นสัมผัสนอกเป็นสำคัญ เช่น
๓.๕ รสภาพ เสียงทำให้เกิดภาพ ในแต่ละคำจะแฝงไปด้วยภาพในการอ่านให้เห็นภาพต้องใช้ เสียงสูง-ต่ำ ดัง – ค่อย แล้วแต่จะให้เกิดภาพอย่างไร เช่น
๔. หลักการอ่านทำนองเสนาะ มีดังนี้
พระสมุทรสุดลึกล้น คณนา (อ่านว่า พฺระ-สะ-หมุด-สุด-ลึก-ล้น คน-นะ-นา) ข้าขอเคารพอภิวาท ในพระบาทบพิตรอดิสร (อ่านว่า ข้า-ขอ-เคา-รบ-อบ-พิ-วาด ใน-พฺระ-บาด-บอ-พิด-อะ-ดิด-สอน ขอสมหวังตั้งประโยชน์โพธิญาณ (อ่านว่า ขอ-สม-หฺวัง-ตั้ง-ปฺระ-โหฺยด-โพด-ทิ-ยาน) ๕. ระวัง ๓ ต อย่าให้ตกหล่น อย่าต่อเติม และอย่าตู่ตัว ๖. อ่านให้ถูกจังหวะ คำประพันธ์แต่ละประเภทมีจังหวะแตกต่างกัน ต้องอ่านให้ถูกวรรคตอนตามแบบแผนของคำประพันธ์นั้นๆ เช่น มุทิงคนาฉันท์ (๒-๒-๓) "ป๊ะโท่น / ป๊ะโทน /ป๊ะโท่นโท่น บุรุษ / สิโอน / สะเอวไหว อนงค์ / นำเคลื่อน / เขยื้อนไป สะบัด / สไบ / วิไลตา" ๗. อ่านให้ถูกทำนองของคำประพันธ์นั้นๆ (รสทำนอง) ๘. ผู้อ่านต้องใส่อารมณ์ตามรสความของบทประพันธ์นั้นๆ รสรัก โศก ตื่นเต้น ขบขัน โกรธ แล้วใส่น้ำเสียงให้สอดคล้องกับรสหรืออารมณ์ต่างๆ เหล่านั้น ๙. อ่านให้เสียงดัง (พอที่จะได้ยินกันทั่วถึง)ไม่ใช่ตะโกน ๑๐. เวลาอ่านอย่าให้เสียงขาดเป็นช่วงๆ ต้องให้เสียงติดต่อกันตลอด เช่น "วันจันทร มีดารากร เป็นบริวาร เห็นสิ้นดินฟ้า ในป่าท่าธาร มาลีคลี่บาน ใบก้านอรชร" ๑๑. เวลาจบให้ทอดเสียงช้าๆ ๕. ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านทำนองเสนาะ ๑. ช่วยให้ผู้ฟังเข้าถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน ๒. ช่วยให้ผู้ฟังได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้ง (อาการรู้สึกจับใจอย่างลึกซึ้ง) ๓. ช่วยให้เกิดความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน ๔. ช่วยให้จดจำบทร้อยกรองได้รวดเร็วและแม่นยำ ๕. ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยนและเยือกเย็น (ประโยชน์โดยอ้อม) ๖. ช่วยสืบทอดวัฒนธรรม ในการอ่านทำนองเสนาะไว้เป็นมรดกต่อไป
|